การรบยืดเยื้อ แต่หุ้นอาจไม่แย่ เพราะธนาคารกลางอาจต้องขยับเข้ามาดูแล
สถานการณ์ยูเครนอาจยืดเยื้อ แต่ตลาดหุ้นอาจไม่แย่ สถานการณ์รบในยูเครนยังดำเนินต่อไป ควบคู่กับการเจรจา ขณะที่มีความพยายามของยูเครนในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของอียู ซึ่งไม่ว่าสถานการณ์จะดำเนินไปอย่างไร
เราประเมินว่ามาตรการคว่ำบาตรที่นานาชาติใช้กับรัสเซียจะคงอยู่ไปอีกระยะ ซึ่งแม้จะจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับเงินเฟ้อและแนวโน้มการเติบโตต่อยุโรปและเศรษฐกิจโลก แต่ในมุมมองเชิงบวกมีความเป็นไปได้เช่นกันที่ธนาคารกลางยุโรป และสหรัฐฯ (รวมถึงธนาคารกลางอื่นๆ) จะลดโทนตึงตัวของมาตรการทางการเงินในระยะสั้น ขณะที่อาจมีการออกมาตรการเพิ่มเพื่อช่วยเหลือ หรือดูแลผลกระทบของสถาบันการเงินที่อาจได้รับผลกระทบจากการผิดนัดชำระ หรือได้รับชำระเงินล่าช้าที่เป็นผลจากมาตรการตัดรัสเซียออกจากระบบธนาคาร ทำให้ภาพรวมของการลงทุนในตลาดหุ้นอาจจะไม่แย่ สังเกตได้จากปฎิกิริยาหุ้นสหรัฐฯ รวมถึงยุโรป ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดขึ้นมาเหลือลบในระดับลดลงพอสมควร // สำหรับหุ้นอาเซียนและไทย ที่มีระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับรัสเซียและยูเครนต่ำ คาดได้รับผลกระทบทางตรงจากความขัดแย้งน้อย และเป็นแหล่งพักเงินที่น่าสนใจ
กลุ่มพลังงานไทยในระยะสั้นได้ประโยชน์จากการถอนตัวของบริษัทพลังงานระดับโลก เพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลรัสเซีย บริษัทพลังงานขนาดใหญ่ของโลกทยอยประกาศถอนตัวจากโครงการลงทุนในรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็น BP, Shell, Equinor ASA อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวมาพร้อมกับความเสี่ยงในการบันทึกค่าใช่จ่าย Write-off ขนาดใหญ่ และความเสี่ยงของผลประกอบการที่อาจกระทบจากการถอนตัว ส่งผลให้หุ้นพลังงานของไทยที่ไม่มีแหล่งผลิต หรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย อาจเป็นตัวเลือกการลงทุนที่ดี อย่างไรก็ตามการลงทุนเน้นในหุ้นที่กำไรยังไม่ผ่านจุดสูงสุดเท่านั้น ได้แก่ PTTEP, TOP, OR และ IVL
ประเด็นเก็งกำไรอื่น
1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง การเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ บวกต่อ CK, STEC, ITD, UNIQ
2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW
3) กลุ่มบันเทิง ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากงบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO
4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ SFT, WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP
5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, TWPC, KSL
ภาพรวมกลยุทธ์: คาดบรรยากาศลงทุนจะทยอยปรับดีขึ้น จากแรงเก็งธนาคารกลาง ทั่วโลก จะขยับตัวมาดูแลความเสี่ยงยูเครน-รัสเซีย ยังประเมินผลกระทบต่อไทยและอาเซียนต่ำกว่าในยุโรป ทำให้ยังมีโอกาสเลือกเก็งกำไรรายตัวโดยเลือกหุ้นที่ยังมีความน่าสนใจในเชิงของ valuation และมีทิศทางการเติบโตของกำไรเป็นบวก //หุ้นแนะนำ: BAM*, ONEE*, MAKRO*, TOP*
แนวรับ: 1,680 / แนวต้าน : 1,720-1,740 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
สกุลเงินดิจิทัลฟื้นตัว - จากแรงเก็งกำไรของนักลงทุนที่มองการตัดรัสเซียออกจากระบบรับโอนเงินของธนาคารทั่วโลก (SWIFT) จะเป็นบททดสอบที่สำคัญของเงินดิจิทัล ที่อาจจะเป็นช่องทางรับจ่ายเงินทดแทนช่องทางแบบดั้งเดิม
ตัวเลขส่งออก ม.ค.ล่าช้า – กระทรวงพาณิชย์มีการปรับปรุงระบบการรายงานตัวเลขพิกัดศุลกากร จากฉบับ 2017 เป็นฉบับ 2022 ปัจจุบันจึงอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลโครงสร้างสินค้า ทำให้การแถลงข่าวภาวะการค้าจะเลื่อนไปจนกว่าการปรับปรุงข้อมูลจะแล้วเสร็จ
TCAP ซื้อ TTB แตะ 23% – TCAP ซื้อหุ้น TTB เป็น 23% ถือหุ้นใหญ่เท่ากับกลุ่มไอเอ็นจี เผยพร้อมซื้ออีก 1.99% ให้ครบ 24.99%ตามที่แบงก์ชาติอนุมัติ กำไรปี 65 คาดโตต่อ
PIMO – ส่งสัญญาณยอดขายเดือน ม.ค.-ก.พ. 65 โตทะลุเป้า หลังตุนออเดอร์ล่วงหน้ายาวถึงเดือน ส.ค. 65 เผยมีลุ้นรับคำสั่งซื้อมอเติร์ EV ลูกค้าใหม่เพิ่ม 1 ราย คาดรายแรกส่งมอบเร็วกว่ากำหนด พร้อมเดินหน้าลุยกัญชงต่อ
OR – ตั้งงบลงทุน 8 ปี กว่า 2 แสนล้านบาท ดัน EBITDA ปี 73 แตะ 4 หมื่นล้านบาท เน้นลงทุนในธุรกิจไลฟ์สไตล์ โดยกว่า 50% ตะเติบโตร่วมกับพันธมิตร ขณะที่ธุรกิจพลังงานจะเปลี่ยนผ่านจากพลังงานสู่พลังงานไฟฟ้า เล็งขยายการลงทุนครอบคลุม 20 ประเทศ
ประเด็นติดตาม: 3 มี.ค. – OPEC Meeting /4 มี.ค. – TH CPI เดือน ก.พ., US Employment Report
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)