แกะไส้ใน ‘หนี้ครัวเรือนไทย’หนี้บ้าน-บัตร-รถ เทียบ 10ประเทศ

แกะไส้ใน ‘หนี้ครัวเรือนไทย’หนี้บ้าน-บัตร-รถ เทียบ 10ประเทศ

เปิดไส้ในหนี้ครัวเรือนไทย พบโควิด-19 ตอกย้ำความเปราะบางครัวเรือนเพิ่ม พบหนี้ระยะสั้น บัตรเครดิต-รถ-สินเชื่อส่วนบุคคลพุ่งสูงเป็นอันดับหนึ่ง สวนทางต่างประเทศมีหนี้บ้านสูงต่อเนื่อง

แกะไส้ใน ‘หนี้ครัวเรือนไทย’หนี้บ้าน-บัตร-รถ เทียบ 10ประเทศ        ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิด บทรายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย ปี 2564 โดยระบุว่า ความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากหนี้ที่สูงอยู่เดิมและถูกซ้ำเติมจากการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างเอกชนนอกภาคเกษตรที่มีรายได้ต่ำ มากกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่น และส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ 
      ส่วนหนึ่งเนื่องจากหนี้ของครัวเรือนกลุ่มเปราะบางส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ได้สร้างรายได้ และมีภาระผ่อนต่อเดือนสูงจึงมีความอ่อนไหวต่อรายได้ที่ถูกกระทบ หากการฟื้นตัวของรายได้ของครัวเรือนกลุ่มนี้ยืดเยื้อออกไปจนกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ในวงกว้าง สถาบันการเงิน ที่เน้นให้สินเชื่อแก่ผู้กู้รายย่อยโดยเฉพาะครัวเรือนรายได้ต่ำจะได้รับผลกระทบและอาจส่งผลลุกลามไปยังภาคส่วนอื่นในภาคการเงิน 

      นอกจากนี้ ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นของภาคครัวเรือนยังอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจมหภาคผ่านการฉุดรั้งการบริโภคภาคเอกชนในอนาคต
     โดยหากมาดูเฉพาะ ความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือน พบว่า ภาคครัวเรือนสะสมความเปราะบางมาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19

    สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่อยู่ในระดับสูง  โดย ณ ไตรมาส 2 ปี 2564 อยู่ ที่ 89.3% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
      นอกจากนี้ หนี้อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงเพื่อการอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน มีภาระผ่อนต่อเดือนสูงต่อเนื่อง จากเป็นหนี้ระยะสั้นและมีอัตราดอกเบี้ยสูงคิดเป็นสัดส่วนที่สูงของหนี้ครัวเรือนรวมเมื่อเทียบกับต่างประเทศที่ส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

      แกะไส้ใน ‘หนี้ครัวเรือนไทย’หนี้บ้าน-บัตร-รถ เทียบ 10ประเทศ โดยหากดูไส้ในหนี้ครัวเรือนไทย หนี้บ้าน หนี้รถ สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล หากเทียบกับ10ประเทศ พบว่า สินเชื่ออื่นๆ เช่นสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อรถ ของไทยถือว่ามีสัดส่วนสูงที่สุดใน 10ประเทศ ขณะที่หนี้บ้านต่ำที่สุดใน 10ประเทศเช่นเดียวกัน

หนี้บัตร-รถ-บุคคลไทยสูงสุด หากเทียบ10ประเทศ
    โดยหากคิดเป็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนพบว่า หนี้บัตร สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้รถ หนี้เช่าซื้อ สูงถึง 66% หากเทียบใน 10ประเทศ เช่น ฟิลิปินส์ 60% มาเลเซีย เกาหลีใต้ 48% ฮ่องกง 34% ญี่ปุ่น 32% อเมริกา 29% สิงค์โปร 25% และสหรัฐฯ 13% 
     หากเทียบกับหนี้ระยะยาว เช่นหนี้จากสินเชื่อบ้าน ที่พบว่าอยู่ในระดับต่ำ หากเทียบกับหนี้ครัวเรือนอื่นๆ หากเทียบกับในต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่ มีหนี้ระยะยาวมากกว่านหนี้ระยะสั้น

