AAV ปี 64 มีผลขาดทุน 6,647.5 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนเหตุโควิดฉุดผู้โดยสารวูบ

AAV ปี 64 มีผลขาดทุน 6,647.5  ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนเหตุโควิดฉุดผู้โดยสารวูบ

เอเชีย เอวิเอชั่น ปี 64 มีผลขาดทุนสุทธิ 6,647.5 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 4,764.1 หลังการปรับโครงสร้างการถือหุ้น และผู้โดยสารหดตัว

บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV  แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานปี 2564 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 4,508.2 ล้านบาท ลดลง 72% จากปี 2563 มีรายได้รวมจำนวน 16,236.3 ล้านบาท 

ขณะที่มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 16,358.9ล้านบาท ลดลง 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในปี 2564 มีขาดทุนสุทธิ สำหรับปีในส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทจำนวน 6,647.5 ล้านบาท จากขาดทุนจำนวน 4,764. 1 ล้านบาท ในปี 2563

ในระหว่างปี 2564 บริษัทมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้น โดยการออกหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพส่งผลให้มีขาดทุนต่อหุ้นปรับลดอยู่ที่
1.2833 บาท จากขาดทุนต่อหุ้นชั้นพื้นฐานที่ 1.2985 บาท แต่มีผลกำไรในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจากการป้องกันความเสี่ยง
กระแสเงินสดสุทธิภาษีเงินจำนวน 260.7 ล้านบาท

รวมถึงผลกำไรจากประมาณการภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานสุทธิภาษีจำนวน 165.7 ล้านบาท ส่งผลให้มีขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปีในส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทจำนวน 6,386.9 ล้านบาท จากขาดทุนจำนวน 4,882.8 ล้านบาท ในปี 2563

อย่างไรก็ตามใน ปี 2564 บริษัทมีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 3,828.5 ล้านบาท ลดลง 72% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในช่วงปลายเดือนชันวาคม 2563 และกลางเดือนเมษายน 2564   ประกอบกับ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศยานในเส้นทางการบินภายในประเทศ ห้ามปฏิบัติการบินรับส่งผู้โดยสารเข้าหรือออกพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเช้มงวด (พื้นที่ สีแดงเชัม) ส่งผลให้เที่ยวบินภายในประเทศถูกระงับชั่วคราวในช่วงใตรมาสที่ 3 เกือบทั้งหมด

อย่างไรก็ดี บริษัทกลับมาให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศสู่ประเทศมัลดีฟส์และกัมพูชาในช่วงปลายปี เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางตามนโยบายการเปิดประเทศ ผ่านโครงการ Test & Go อย่างไรก็ตามหลังจากมีการแพร่ระบาดของ Omicron รัฐบาลไทยได้ระงับโครงการ Test & Go ชั่วคราวตั้งแต่ วันที่ 22 ธันวาคม 2564 ซึ่งส่งผลต่อแผนการกลับมาให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศของบริษัทไปยังจุดหมายปลายทางอื่น ๆ

ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารสำหรับปี 2564 อยู่ที่ 2.93 ล้านคน หดตัว 69% จากปี 2563 และมีอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 68% หรือลดลง 7 จุดจากปีก่อน

นอกจากนี้ราคาค่าโดยสารเฉลี่ยในปี 2564 ลดลง 9% จากช่วง
เดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 1,090 บาทต่อคน เนื่องจากมีรายได้หลักจากเส้นทางบินในประเทศเท่านั้น แม้ว่าจะเปิดเส้นทางบิน
ระหว่างประเทศในช่วงปลายปีแต่เป็นเพียงระยะสั้นๆ

ทั้งนี้ บริษัท มีรายได้เสริมในปี 2564 เท่ากับ 651.3 ล้านบาท หรือ
ลดลง71% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหลักมาจากการหดตัวของจำนวนผู้โดยสาร ส่งผลต่อบริการฝากสัมภาระได้ท้อง
เครื่องและค่าบริการจากการขายสินค้าบนเครื่องบิน