หุ้นตามหนี้เนื้อหอมเปิดตัวคึก หลังปลดล็อกไลเซนส์
เนื้อหอมขึ้นทันตาสำหรับ ธุรกิจติดตามและบริหารหนี้ หรือ AMC (Asset Management Companies) หลังปลดล็อกข้อจำกัด ให้ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยหลังจากปิดตายธุรกิจดังกล่าวจนทำให้สถาบันการเงินจำเป็นต้องนำหนี้เสียมาประมูลขาย
เกณฑ์ใหม่เปิดทางให้สามารถร่วมลงทุนในกิจการร่วมทุน (Joint Venture) ได้ 3 ปี หรือภายในปี 2567ในการยื่นขอจัดตั้งกิจการร่วมทุน และมีระยะเวลา 15 ปีในการดำเนินกิจการร่วมทุนนี้ โดยในการดำเนินการจะต้องให้ความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้ต่อให้กับลูกหนี้ด้อยคุณภาพที่ได้รับโอนมาด้วย ซึ่งการลงทุนและ ธนาคารสามารถถือหุ้นใน JV มากกว่า 10% ได้ ที่สำคัญ ธนาคารสามารถให้สินเชื่อ มากกว่า 25% ได้
ปัจจุบันมีสถาบันการเงินเข้าคิวเตรียมจับคู่ตั้งธุรกิจเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวอย่างคึกคัก จากที่ผ่านมาธุรกิจ AMC กลายเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เพราะประมูลหนี้จากสถาบันการเงินในราคาที่ถูกตัดเป็นหนี้สูญและนำไปติดตามทวงหนี้ในอัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้จ่ายได้แบบผ่อนจ่ายและยังทำกำไรให้ AMC
เปรียบเทียบจากสินเชื่อทั้งระบบ 5.8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 40% ของแบงก์พาณิชย์ทั้งหมด แบ่งเป็น NPL อยู่ 1.86 แสนล้านบาท คิดเป็น 34% ทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์ และหนี้ส่วนที่ค้างชำระ 1-3 เดือนมีอยู่กว่า 2 แสนล้านบาท
โดยในส่วนนี้ครึ่งหนึ่งคือกลุ่ม SME และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็น สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีหลักทรัพย์เป็นหลักประกัน และไม่มีหลักประกันถือว่าใหญ่มากหรือเทียบขนาดเท่ากับ 3 แบงก์ใหญ่ประกอบไปด้วย ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และธนาคารกรุงเทพ (BBL)
หุ้น AMC มีผลบวกโดยตรงเนื่องจากมีทรัพย์ภายใต้การบริหารที่เพิ่มขึ้น จากเดิมที่ต้องแข่งกันประมูลหนี้เพื่อนำมาบริหาร ขณะเดียวกันบริษัทไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนใน JV ที่สูง เนื่องจาก JV สามารถระดมทุนผ่านการกู้ยืมเงินได้ทำให้ต้นทุนทางการเงินลดลง ซึ่งจะสามารถรับรู้รายได้จากการรับจ้าง JV ในการบริหารจัดการหนี้เสียจาากมูลหนี้รับจ้าง และผลสำเร็จจากการติดตามหนี้ รวมทั้งรับรู้รายได้ส่วนแบ่งจาก JV เพิ่มขึ้น รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามหนี้ หลังจากมีธนาคารเข้ามาเป็น JV ทำให้เงื่อนไขกับลูกหนี้จะผ่อนคลายลง
เสือมือไวที่ประกาศจับคู่ก่อนเป็นรายแรก KBANK ประกาศเป็นคู่กับ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ด้วยการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (JV) ในรูปแบบบริษัทบริหารสินทรัพย์โดย JMT จะถือหุ้นสัดส่วน 65-75% ขณะที่ KBANK จะถือหุ้นสัดส่วน 25-35% ซึ่งจะรับโอน NPL ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันจาก KBANK มาบริหารในการติดตามหนี้สิน