    โดยจากหนี้ครัวเรือนไทยพบว่า มีหนี้บ้านเพียง 34% ซึ่งต่ำที่สุดใน 10ประเทศ หากเทียบกับประเทศที่มีหนี้บ้านมากที่สุดถึง 87% และต่ำสุดคือสิงค์โปรที่ 40% 
    ธปท.ยังเปิดเผยอีกว่า การระบาดของโควิด-19 ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ส่งผลให้ครัวเรือนไทยเปราะบางขึ้นมากเนื่องจากตกงานหรือรายได้ลดลง จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ณ ไตรมาส 3 ปี 2564 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากค่าเฉลี่ยในปี 2562 ที่ 3.7 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.7 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.3 ของกำลังแรงงานทั้งหมด

     

แกะไส้ใน ‘หนี้ครัวเรือนไทย’หนี้บ้าน-บัตร-รถ เทียบ 10ประเทศ

 

    โดยกลุ่มลูกจ้างเอกชนนอกภาคเกษตรที่มีรายได้ต่ำน้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดลง มากกว่ากลุ่มรายได้อื่นๆ สะท้อนจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้รวมของลูกจ้างเอกชนนอกภาคเกษตรณ ไตรมาส 2 ปี 2564 เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 
    ซึ่งส่งผลให้ครัวเรือนบางส่วนมีกันชนในการรองรับความเสี่ยงลดลง เนื่องจากต้องนำเงินออมออกมาใช้เพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป


ครัวเรือนมีหนี้มากกว่า1แห่ง
     ทั้งนี้ หากพิจารณาครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งสะท้อนจากกลุ่มครัวเรือนที่มีจำนวนบัญชีใดบัญชีหนึ่งที่มีจำนวนวันค้างชำระมากกว่า 30 วัน ณ เดือนสิงหาคม ปี 2564 พบว่า      

     ส่วนใหญ่มีสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และเป็นลูกหนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) และผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) อื่น ๆ โดยประมาณ 2 ใน 5 มีการกู้ยืมจากผู้ให้บริการทางการเงินมากกว่า 1 แห่ง 

    แม้ที่ผ่านมา ธปท. จะมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยอย่างต่อเนื่องในหลายมิติ แต่การระบาด ระลอกใหม่ที่มีแนวโน้มรุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้มีลูกหนี้รายย่อยต้องการความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น จากการประเมินภายใต้สมมติฐานทางเศรษฐกิจ ณ เดือนมิถุนายน 2564

     โดยใช้ฐานข้อมูลลูกหนี้รายย่อยรวมเกือบ 15 ล้านคน ซึ่งได้จากการเชื่อมฐานข้อมูลของ ธปท. ที่ครอบคลุมลูกหนี้ ธพ. SFIs ธุรกิจบัตรเครดิต และธุรกิจเช่าซื้อ กับฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(National Credit Bureau: NCB)
    โดยพบว่า หากต้องการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวทั้งหมดให้รอดจากการผิดนัดชำระหนี้จำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติม รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้ที่สอดคล้องกับรายได้ในระยะยาวของลูกหนี้ด้วยวิธีที่สถาบันการเงินต้องมีส่วนสูญเสีย อาทิ การลดดอกเบี้ย การลดเงินต้น ในหลักแสนล้านบาทภายในสิ้นปี 2565

 

มาตรการธปท.ช่วยลดหนี้เสีย-คดีฟ้องร้อง
    ที่ผ่านมา ธปท.ได้ออกหลากหลายมาตรการ เพื่อออกมาช่วยเหลือและบรรเทาภาระทางการเงินแก่ภาคครัวเรือนผ่านสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง

    ทั้ง มาตรการให้ความช่วยเหลือที่มุ่งเน้นการรักษาสภาพคล่องและเติมเม็ดเงินใหม่ ผ่านการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับสินเชื่อรายย่อย สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เป็นการชั่วคราว เช่นลดวงเงินขั้นต่ำการผ่อนชำระ การขยายเพดานวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเป็น 2 เท่าของเงินเดือน สำหรับลูกหนี้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 30,000 บาท 
    รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือที่มุ่งเน้นการแก้ไขหนี้เดิม ทั้งปรับโครงสร้างหนี้
เพื่อลดภาระหนี้ ทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล รวมถึงลูกหนี้สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ สินเชื่อเช่าซื้อรถ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน โดยมุ่งเน้นการช่วยลดภาระหนี้ เช่น การขยายเวลาชำระหนี้
การรวมหนี้ (debt consolidation)ฯลฯ
    ซึ่งมาตรการที่ได้ดำเนินการไปนั้นสามารถช่วยเหลือภาคครัวเรือนได้จำนวนมาก และช่วยรักษา
ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนไม่ให้ด้อยลง โดยพบว่า ณ ไตรมาส 3 ปี2564 ในภาพรวมมีลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับความช่วยเหลืออยู่ที่ 6.0 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดภาระหนี้ 2.1 ล้านล้านบาท 
    ส่งผลให้คุณภาพสินเชื่อปรับดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับก่อนการระบาดของโควิด 19 สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non-Performing Loan: NPL หรือ stage 3) ของสินเชื่อรายย่อยในระบบธนาคารพาณิชย์ลดลงจาก 3.23%  ณ ไตรมาส 1 ปี 2563 มาอยู่ที่ 2.89%  ณ ไตรมาส 3 ปี 2564 
     นอกจากนี้ พบว่าลูกหนี้รายย่อยในระบบธนาคารพาณิชย์ มีจำนวนการถูกฟ้องร้องลดลงในช่วงที่ผ่านมาและกลับมาใกล้เคียงกับช่วงปกติ
แม้ภาครัฐได้ออกมาตรการช่วยเหลือภาคครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง แต่ครัวเรือนบางกลุ่มโดยเฉพาะ
กลุ่มเปราะบางยังมีความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้ด้อยลง เนื่องจากครัวเรือนส่วนหนึ่งยังได้รับผลกระทบและฟื้นตัวได้ช้า และแม้รายได้ฟื้นตัวแล้วก็อาจไม่กลับไปเท่าเดิม เนื่องจากบริบททางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปในโลกยุคหลังโควิด 19 
     ตลอดจนการมีภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นและระดับกันชนที่ลดลงส่งผลให้ ภาคครัวเรือนมีความเปราะบางเพิ่มขึ้น ขณะที่การระบาดของโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอนแม้สถานการณ์โดยรวมปรับดีขึ้น
      โดยหากความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนด้อยลงเป็นวงกว้างในอนาคตอาจส่งผ่านความเสี่ยงไปยัง สถาบันการเงิน โดยเฉพาะกรณีเกิดการผิดนัดชำระต่อเนื่องกับสถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์ เนื่องจาก มีหลายบัญชี รวมถึงอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนในอนาคต


เร่งแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้
      ดังนั้น ในระยะต่อไปจึงต้องให้ความสำคัญกับการผลักดันให้สถาบันการเงิน เร่งปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อยแบบยั่งยืน เพื่อให้ลูกหนี้มีความสามารถชำระหนี้ในระยะยาว

     รวมถึงมองเห็นภาระหนี้ของตัวเองและวางแผนทางการเงินได้ชัดเจนขึ้นซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อและภาระกันสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์ ในระยะต่อไป 
แนะต้องมีแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนครอบคลุมก่อนเป็นหนี้
ในระยะยาวจำเป็นต้องมีแนวทางดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างครอบคลุม

     โดยดูแลการก่อหนี้ใหม่ที่เกินตัวจนผู้กู้สุ่มเสี่ยงที่จะอยู่ในภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว รวมถึงการแก้ปัญหาหนี้เดิมที่ส่งผลให้ภาคครัวเรือน ส่วนหนึ่งติดอยู่ในกับดักหนี้ซึ่งต้องดำเนินการตลอดกระบวนการก่อหนี้ตั้งแต่ ก่อนเป็นหนี้

     เช่น การส่งเสริมให้ครัวเรือนมีความเข้าใจและมีวินัยทางการเงิน การส่งเสริมให้มีผู้ให้บริการทางการเงินทางเลือกเพื่อช่วยลด หนี้นอกระบบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเครดิตที่่ครอบคลุมภาระหนี้ทั้งหมดของครัวเรือน
     ขณะก่อหนี้ เช่น การสนับสนุนให้ สถาบันการเงิน ให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมาะสม (responsible lending) การเตรียมความพร้อมในการออกมาตรการ MaPP หากจำเป็น และการส่งเสริมการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงิน ด้าน debt consolidation และ refinance) และเมื่อมีหนี้สินล้นพ้นตัว

     เช่น การแก้หนี้แบบครบวงจร การสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน
      ดังนั้น การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องทำแบบองค์รวมโดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อการเกิด moral hazard การจัดการหนี้นอกระบบ และการเร่งฟื้นฟูรายได้ของครัวเรือนอย่างยั่งยืนไปควบคู่กัน เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างครบวงจร