ผ่าสูตร...!! "มาร์คัส ลูเออร์” ปั้น OTO
ถอดสมการ .1+1=3" ปั้นอีสปอร์ตเชื่อมคริปโทฯ ของ "มาร์คัส ลูเออร์" หลังร่วมทุน OTO ยกอาเซียนตลาดใหญ่ “เกม-อีสปอร์ต” ขยายตัวแรง อนาคตมองไกลบุกตลาดระดับโลก !
หากเอ่ยถึงเจ้าพ่อแห่งวงการ “ตลาดกีฬา” และ “อีสปอร์ต” (ESport) ของเอเชีย ตำแหน่งดังกล่าวต้องมีชื่อของ “มาร์คัส ลูเออร์” ซีอีโอ บริษัท ฟิจิตอล สเปซ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และเป็นประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) กลุ่มบริษัทโททัล สปอร์ต เอเชีย หรือ ทีเอสเอ เอเยนซีการตลาดด้านกีฬาโลกของเอเชีย ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ 24 ปีก่อน ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
สำหรับเมืองไทย !! ชื่อของ “มาร์คัส ลูเออร์” กำลังอยู่ในความสนใจทั้งคนไทยและทั่วโลก เพราะเป็นหนึ่งในเบื้องหลังความสำเร็จของดีลแข่งขันฟุตบอลครั้งประวัติประวัติศาสตร์ในไทย ศึกแดงเดือด "ลิเวอร์พูล ปะทะ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด” ที่จะจัดขึ้น 12 ก.ค.2565 ร่วมกับ “วินิจ เลิศรัตนชัย” ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก
“ลูเออร์” ไม่ได้เป็นเพียงผู้อยู่เบื้องหลังเกมลิเวอร์พูลปะทะแมนเชสเตอร์ฯ เท่านั้น แต่เมื่อ 2 มี.ค.2565 ที่ผ่านมา “ฟิจิตอล สเปซ ดีเวลลอปเม้นท์” ตัดสินใจร่วมลงทุนกับ บริษัท อินโนฮับ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ OTO ในข้อตกลงร่วมมือพัฒนาธุรกิจเกม และอีสปอร์ตบนแพลตฟอร์ม Hubber มูลค่าลงทุน 100 ล้านบาท
อินโนฮับ !! ไม่ได้เป็นบริษัทดิจิทัลอย่างเดียว แต่เป็นกลุ่มบริษัทไอทีที่ฉลาดมากๆ และมีความสามารถในหลายจุด ที่เราไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือไม่มีความสามารถ เหตุผลที่ “ลูเออร์” ตัดสินใจร่วมลงทุนกับอินโนฮับ เพื่อเป้าหมายในการทำธุรกิจเกมและอีสปอร์ต เพื่อเชื่อมโยงสู่เงินดิจิทัล ดังนั้น จึงเห็นโอกาสตรงนี้ และในฐานะเป็นบริษัทมหาชนมีธุรกิจหลายอย่าง เรายังคงดูงานทุกภาคส่วนและดูว่าจะเชื่อมโยงตรงไหนได้ แต่แน่นอนเจ้าของธุรกิจก็ดูด้วยว่าเราทำอะไรบ้าง แล้วมองเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเรียนรู้ด้วยกันได้
สะท้อนผ่าน ลูเออร์มีมุมมองต่อธุรกิจเกมและอีสปอร์ต ว่า ธุรกิจเกมสามารถเชื่อมโยงกับกับธุรกิจอื่นอย่าง “คริปโทเคอเรนซี่” กับ สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถทำซ้ำได้ หรือ NFT โดยเฉพาะ NFT ที่กำลังมาแรงมาก รวมทั้งธุรกิจอื่นๆ ด้วย และเห็นได้จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Bitkub) และบริษัทอื่นๆ ที่มีทิศทางเติบโตสูง ซึ่งเห็นสถิติตัวเลขตลาดสหรัฐ แต่ยังไม่เห็นในประเทศไทย แต่ก็ไม่แปลกใจถ้าตัวเลขจะคล้ายๆ กัน
“นักเล่นเกมโดยเฉลี่ยมีโอกาสลงทุนหรือหารายได้จากคริปโทฯ มากกว่าคนดูฟุตบอลถึง “สองเท่าตัว” ถ้าคุณเป็นแฟน NBA หรือ NFL กีฬาอเมริกันแบบดั้งเดิม มีโอกาสที่คุณจะเล่นคริปโทฯ คือ ครึ่งหนึ่งของนักเล่นเกม”
อย่างไรก็ํตาม วงการเกมถือว่ายังใหม่ วงการคริปโทฯ ก็มีลักษณะคล้ายๆ กันคือใหม่มาก ด้วยความ่ที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล แต่วงการเกมก็มีพื้นเพไม่ต่างจากธุรกิจคริปโทฯ ซึ่งปัจจุบันบริษัทยังไม่มีการพูดคุยประเด็นบิตคอยน์ หรือ คริปโทฯ แต่คุยในเรื่องของธุรกิจ NFT เนื่องจากตอนนี้เป็นธุรกิิจที่มีความโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา
สอดคล้องกับบริษัทมีธุรกิจที่สร้าง NFT เพื่อให้คนที่เป็นเจ้าของ IP ให้พวกเขานำ IP เข้าสู่โลกดิจิทัล โดยทำอย่าง Hubber ด้วย จริงๆ แล้ว เรามี HUBCOIN ด้วยที่เปิดตัวไปหลายเดือนแล้ว และก็กำลังไปได้สวย แต่ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เรื่องเก็งกำไร เหมือนคนส่วนใหญ่ทำกัน แต่รู้สึกว่าบิตคอยน์เป็นสิ่งจำเป็นในระบบของเรา เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายของเราก็มีโอกาสสร้างรายได้ นี่คือ สาเหตุที่ทำตรงนี้
“พวกเขานำบริการของพวกเรา โครงสร้าง อุปกรณ์ที่พวกเขามี ซึ่งมีมานานกว่าที่พวกเรามี แล้วเราก็เอาส่วนที่เป็นดิจิทัลเข้ามาเสริม แล้วเชื่อมต่อกัน ผมหวังว่า 1+1 จะได้ 3”
อย่างไรก็ตาม หากคุณดูเกม NFT คงได้ยินมาแล้ว ถ้าเคยได้ยินชื่อเกม Axie Infinity หรืออะไรประมาณนั้น ก็เรียกว่า Play to Earn เล่นแล้วได้เงิน ต่อไปไม่ได้เล่นเกมแล้วเสียเงินซึ่งตรงนี้แหละที่ผมเชื่อว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นและที่ Hubber เรากำลังพัฒนาวิธีที่เราจะสนับสนุนระบบนี้ โดยเกม Axie Infinity สร้างขึ้นที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งตลาดกลุ่มลูกค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 คือ ฟิลิปปินส์ ดังนั้นเด็กๆ ที่ฟิลิปปินส์หลายคนมีรายได้ 100 ดอลลาร์ทุกสัปดาห์ด้วยการเล่นเกมนี้
ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ประธานกรรมการ OTO
เขา บอกว่า เป้าหมายและการขยายธุรกิจอนาคต คือการขยายธุรกิจออกนอกประเทศไทย โดยความตั้งใจตั้งแต่แรกแผนธุรกิจไม่ได้วางแผนว่าจะอยู่แค่ในไทยเท่านั้น แต่จะเป็นในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก และในทุกธุรกิจก็หวังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันมีเงินทุนแล้วก็สามารถลงทุนใหม่ๆ ได้ทันที รวมทั้งการนำบริการใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด สะท้อนผ่านมีหลายอย่างที่กำลังรอดำเนินการแต่ยังทำไม่ได้
“เราเชื่อตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสที่ใหญ่ เพราะมีประชากรรวมกันกว่า 650 ล้านคน ประกอบกับมีสัดส่วนนักเล่นเกมจำนวนมาก ซึ่งตลาดเมืองไทยก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน ขณะที่ระดับภูมิภาคอินเดีย หรือ ตะวันออกกลาง และเราดูอยู่เหมือนกัน แต่เราจะค่อยเป็นค่อยไป เรามีแผนใหญ่กว่าที่กำลังจะตามมา”
ขณะที่ ในแง่ของการแข่งขันธุรกิจอาจจะไม่เยอะมาก เพราะบริษัทค่อนข้างจะพิเศษ ซึ่งบริษัทมี “จุดแข็ง” เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มเล่นเกม-ทีมอีสปอร์ต และมีส่วนเสริมอื่นๆ ของบริษัท ตอนนี้ยังไม่เห็นว่ามีบริษัทไหนที่ทำแบบเรา แน่นอนว่ามีคู่แข่งในแต่ละจุด มีบริษัทอีสปอร์ตอื่นๆ บางแห่งก็มีขนาดใหญ่กว่าเรา มีหลายทีมในสังกัด อยู่ในหลายประเทศเรียบร้อย แล้วก็มีแพลตฟอร์มเล่นเกมระดับโลก อย่าง FACEIT หรืออื่นๆ ที่อยู่ในตลาดเกมเหมือนกัน ที่เราต้องแข่งด้วย
“ทำธุรกิจในภูมิภาคนี้มา 25 ปี มีความสัมพันธ์แทบจะทุกตลาด ดังนั้นการลงทุนต้องรอบคอบว่าจะเลือกไปที่ไหน และจะไปกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น อยู่ๆ จะเข้าไปเองไม่ได้”
ท้ายสุด “ลูเออร์” ถือเป็นนักธุรกิจที่เชี่ยวชาญในการทำตลาดด้านกีฬาอันดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งความสำเร็จเปิดตัว Sports Entrepreneurs Podcast Series ของตัวเองที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับบรรดาผู้บริหารระดับสูงในแวดวงกีฬาโลกและบรรดานักธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจด้านการกีฬาจากทั่วโลก