หนี้ครัวเรือนไทย : ความระทมทุกข์ที่รอการแก้ไข (นานมาก) (3)

หนี้ครัวเรือนไทย : ความระทมทุกข์ที่รอการแก้ไข (นานมาก) (3)

เมื่อสิ่งที่สำคัญที่สุดคือรายได้ต่อหัวของประชากร การเพิ่มรายได้ของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหา "หนี้ครัวเรือน"

การขยายตัวของหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดจากการแข่งขันของผู้ให้บริการทางการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เร่งขยายสินเชื่อจนเกินพอดี การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อบุคคล จึงได้ออกมาตรการหลายด้านมาต่อเนื่อง 

โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา อาทิเช่น การกำหนดเพดานวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลตามรายได้ของผู้กู้ การจำกัดจำนวนวงเงินสำหรับผู้กู้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท ในปี 2561 กำหนดเพดานวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเมื่อเทียบกับมูลค่าหลักประกัน (loan to value ratio) ในปี 2562 นำสินเชื่อจำนำทะเบียนรถเข้ามากำกับดูแล

ในปี 2562 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับสมาคมธนาคารไทยออกแนวปฎิบัติ เรื่องการปล่อยสินเชื่อด้วยความรับผิดชอบ (responsible lending) เพื่อให้สถาบันการเงินพิจารณาให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมะสม โดยให้ความสำคัญต่อการมีเงินเหลือเพียงพอสำหรับการดำรงชีพของผู้กู้ (affordability) มากกว่าการดูมูลค่าหลักประกันเป็นหลัก มีการกำหนดมาตรฐานวิธีคำนวณสัดส่วนภาระหนี้ที่ผู้กู้มีทั้งหมดต่อรายได้ (debt service ratio) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อโดยรวมสำหรับลูกค้าแต่ละราย

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกระทรวงการคลังยกระดับการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ ออกกฎเกณฑ์ใหม่เพื่อยกมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของผู้กู้ แต่การปรับกฎเกณฑ์

กำกับดูแสสหกรณ์ออมทรัพย์ยังทำได้ล่าช้า รวมทั้งยังไม่มีข้อบังคับให้สหกรณ์ออมทรัพย์ต้องเป็นสมาชิกเคครดิตบูโร ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลภาระหนี้ของลูกหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์กับผู้ให้บริการทางการเงินรายอื่น

ปัญหาหลักที่มีผลต่อการขยายตัวของหนี้ครัวเรือน คือ ขาดกฎหมายกำกับดูแลและผู้กำกับดูแลการให้สินเชื่อครัวเรือนบางประเภท ทำให้เกิดช่องโหว่ของการกำกับดูแล (legulatory loophole)ส่งผลให้มาตรการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิผลน้อยลงเนื่องจากผู้ให้บริการทางการเงินมีข้อจำกัดน้อยกว่าผู้ให้บริการทางการเงินที่ถูกกำกับดูแลผู้กู้สามารถขอวงเงินสินเชื่อได้สูงกว่า

กระทรวงการคลังเคยมีแนวคิดที่จะจัดตั้งสถาบันกำกับดูแลการเงินภาคประชาชนเพื่อรวมศูนย์การกำกับดูแลผู้ให้บริการผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ให้ที่สินเชื่อแก่ประชาชนฐานรากเข้าด้วยกัน สามารถกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินประเภทใหม่ ๆ ที่ยังขาดกรอบกฎหมายกำกับดูแล แต่เป็นเพียงแค่แนวคิดที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง นโยบายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลระหว่างผู้ให้บริการทางการเงินที่ให้สินเชื่อคล้ายกัน 

สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายเดียวกันจึงขาดเอกภาพ เนื่องจากมีผู้กำกับดูแลหลายหน่วยงานในระดับสากลมีหลายประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูง ประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิเช่น เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนสูงที่สุดในโลก คือประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่เศรษฐกิจยังเติบโตได้ หนี้ครัวเรือนไม่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจแต่อย่างใด

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือรายได้ต่อหัวของประชากร การเพิ่มรายได้ของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ตอนต่อไปจะนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนครับ.....