ภาพกลางยังไม่ชัด แต่ยังให้น้ำหนักกับระยะสั้นฟื้น

ภาพกลางยังไม่ชัด แต่ยังให้น้ำหนักกับระยะสั้นฟื้น

มีตลาดรอติดตามการเจรจายูเครน-รัสเซียรอบล่าสุดพฤหัสนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามในคำสั่งห้ามนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย 3.6% สู่ 123.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เนื่องจาก 1) การดำเนินการดังกล่าวอยู่ในคาดการณ์ของนักลงทุนแล้ว 2) สหรัฐฯ รายงานสต็อคน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา 3) ผลกระทบต่อภาพรวมตลาดน้ำมันไม่มากนัก โดยสหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียเพียง 3% ขณะที่สหรัฐ ไม่ติด 10 อันดับแรกของประเทศที่รัสเซียส่งออกน้ำมัน 4) นักลงทุนรอติดตามการหารือระหว่าง รมว.ต่างประเทศของยูเครนและรัสเซีย ที่มีตุรกีเป็นเจ้าภาพในวันที่ 10 มี.ค.นี้ ด้วยปัจจัยทั้งหมดข้างต้น เรายังคงมุมมองต่อเนื่องจากเมื่อวานให้น้ำหนักกับตลาดระยะสั้นมีโอกาสฟื้นตัว ขณะที่ภาพระยะกลาง การจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องจำเป็นที่ความขัดแย้งจพต้องได้ข้อยุติ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องออกมาปรับลดความเร็วในการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อหลักเลี่ยงการเดินไปสู่เศรษฐกิจชะงักงัน (stagflation) หรือเศรษฐกิจถดถอย (recession) ตามที่ตลาดพันธบัตรกำลังส่งสัญญาณ
 

สินค้าโภคภัณฑ์ยังมีแนวโน้มบวก แต่หุ้นโภคภัณฑ์เริ่มไม่แน่ ผลของภาวะสงครามทำให้สินค้าโภคภัณฑ์บางชนิดปรับขึ้นอย่างรุนแรง หลายเท่า จนทำให้บริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และใช้กลไกของการขายชอร์ต เพื่อทำการประกันความเสี่ยงราคา (hedging) เผชิญภาวะที่ยากลำบากจากการดำรงเงินประกัน โดยมีบริษัทหลายแห่งถูกเรียกการวางหลักประกันเพิ่ม (margin call) เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับสูงขึ้นจากราคาที่ขายชอร์ตไว้มาก ซึ่งหากหน้าตักของบริษัทไม่เพียงพอ หรือกลไกบริหารความเสี่ยงไม่เพียงพอ จะมีความเสี่ยงที่จะถูกบังคับปิดสถานะและทำให้อาจต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการประกันความเสี่ยง ทำให้คาดการณ์ผลการดำเนินงานของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านโภคภัณฑ์จะมีความไม่แน่นอนสูง รวมถึงอาจรายงานผลการดำเนินงานผิดไปจากที่คาดหมายได้ ซึ่งนักลงทุนอาจต้องตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว ดังนั้นในเชิงกลยุทธ์ การเลือกเก็งกำไรกับกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ และอิงกับภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก (อาทิ ธนาคาร ค้าปลีก สื่อสาร บันเทิง อสังหาริมทรัพย์ และนิคมอุตสาหกรรม) จะทำให้การเลือกหุ้นง่ายขึ้น และมีความเสี่ยงในการลงทุนที่ลดลง

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP 2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 3) กลุ่มบันเทิง งบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO 4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP 5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, KSL 6) ค่าระวางเรือ PSL, TTA 7) ราคาแป้งสาลี-มันสำปะหลัง TWPC, TMILL, UBE
 

 

 

ภาพรวมกลยุทธ์: ระยะสั้นยังให้น้ำหนักของการฟื้น โดยมีแนวต้านสำคัญ 1,640-1,650 จุด ติดตามความเสี่ยงบาทอ่อนค่าหลังราคาน้ำมันขึ้นสูง อาจทำให้ไทยมีโอกาสขาดดุลการค้า ซึ่งอาจกระทบ Fund flow ระยะสั้น //หุ้นแนะนำ: TIDLOR*, KBANK*, PJW*, TTA*

แนวรับ: 1,600-1,615 / แนวต้าน : 1,640 จุด สัดส่วน : เงินสด 60% : พอร์ตหุ้น 40%

 

ประเด็นการลงทุน

จีนพร้อมมีบทบาทแก้ไขวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน - ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำของจีน กล่าวว่า จีนพร้อมที่จะมีบทบาทอย่างมากในการแก้ไขวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ตามที่ทุกฝ่ายมองว่ามีความจำเป็น

TOP – รับไตรมาส 1/65 บันทึกกำไรสต็อกน้ำมันหลังราคาน้ำมันดิบพุ่งแรง เผยแม้เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน แต่ดีมานด์น้ำมันดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงคาดเฉลี่ย 7 ดอลลาร์

RAM-THG-VIBHA ร่วมทุนสร้าง รพ.ใน Jin Wellbeing Country –ขนาด 250 เตียง ตั้งอยู่บริเวณโครงการ Jin Wellbeing Country งบประมาณลงทุน 2,700 ล้านบาท โดย RAM ถือหุ้น 40% ร่วมกับ THG 30% , VIBHA 10%, และ กลุ่มแพทย์ นพ.นภสินธุ์ เถกิงเดช 20%

Opportunity day –9 มี.ค. TPBI, JWD, TACC, HARN, AIT, PLANB, PT, PJW, HUMAN, TNITY, PYLON, CRD // 10 มี.ค. SAWAD, DRT, NVD, SC, SGP, ILM, PM, TVD, SENA, CV, ICHI, CHO, PROEN, BC // 11 มี.ค. IVL, HL, HANA, PTG, TQM, JP, JKN, SUPER, TVO, LALIN, PDJ, BCH, HMPRO

 

ประเด็นติดตาม: 9 มี.ค. – Chinese CPI เดือน ก.พ., 10 มี.ค. – US CPI เดือน ก.พ.

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)