กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 21-25 มีนาคม: ผันผวนต่อเนื่อง ความไม่แน่นอนในยูเครนยังสูง

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ 21-25 มีนาคม: ผันผวนต่อเนื่อง ความไม่แน่นอนในยูเครนยังสูง

ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิงจะทำให้ตลาดผันผวน ในสัปดาห์ที่แล้ว (14-18 มีนาคม) ตลาดหุ้นไทยพอฟื้นตัวได้บ้าง จากปัจจัยบวกภายนอกซึ่งได้แก่

i) รายงานข่าวจากสื่อต่างประเทศว่ายูเครนใกล้บรรลุข้อตกลงสันติภาพแล้ว

ii) รัฐบาลกลางของจีนปกาศว่าจะออกมาตรการสองสามอย่าเพื่อสนับสนุนการลงทุน และตลาดการเงินของประเทศจีน

iii) ความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐ หลังจากที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ย 25bps และแสดงท่าที hawkish สำหรับการดำเนินนโยบายในระยะต่อไป ในขณะเดียวกัน ภาวะตลาดกลับมาอ่อนแอลงในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่การเจรจาระหว่าง รัสเซียและยูเครน หยุดชะงักและยังไม่บรรลุข้อตกลงที่เป็นชิ้นเป็นอัน

สำหรับในสัปดาห์นี้ (21-25 มีนาคม) เราคาดว่าดัชนี SET จะผันผวนต่อเนื่อง โดยความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิงถือเป็นธีมหลักในระยะสั้น โดยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา นาย Zelensky ประธานาธิบดียูเครน เรียกร้องให้มีการพบปะกันโดยตรงกับนาย Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย แต่เจ้าหน้าที่ของประเทศตุรกี ซึ่งปัจจุบันรับหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาเปิดเผยว่านาย Putin มองว่า สภาวะในปัจจุบันยังไม่ใช่จังหวะที่ดีที่จะจัดการประชุมสุดยอดกับนาย Zelensky สำหรับปัจจัยภายในประเทศ นักลงทุนควรจะติดตามข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับ i) มาตรการชุดใหม่ของรัฐบาลที่จะออกมาเพื่อลดภาะของประชาชนจากการที่ต้นทุนพลังงานแพงขึ้น ii) ตัวเลขการส่งออกและนำเข้าผ่านพิธีศุลกากรซึ่งจะมีการประกาศออกมาในช่วงปลายสัปดาห์นี้

 

 

 

 

 

ติดตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และปาฐกถาของผู้บริหารของ Fed หลายราย

(0) การเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครนจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาด ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ว่านาย Putin ผู้นำรัสเซียยังไม่ต้องการเข้าร่วมการเจรจาอย่าเป็นทางการกับผู้นำยูเครน ซึ่งอาจจะทำให้มีการใช้กำลังทางทหารเข้าปะทะกันต่อไป ทำให้ราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่องในระยะสั้น และทำให้มีการพูดกันในตลาดถึงแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อต่อไป

(0) มีผู้บริหาร Fed หกรายที่มีกำหนดขึ้นกล่าวปาฐกถาในสัปดาห์นี้ หลังจากการประชุม FOMC นัดสำคัญในสัปดาห์ที่แล้ว จะมีผู้บริหารระดับสูงของ Fed หกราย รวมถึงนาย Powell ประธาน Fed ด้วย ที่มีกำหนดขึ้นกล่าวปาฐกถาในสัปดาห์นี้ ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดช็อกทางด้านอุปทาน และแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น เราคิดว่าผู้บริหาร Fed ส่วนใหญ่น่าจะยังแสดงท่าที่ hawkish ต่อแนวนโยบายในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงิน (เห็นได้จาก CME Fed Fund Futures) สะท้อนความคาดหมายว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเจ็ดครั้งในปีนี้ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับ dot plot ดังนั้น เราจึงเชื่อว่าปาฐกถาของผู้บริหาร Fed จะส่งผลกระทบกับตลาดไม่มากนัก

 

 

 

ธีมหุ้นสำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อน่าจะเป็นแกนหลัก

เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในยูเครน และแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น เราจึงแนะนำให้นักลงทุนเน้นที่กลุ่ม/หุ้นที่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ด้วยการส่งผ่านต้นทุนต่อไปให้ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายได้ ซึ่งเรามองว่าหุ้นกลุ่มที่สามารถทำได้คือกลุ่ม commerce และโรงพยาบาล ดังนั้น เราจึงชอบ CPALL*, MAKRO และ BCH* นอกจากนี้ เรายังชอบหุ้นโรงกลั่น ซึ่งน่าจะได้อานิสงส์จาก GRM ที่แข็งแกร่งมาก และจะช่วยขับเคลื่อนกำไรในงวด 1Q65 ด้วย ซึ่งในธีมนี้เราชอบ ESSO* และ SPRC* และท้ายสุด คือเรามองว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างจำกัด และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังมีแนวโน้มขึ้นต่อ ดังนั้น เราจึงมองบวกกับหุ้นกลุ่มธนาคาร โดยเราชอบ BBL* และ KBANK*