กองทุน แนะ "แก้พอร์ตลงทุน” รับศึกรัสเซียกับยูเครนปะทุ -เงินเฟ้อพุ่ง

กองทุน แนะ  "แก้พอร์ตลงทุน”  รับศึกรัสเซียกับยูเครนปะทุ -เงินเฟ้อพุ่ง

“ผู้จัดการกองทุน” มองเศรษฐกิจทั่วโลก กำลังเผชิญความเสี่ยง “3 เด้ง” เด้งแรก “การบริโภคขาดแรงกระตุ้น” เด้งที่สอง “เงินเฟ้อพุ่ง ต้นทุนทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น” และเด้งที่สาม “สงคราม” ยังไม่แน่นอน ไม่มีประโยชน์กับใครเลย และถ้าสงครามจบอีก 3-5 ปี ตลาดหุ้นถึงกลับมาที่จุดเดิม

การลงทุนในเดือนมี.ค. จะมีความผันผวนสูง และดูจะเป็นลบมากขึ้น  โดยมีปัจจัยหลักคือ "สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน" ดูยังมีความน่ากังวลมากขึ้น  หลังจากวานนี้ ( 4 มี.ค.) รัสเซียประชิด เมืองหลักของยูเครน มีรายงานการไฟไหม้ โรงงานิวเคลียของยูเครน ขณะที่ Credit Rating ปรับพันธบัตรรัสเซีย เป็น Junk Bond ลง 6notch สู่ B3  

และอีกปัจจัย คือ  “การประชุมเฟด ที่คาดว่าจจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีวิกฤติโควิด -19”  อย่างไรก็ตาม จากถ้อยแถลงของประธานเฟด เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมานี้ ชี้นักลงทุนให้โอกาส 95% ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 15-16 มี.ค. และจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 5 ครั้ง ในปีนี้ เป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัวเด่น แต่การประชุม 15-16 มี.ค.นี้ เฟดจะเริ่มหารือเรื่อง “งบดุล” ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม 
 

กองทุน แนะ  \"แก้พอร์ตลงทุน”  รับศึกรัสเซียกับยูเครนปะทุ -เงินเฟ้อพุ่ง
 

ในภาวะเช่นนี้ทำให้ “นักลงทุนกังวลกับความเสี่ยงมากขึ้นกว่าเดิม”ดังนั้น ผู้จัดการกองทุน แนะนำกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญ คือ “การยอมรับความจริงและกลับมาพิจารณาพอร์ตลงทุนที่สอดรับกับความสถานการณ์”              

 บลจ.ยูโอบี เชื่อตลาดหมีระวังตัว ไม่รีบรับความเสี่ยง 

"จิติพล พฤกษาเมธานันท์” นักกลยุทธ์การลงทุน สายพัฒนาธุรกิจ บลจ.ยูโอบี เชื่อว่า เมื่อภาวะการลงทุนในปี 2565 ยังเป็น “ตลาดหมี ระวังตัว”  ไม่รีบรับความเสี่ยง เลี่ยงความเสี่ยงช่วงสงคราม

ดังนั้นจะเห็นได้ตลาดพยายามลดน้ำหนัการลงทุน  "สินค้าฟุ่มเฟือย หุ้นยุโรป กองทุนแห่งอนาคตที่ไกลมากๆ  หุ้นเทคโนโลยี"   และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนระยะยาว 3 ธีมเมกะเทรนด์เด่น ได้แก่ “ปฏิบัติอุตสาหกรรม การเงินไร้ตัวกลาง ป้องกันภัยไซเบอร์” สะสมการลงทุนในตลาดหุ้นขนาดใหญ่ คุณภาพดี จ่ายปันผลดี มีอนาคตชัดเจน 

เพราะแม้สงครามเป็นความไม่แน่นอนก็จริง แต่สุดท้ายความไม่แน่นอน จากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์จะอยู่ไม่นานและนักลงทุนจะเปลี่ยนตามไม่ทันเมื่อมีปัจจัยใหม่  ดังนั้นตอนนี้นักลงทุนต้องกลับมา สำรวจการลงทุนของตนเองว่า "มีสัดส่วนเหมาะสมกับอายุและเป้าหมายการลงทุนแล้วหรือไม่" 


“ก่อนนี้ใครที่คิดจะไปใช้ชีวิตในโลกแห่งอนาคตแล้ว คงต้องกลับมายอมรับความจริงว่า ระยะสั้นอาจจะยังไม่ใช่ และจำเป็นต้องปรับลดส่วนดังกล่าวลงบ้าง ไม่รีบเข้าไปรับความเสี่ยงที่ยังไม่ชัดเจน อีกทั้งเป็นนักลงทุนบนโลกนี้ ไม่ใช่แค่นักลงทุนในไทย ควรกระจายการลงทุนไปในต่างประเทศ จะมีโอกาสและลดความเสี่ยงของพอร์ตในระยะยาวได้มากกว่ากระจุกการลงทุนไว้ในไทย เพราะปัจจุบันยังนักลงทุนไทยยังมีสัดส่วนการลงทุนหุ้นไทยราว 70% ของพอร์ตลงทุน แต่หุ้นไทยที่ได้ประโยชน์ในปีนี้มีแต่หุ้นแบบเดิมๆ แบงก์กับพลังงาน" 

