ADD” รุกดิจิทัลปั้นรายได้โต 20% พร้อมเล็งเปิดตัวพันธมิตร
ADD ปั๊มรายได้ปีนี้โต 20% พร้อมส่งซิกเปิดกว้างรับพาร์ทเนอร์ร่วมเสริมความแข็งแกร่ง ปูทางพัฒนาระบบ Digital Ecosystem
นายสมโภช ทนุตันติวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท แอดเทคฮับ จำกัด (มหาชน) หรือ ADD เปิดเผยว่า จากอานิสงส์เชิงบวกการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลในข้างต้น ส่งผลให้ ADD ตั้งเป้าหมายอัตราการเติบโตของรายได้ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 20% หรือไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท เมื่อเทียบจากปี2564ที่ผ่านมา ภายใต้การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยเดินหน้าพัฒนาระบบเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ฃ
ทั้งในกลุ่มโอเปอเรเตอร์และผู้ใช้โทรศัพท์รวมถึงยังมุ่งเน้นในการร่วมหารือและพัฒนางานกับกลุ่มพันธมิตร เพื่อนำมาปรับใช้ในการให้บริการและตอบโจทย์กับผู้บริโภคได้ครบทุกมิติ ขณะเดียวกันบริษัทฯยังได้วางแผนพัฒนาระบบนิเวศดิทิจัล (Digital Ecosystem)ให้สมบูรณ์ขึ้น เพื่อเพิ่มรูปแบบบริการใหม่ๆ รวมถึงขยายโอกาสการทำงานร่วมกับพันธมิตรรายใหม่ๆ ทั้งในกลุ่มโทรคมนาคมและกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆในอนาคต
นอกจากนี้ ADD ยังเตรียมขยายฐานการให้บริการในส่วนของธุรกิจการให้บริการดิจิทัลคอนเทนต์ผ่านช่องทางโทรคมนาคม(Content)เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มกลุ่ม Content ที่น่าสนใจ เพื่อครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มย่อย พร้อมทั้งยังเปิดกว้างรับพันธมิตรที่เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานใหม่ๆ เนื่องจากธุรกิจการให้บริการดิจิทัลคอนเทนต์ถือเป็นสัดส่วนรายได้ทางธุรกิจมากกว่า80%ของรายได้รวม ดังนั้นหากบริษัทฯมีพันธมิตรใหม่ๆเพิ่มขึ้น จะเป็นการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ADD ยังมีแผนขยายฐานการให้บริการในส่วนของการให้บริการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(Solution)เช่นเดียวกัน โดยบริษัทฯจะนำเสนอโครงการหรือบริการใหม่ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของลูกค้า ทั้งกลุ่มโอเปอเรเตอร์และอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อขยายสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันการให้บริการธุรกิจดังกล่าวมีสัดส่วนรายได้ไม่ถึง20%ของรายได้รวม และในส่วนการให้บริการโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ตสำหรับสินค้าและบริการ (Advertising)นั้น บริษัทฯกล่าวยอมรับว่า ยังคงได้รับแรงกดดันจากสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งคงต้องรอการฟื้นตัวจากกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และสื่อโฆษณา
“ปี2565 ถือเป็นปีที่สำคัญของกลุ่ม ADD ซึ่งบริษัทฯยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาการให้บริการแอปพลิเคชัน เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเปิดกว้างในการร่วมงานกับพันธมิตรต่างๆนอกจากนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนา Content และ Solution ใหม่ๆ เพื่อสอดรับกับความต้องการของลูกค้า เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถสรุปรูปแบบการให้บริการดังกล่าวภายในครึ่งแรกปี 2565”
นายสมโภชยังได้กล่าวเสริมถึงเทรนด์ความต้องการของกลุ่มโอเปอเรเตอร์ ในการนำแอปพลิเคชันใหม่ๆ เข้ามาให้บริการกับกลุ่มลูกค้าในปี2565ว่า จากปี2564ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการโอเปอเรเตอร์มีกระแสความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นค่อนข้างมาก แต่โอเปอเรเตอร์ทุกรายต่างมุ่งหวังจะนำเสนอบริการในรูปแบบใหม่ ๆ ให้แก่ผู้บริโภค นอกเหนือไปจากการให้บริการเครือข่ายแต่เพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้เพื่อเป็นการขยายรายได้ให้เติบโตอย่างมั่นคง และเพื่อรักษาฐานผู้ใช้งานให้มีการใช้บริการอย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยจะเห็นได้จากกลุ่มโอเปอเรเตอร์มีการแข่งขันด้านการขยายแพลตฟอร์มต่างๆ ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เพื่อรองรับการให้บริการเพิ่มมากขึ้นแก่ผู้บริโภค ทั้งเพื่อความบันเทิงการติดต่อสื่อสารเพื่อการประชุมแบบ Online และบริการ Cloud ต่าง ๆ นอกเหนือไปจากการให้บริการแพลตฟอร์มที่โอเปอเรเตอร์พัฒนาขึ้นมาเอง
สำหรับในส่วนของ ADD นั้น จะเน้นการทำงานเพื่อสนับสนุนการให้บริการของกลุ่มโอเปอเรเตอร์ โดยการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมต่อระบบ Back-End เบื้องหลังต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกระบบของโอเปอเรเตอร์ให้ทำงานเชื่อมต่อกับผู้ร่วมให้บริการรายอื่นๆ หรือผู้ใช้โทรศัพท์ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ควบคู่ไปกับการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการให้บริการของ ADD ที่มีความเชี่ยวชาญในปัจจุบันก็ยังคงมุ่งเน้นระบบเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Content และการชำระเงินแบบ Carrier Billing ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนไปพร้อมกับแนวทางของกลุ่มโอเปอเรเตอร์ได้ตามสถานการ
“ADD”ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการระบบสนับสนุนบริการดิจิทัลคอนเทนต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่และให้บริการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉายภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัล มองแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลในประเทศไทยสำหรับปี2565ว่า ทิศทางอุตสาหกรรมฯยังคงมีอัตราการเติบโตจากการใช้งานบริการดิจิทัลต่างๆเพิ่มสูงขึ้นกว่า10%
โดยเฉพาะด้านE-Content ซึ่งมีการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ทั้งสาระและความบันเทิง ที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภายใต้สถานการณ์ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่Omicron ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้ชีวิตแบบ Work From Home (WFH)และเรียนผ่านระบบ Online อย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคต้องมีการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ลดความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมแบบ Offline โดยปรับเปลี่ยนมาใช้บริการบนแพลตฟอร์ม Online ทั้งการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) รวมถึงซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ (E-Retail)มากขึ้น