หนี “เงินเฟ้อ” เลือกลงทุน หุ้นแบงก์-น้ำมัน-สินค้าเกษตร
“แพงทั้งแผ่นดิน” แฮชแท็กในโลกโซเชียลมาแรงและกระแทกใจคนไทยในช่วงนี้ เพราะมองไปทางไหนก็เจอแต่ข้าวของ จนทำให้กระทบต่อเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงกว่าราคาข้าวของที่ต้องซื้อมาบริโภคหรือใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเรียกง่ายๆ ว่า ภาวะ“เงินเฟ้อ”
สถานการณ์ เงินเฟ้อ มักจะเกิดกับเศรษฐกิจ ที่มีแนวโน้มจะขยายตัวจากความต้องการ 2 ส่วนมาผลักดัน คือ ต้นทุนในการผลิตสินค้าที่สู
ประเทศที่เจอเงิอเฟ้อเล่นงานหนักหน่วงก่อนหน้านี้ปี 2564 คือ สหรัฐและยุโรป โดยเฉพาะสหรัฐที่ตัวเลขปรับตัวสูงถึง 7% ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และเป็นที่มา ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้นด้วยการ ขึ้นดอกเบื้ย ลดวงเงินซื้อคืนพันธบัตร (QE) แต่ด้วยสถานการณ์จากโควิดการจ้างงาน กลับต่ำเพราะมีผู้ใช้แรงงานออกจากระบบไปจำนวนมากจึงเป็นปัญหาน่าปวดหัวไม่น้อยของสหรัฐ
สำหรับไทยหลังจาก เปิดประเทศ ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมาเป็นสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจกิจกรรมต่างๆฟื้นตัว แม้ว่าจะมีการระบาดของ "โอมิครอน" เกิดขึ้นทั่วโลก แต่มีข้อมูลการเสียชีวิตที่ต่ำลงทำให้การล็อกดาวน์ไม่ถูกนำมาใช้ในระลอกนี้ และอาจจะเป็นการระบาดส่งท้ายสำหรับวายร้าย “โควิด”
เกิดปรากฏการณ์ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2564 แต่มีโอกาสจะเพิ่มสูงขึ้นได้อีก ด้วยภาคธุรกิจยังปรับราคาสินค้าตามมาไม่มาก แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้นหมดแล้ว ตั้งแต่ค่าทางด่วน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโดยสารเรือคลองแสนแสบ ราคาเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ และราคาพลังงาน ก๊าซหุงต้ม หรือ LPG หรือ ราคาน้ำมัน (รัฐจะตรึงราคาส่วนนี้ชั่วคราว)
ส่วนของการลงทุนกลับเป็นข่าวดี ในช่วงเวลานี้ เพราะถือว่าเป็นทางเลือกที่สามารถไว้สู้กับเงินเฟ้อ ยิ่งในภาวะอัตราดอกเบี้ยของไทยยังปรับขึ้นไม่ยาก ซึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.5% ต่อไป เพราะนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพจำกัดในการควบคุมราคาสินค้าที่สูงขึ้นจากด้านต้นทุนมากกว่าจากด้านเศรษฐกิจ
บวกกับสถานการณ์ของไทยบ่งบอกว่า อัตราเงินเฟ้อ เกิดจากแรงผลักด้านต้นทุน (Cost-push Inflation) มากกว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (Demand-pull Inflation) ซึ่งสอดคล้องกับราคาสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะโภคภัณฑ์ ที่เพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุหลักมาจากด้านต้นทุน
ดังนั้นเชื่อมั่นมากว่า กนง. จะให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่าเสถียรภาพด้านราคา เพราะการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายสูงอยู่พอสมควร ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มทรงอยู่ใกล้เคียงกับจุดต่ำสุด
กลยุทธ์จึงเน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก ภาวะเงินเฟ้อ ขยายตัว เช่น กลุ่มโภคภัณฑ์ และกลุ่มกลุ่มธนาคารพาณิชย์ประกัน เพราะเชื่อว่า อัตราดอกเบี้ย น่าจะอยู่ที่ต่ำสุด( Bottom) แล้ว และอาจลุ้นมีโอกาสปรับขึ้นได้ในระยะ กลาง-ยาว เน้นหุ้นที่โดดเด่น บมจ.เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) – บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) และ ธนาคารกสิกรไทย ( KBANK)
บล.เอเชีย เวลท์ ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ เก็งกำไร หุ้นในกลุ่ม น้ำมัน เลือก บมจ.ปตท (PTT) บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ.ไทยออยล์ (TOP) และ บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) เป็นหุ้นเด่น
ปัจจัยบวกจาก ราคาน้ำมันดิบ ปรับเพิ่ม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากถ้อยแถลงของ นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาสหรัฐ ซึ่งสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง ทำให้ตลาดน้ำมันดิบกลับมาฟื้นตัว แม้ราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มจะทำให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงของภาวะเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานของราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจาก Seasonal Demand และอุปทานที่ลดลงจากการผลิตน้ำมันในลิเบียลดลงเหลือเพียงวันละ 729,000 บาร์เรล (เดิม 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน) เนื่องจากมีการปิดบ่อน้ำมันหลายแห่ง รวมทั้งมีการปิด ซ่อมบำรุงท่อส่งน้ำมัน เราเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบในเดือน ม.ค.ถึงต้นเดือน ก.พ.จะยังคงยืนในระดับสูง ก่อนปรับลดลงเนื่องจากเข้าสู่ปลาย Seasonal Demand และอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากแผนการปรับเพิ่มกำลังผลิตของกลุ่ม โอเปกพลัส