 

 


 

ที่สำคัญเมื่อ “สงคราม” กลายเป็นความเสี่ยงหลัก เด้งที่สาม 

บลจ.ยูโอบี มองรูปแบบการลงทุนใน 2 กรณี ดังนี้ 

1. “สงครามจบ เงินเฟ้อไม่จบ”  เป็นกรณีฐาน  ทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง เฟดจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง เกิดวัฏจักรลงทุนรอบใหม

สินทรัพย์ที่คาดว่าจะเติบโตดีกว่าตลาดและได้รับประโยชน์  ( Outperform )  คือ  “หุ้นคุณภาพ หุ้นขนาดใหญ่ สินทรัพย์ทางเลือก”   

2. “สงครามไม่จบ นับศพเศรษฐกิจ” เป็นกรณีเลวร้าย คนที่ชนะสงคราม ไม่ใช่คนที่มีกำลังมากที่สุด แต่คนนั้นอึดที่สุด เชื่อว่า คนชนะ คือ “รัสเซีย” เพราะยังไม่เห็นสหรัฐการแบรนการนำเข้าสินค้าพลังงานของรัสเซีย  ทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง เฟดจำเป็นต้องขึ้นดอกบี้ย เศรษฐกิจมีโอกาสถดถอยปี 2567  

สินทรัพย์ที่คาดว่าจะเติบโตดีกว่าตลาดและได้ประโยชน์ ( Outperform ) คือ      "สินทรัพย์ปลอดภัย  และป้องกันเงินเฟ้อ  (ทองคำ) "

สงครามกระทบ "หุ้นไทย" น้อย 

จับตาท่าที "เฟด" ในครึ่งปีแรก

ในภาวะสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน แน่นอนว่า “หุ้นสหรัฐและหุ้นไทย”  อาจยังได้รับผลกระทยน้อยจากสงครามนี้   "จิติพล" กล่าวว่า เนื่องจาก "ตลาดหุ้นไทย" “มีจุดเด่น” ที่ธุรกิจขนาดใหญ่เป็นกลุ่มพลังงานและปิโตรเครมี มีสัดส่วนค่อนข้างมากในโครงสร้างตลาดทุนไทย มองเป้าหมายดัชนีปีนี้ 1,580-1,770 จุด  หากราคาน้ำมันยังปรับตัวสูงขึ้น คาดว่าดัชนีไม่หลุด 1,600 จุด 

ขณะที่ "ราคาน้ำมัน"ที่เร่งตัวขึ้นคาดว่าจะกระทบต่ออัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทย จีดีพีปรับตัวลดลง 1-1.5% จากที่คาดจีดีพีปีนี้ขยายตัว 3.5-4.5 %

แต่ยังต้องติดตามปัจจัย “เงินเฟ้อ” ที่ยังอยู่ระดับสูงผิดปกติ แม้จะไม่มีสงครามเลยก็ตาม ดังนั้นในปีนี้เป็นต้นไป ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดเพื่อคุมเงินเฟ้อ  ซึ่งในไทยและยุโรป จะใช้นโยบายการเงินเข้มงวดน้อยกว่าประเทศอื่นๆ  แต่หากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมัน ปรับตัวขึ้น ลากไปอีกแค่ 1-2 เดือน อาจจะกระทบกับไทยได้และทำธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจต้องกลับมาพิจารณาการปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อคุมเงินเฟ้อเช่นกัน  

ในฝั่งของเฟดเอง ไม่มีเหตุผลของการหยุดขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ 15-16 มี.ค.นี้ ดังนั้นมองว่า เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% แน่นอน หลังจากนี้ เชื่อว่า เฟดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมทุกรอบคาดขึ้น 5 ครั้ง ซึ่งดอกเบี้ยจะกลับมาอยู่ที่ระดับเท่าก่อนปีก่อนโควิด ที่ 1.25-1.5% แต่ต้องพยายามลดงบดุลให้เสร็จสิ้นภายในช่วงครึ่งปีแรกเพื่อใม่ให้สภาพคล่องตึงตัวเกินไป อัตราดอกเบี้ยทั่วไปต้องขยับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายและต้องเห็นการขยับตราสารหนี้มีแรงขายเพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นแทน ไม่เช่นนั้น ตลาดจะเริ่มสะท้อนได้ว่า “เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2567”  หรือไม่ 
 

บลจ.จิตตะ มอง "ทุกการลงทุนในวิดกฤติมีโอกาสเสมอ"     

โดยประเมินสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนหากยืดเยื้อกดดันเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่จะรุนแรงมากขึ้น  ระบุหากสงครามอยู่ในวงจำกัด จะไม่กระทบหุ้นโลกมากนัก

“ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์”  ประธานบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บลจ. จิตตะ เวลธ์  มองว่า  การปะทะกันระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทำให้นักลงทุนมีความกังวลเพิ่มขึ้น และการปะทะกันที่ยืดเยื้ออาจทำให้เงินเฟ้อสูงอยู่นานขึ้น และยังมีโอกาสเร่งให้ดอกเบี้ยขาขึ้นมาเร็วกว่าที่หลายสำนักคาดการณ์เอาไว้ 