JMT เน้นบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่มีหลักประกัน ถือว่าเป็นพอร์ตใหญ่ของรายได้ทั้งหมดที่เหลือเป็นธุรกิจเร่งรัดหนี้ และธุรกิจบริหารสินเชื่อเช่าในงวดไตรมาส 3 มีกำไร 351 ล้านบาทและ 9 เดือน 923 ล้านบาททำสถิตินิวไฮอีกครั้งจากการติดตามหนี้เสียสูงขึ้น
ธนาคารกรุงไทย (KTB) ยอมรับมาแล้วว่าสนใจจัดตั้ง AMC จากการเจรจาพูดคุยกับพันธมิตร 3-4 ราย รวมไปถึงธนาคารใหญ่ SCB มีการเตรียมเข้ารุกธุรกิจนี้เช่นกัน ขณะที่รายใหญ่ในตลาด AMC บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)หรือ BAM มีพอร์ตหนี้ในมือมากที่สุด เน้นไปที่ มีมูลค่าสินทรัพย์ที่เตรียมรอขายอีกในกลุ่มโรงแรม ที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ หรือ NPA ซึ่งเตรียมจับมือพันธมิตรแบงก์รัฐรายใหญ่เข้าบริหารติดตามหนี้
ขณะที่รายเล็กในอุตสาหกรรม บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYO แม้จะยังไม่เปิดดีลเจรจากับใครอย่างเป็นทางการ เตรียมแยกธุรกิจ “ ชโย แคปปิตอล” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมไปถึงแผนการซื้อกิจการ หรือร่วมทุน (JV) เพิ่มเติม
นอกจากธุรกิจการเงินแล้วปรากฎมีธุรกิจอสังหาฯและค้าปลีกเข้ามารุกในตลาดเช่นกัน บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) หรือ SA ตั้งบริษัทย่อย "ไซมิส แอสเทท แอนด์ เวลธ์ แมเนจเมนท์" ร่วมทุนกับอินฟิกซ์ เวลธ์ เอ็นเทอไพรส์ วางงบซื้อ NPA-NPL มาบริหารมูลค่า 200 ล้านบาท ภายในปี 2565 เช่นเดียวกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR วางงบลงทุนปี 2564-2566 ในธุรกิจ AMCร่วมกับพันธมิตร ซึ่งมองว่าเป็นธุรกิจnew s curve
ทั้งบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทีนีตี้ มองหุ้น AMCs เป็นบวกหลักๆ โดยเฉพาะ CHAYO , JMT (นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขที่เข้มงวดขึ้นสะท้อนว่าจะเป็นการยากหากจะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาอีกด้วย) ซึ่งทั้ง 2 รายรับจ้างทวงหนี้อยู่แล้วก็จะได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มเป็นรายได้ราวๆ 10 % ของรายได้รวมของแต่ละราย
ส่วน BAM ก็มีโอกาสจะเข้ามาร่วมเล่นด้วย แต่แนะนำ CHAYO น่าเด่นสุด เนื่องจากราคาหุ้นยังมี Upside จากราคาเป้าหมายที่ให้ไว้คือ 14.80 บ./หุ้น อย่างไรก็ตามคาดอนาคตมีโอกาสที่จะขายหนี้ออกมาในอนาคตในเฟสต่อๆไปได้แต่คงไม่ใช่เร็วๆนี้
CHAYO แนวโน้ม Q4 มีพอร์ต NPAที่ใหญ่ขึ้นจนสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอมากขึ้น และกำไรจะเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ Q4 การเก็บเงินดีขึ้นกว่า Q3 และที่สำคัญมีที่แปลงใหญ่รอขายคาดได้เห็นปี 65-66 อีกประเด็น JV กับนักลงทุนในการประมูลหนี้จะเติบโตได้ดี กำไรเติบโตแรงกว่าตัวอื่นๆราว 35 %