TTB - กลับมาตั้งเป้าสำหรับการเติบโต (24 ม.ค. 65)
เป้าหมายทางการเงินในปี 2022 ของฝ่ายบริหาร TTB สอดคล้องไปกับคาดการณ์ของเรายกเว้นเป้าการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อที่เรามองยังค่อนข้างเป็นไปในลักษณะระมัดระวัง
เราคงคำแนะนำ ซื้อ TTB ราคาเป้าหมาย 1.6 บาท มองราคาหุ้นยังมีอัพไซด์ valuation และแนวโน้มผลประกอบการปี 2022 จะเติบโตแข็งแกร่งสุดในกลุ่ม
ปีก่อนกำไรฟื้นตัวได้ช้ากว่าธนาคารอื่น
TTB รายงานกำไรปี FY21 เติบโต 4% ขณะที่ธนาคารใหญ่อื่นฟื้นตัวได้แข็งแกร่ง 20-30% เป็นผลจากนโยบายการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังและเน้นไปที่การควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ในปีที่ผ่านมาท่ามกลางการระบาดระลองใหม่ของโควิด อีกทั้ง TTB ยังต้องวุ่นวายเกี่ยวกับการโอนธุรกิจและปรับโครงสร้างองค์กรภายในหลังการควบรวมธนาคาร ทำให้พอร์ตสินเชื่อหดตัว 1.5% ในปี 2021 นอกจากนี้ TTB ยังมีการบันทึกรายจ่ายพิเศษในปีที่ผ่านมา เช่นค่าใช้จ่ายสำหรับแผนเกษียณของพนักงานก่อนอายุ, ค่าใช้จ่ายการควบรวมเพื่อแปลงสาขาและค่าใช้ในการโอนสินทรัพย์หลักประกัน ทำให้สัดส่วนต้นทุนต่อรายได้ (C/I) เพิ่มจาก 46% ใน 2020 เป็น 47.6% ใน 2021
กลับมาตั้งเป้าเร่งการขยายตัว
ในปี 2022 ฝ่ายบริหารกลับมาใช้นโยบายเชิงรุกสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะในการขยายพอร์ตสินเชื่อรายย่อย อย่างไรก็ตามฝ่ายบริหารวางเป้าหมายการเติบโตพอร์ตสินเชื่อไว้แบบอนุรักษ์นิยมที่ 2% โดยคาด FY22 NIM จะทรงตัวที่ 3% เนื่องจากมองยังไม่มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายจากธปท.ในปีนี้ ส่วนเป้าหมาย C/Iลดต่ำลงอยู่ที่ 45-47% หลังไม่มีค่าใช้จ่ายในการควบรวมธนาคาร ด้านเป้าหมายต้นทุนความเสี่ยงเครดิต FY22 อยู่ในกรอบ 140-160bps จาก 156bps ปีที่ผ่านมา
แนวโน้มการเติบโตแข็งแกร่ง
เป้าหมายทางการเงินในปี 2022 ส่วนใหญ่สอดคล้องไปกับคาดการณ์ของเรายกเว้นการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อที่เรามองว่าฝ่ายบริหารค่อนข้างอนุรักษ์นิยมและเรามองว่ามีอัพไซด์จากเป้าหมายโดยเฉพาะในช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุม เราคงคำแนะนำ ซื้อ TTB ราคาเป้าหมาย 1.6 บาท อ้างอิง PBV 0.7x จากอัพไซด์ของ valuation และแนวโน้มผลประกอบการที่จะเติบแข็งแกร่งสุดในกลุ่มธนาคารในปี 2022 หนุนจาก 1) การประหยัดต้นทุนจากซินเนอร์ยีหลังควบรวมธนาคาร, 2) พอร์ตสินเชื่อขยายตัว, 3) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยฟื้นตัวและ 4) การตั้งสำรองที่ทยอยลดลงสู่ระดับปกติ