ขณะเดียวกันนอกจากจะปะทะกันด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ทางการทหารที่ทันสมัยแล้ว ในสงครามครั้งนี้ยังเห็นได้ว่าการโจมตีทางไซเบอร์เป็นหนึ่งในอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรง จากข่าวเราจะเห็นว่า เว็บไซต์รัฐบาลและธนาคารถูกโจมตีทางไซเบอร์

"ธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้" รับอานิสงส์สงคราม

แต่แน่นอนว่า "ทุกๆ การลงทุน ในวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ"  บริษัทที่ได้ประโยชน์จากการโจมตีครั้งนี้คงหนี้ไม่พ้นบริษัทในกลุ่ม Cybersecurity ซึ่งคาดว่าหลังจากนี้จะเห็นแนวโน้มที่บริษัทหรือองค์กรต่างๆ จะหันมาใส่ใจกับความปลอดภัยด้านข้อมูลข่าวสารมากขึ้น

ดังนั้น หากพิจารณาสถิติตลาดหุ้นทั่วโลกย้อนหลังจากดัชนี MSCI และ ACWI จะพบว่า  กรณีเลวร้าย หากเกิดสงครามจะพบว่าตลาดหุ้นทั่วโลกไม่ได้ตกรุนแรงสักเท่าไรนัก และสิ่งที่น่าสนใจคือ ดัชนีเป็นขาขึ้นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสงครามในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา จำกัดอยู่ในวงแคบๆ เฉพาะบางพื้นที่ของโลก แตกต่างจากสมัยสงครามโลก ที่กินพื้นที่วงกว้าง


แต่หากความขัดแย้งในรอบนี้จุดชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ตลาดหุ้นจะร่วงหนักเหมือนที่เกิดขึ้นตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกอย่าง MSCI และ ACWI แต่ส่งผลให้ ดัชนี S&P 500 ตกลงจากจุดสูงสุดถึง 60% อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ตลาดหุ้นได้ฟื้นตัวกลับมาที่จุดเดิมได้ในระยะเวลา 3 ปีกว่า


ขณะเดียวกันหากความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ถึงกับปะทุกลายเป็นสงคราม แต่จำกัดวงอยู่แค่ 2 ประเทศ โต้ตอบกันไปมา ผลกระทบก็คาดการณ์ได้ว่าจะเห็นราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่พุ่งสูงขึ้นเหมือนที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก รวมถึงส่วนสินค้าอย่างเช่นข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง ปุ๋ยเคมี ที่ทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกหลักครับและแร่หายาก (Rare Earth) ที่กำลังเป็นสิ่งล้ำค่าในโลกยุคนี้ เพราะใช้ในการผลิตเทคโนโลยีใหม่หลายอย่าง ซึ่งรัสเซียมีอยู่เยอะมาก ผลต่อเนื่องก็คือ เงินเฟ้อที่สูงอยู่แล้วในหลายประเทศ ก็จะอยู่ในระดับสูงต่อหรืออาจสูงขึ้นอีก เร่งให้ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นไวกว่าเดิม


แนะนำว่า หากนักลงทุนมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่คุณภาพดีอย่างมีวินัย และไม่หวั่นไหวตามกระแสขึ้นลงชื่อได้ว่า "ผลตอบแทนระยะยาวจะไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสงคราม ราคาน้ำมัน เงินเฟ้อและดอกเบี้ยสูง หรือแม้แต่โรคระบาดใหญ่อย่าง Covid-19 ก็ตาม"

ในทางกลับกันเราสามารถมองเห็น "โอกาส"  จากสถานการณ์ที่ตลาดกำลังตื่นตกใจและเห็นโอกาสเข้าซื้อ อย่างช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นบริษัทวัคซีน โรงพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ และหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลกพุ่งติดจรวด เพราะได้ประโยชน์เต็มๆ ช่วงที่โรค Covid-19 กำลังระบาดหนัก

 

"มอร์นิ่งสตาร์" แนะรับความเสี่ยงได้น้อย

แผนลงทุนระยะสั้น ปรับ"ลดความเสี่ยง"

“ชญานี จึงมานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย)  มองว่า ผลกระทบระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้นเป็นประเด็นด้าน geopolitical risk ที่คาดเดาได้ยากว่ามาตรการคว่ำบาตรจากหลายประเทศจะรุนแรงขึ้น และกระทบต่อราคาน้ำมันมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปที่ระดับเงินเฟ้อและเศรษฐกิจทั่วโลก 


โดยช่วงนี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดเกิดความกังวล ตลาดมีการปรับตัวลงเร็วในช่วงแรกและมีการฟื้นขึ้นเร็วเช่นกัน นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อยและมีแผนการลงทุนระยะสั้นอาจพิจารณาลดความเสี่ยงตามความเหมาะสม แต่หากสถานการณ์ไม่ลุกลามบานปลายก็อาจไม่ส่งผลต่อการลงทุนระยะยาวเท่าใดนัก