ผู้ค้าปุ๋ย-เกษตรกรไทยเผชิญวิกฤตราคาปุ๋ยแพง จากพิษสงครามรัสเซีย-ยูเครน
สงครามรัสเซีย-ยูเครน น้ำมันพุ่ง ดัน“ปุ๋ยแพง” ทำผู้ค้าปุ๋ยและเกษตรกร เดือดร้อนถ้วนหน้า พาณิชย์เร่งแก้ปัญหา ย้ำนโยบาย 3 ฝ่าย คือ ผู้ค้า เกษตร และผู้บริโภค ต้องสมประโยชย์
“ปุ๋ย” ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการเพาะปลูกพืชทุกชนิดสำหรับเกษตรกรไทย เพราะ”ปุ๋ย”ทำให้พืชเจริญเติบโตและยังช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าปุ๋ยเคมีหรือแม่ปุ๋ย ในต่างประเทศเกือบทั้งหมดจากข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า ไทยมีพื้นที่ 131 ล้านไร่ ต้องการใช้ปุ๋ยเคมี 8.06 ล้านตัน โดยไทยนำเข้าปุ๋ยปีละ 5 ล้านตัน แหล่งนำเข้าแม่ปุ๋ยที่สำคัญคือ จีน รัสเซีย ตะวันออกกลางและแคนาดา
ปัจจุบันราคาปุ๋ยในตลาดโลกพุ่งขึ้นกว่า 100-200 % แล้วแต่ชนิดของแม่ปุ๋ยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับพุ่งขึ้นกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะปุ๋ยเป็น จากน้ำมัน ซ้ำเติมด้วยสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยึดเยื้อมากว่า 1 เดือน ทำให้ราคาแม่ปุ๋ยในตลาดโลกยังไม่มีแนวโน้มปรับลดลง ซึ่งรัสเซียและยูเครนถือว่าแหล่งผลิตปุ๋ยเคมีรายใหญ่ของโลก ประกอบหลายประเทศสั่งห้ามส่งออกปุ๋ยเพื่อความมั่นคงทางอาหารของไทย โดยเฉพาะจีนที่ประกาศจำกัดโควตาในการส่งออกสินค้าปุ๋ย “ไนโตรเจน” และ “ฟอสเฟต”ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปุ๋ยเคมีต้องขยับขึ้นตามราว 36-49% เมื่อเทียบกับปี 2564 หรือเกือบ 100% เมื่อเทียบปี 2563
ทั้งนี้สถานการณ์ราคาขายส่งปุ๋ยเคมีภายในประเทศเดือน มี.ค. 2565 ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาในตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันแม่ปุ๋ยเคมีสูตรสำคัญที่เกษตรกรไทยใช้มากในตลาดโลก ได้ปรับขึ้นจากปีก่อนเกิน 100% ได้แก่ยูเรีย 46-0-0 เพิ่มจากปีก่อน 360 ดอลลาร์ต่อตัน เป็น 1,000 ดอลลาร์ต่อตัน แอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 เพิ่มจากปีก่อน 180 ดอลลาร์ต่อตัน เป็น 400 ดอลลาร์ต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 122% ฟอสเฟต 18-46-0 เพิ่มจากปีก่อน 570 ดอลลาร์ต่อตัน เป็น 1164 ดอลลาร์ต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 104% โพแทสเซียม 0-0-60 ขึ้นจากปีก่อน 256 ดอลลาร์ต่อตัน เป็น 750 ดอลลาร์ต่อตันหรือเพิ่มขึ้น 193% คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะต่อเนื่องไปถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงเพาะปลูกของไทย
ปัญหาปุ๋ยแพงย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกรไทยเนื่องจากโดยเฉลี่ยต้นทุนปุ๋ยเคมีคิดเป็น 19-20% ของต้นทุนการเพาะปลูกพืชทั้งหมด และทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรไทยสูงขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ราคาพืชผลทางการเกษตรไม่ปรับราคาขึ้นตามต้นทุน ส่งผลให้เกษตรกรไทยต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งไทยต้องพึ่งพิงการนำเข้าปุ๋ยเคมี ดังนั้นผู้ค้าปุ๋ยเคมีและเกษตรกรต่างได้รับผลกระทบจากราคาปุ๋ยเคมีที่เพิ่มขึ้น
ปัญหาดังกล่าวสะท้อนไปยังรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เร่งรีบช่วยแก้ปัญหา ซึ่งนายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า พล.อ. ประยุทธ์ มีความห่วงใยปัญหาปุ๋ยกำชับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลปัญหา บรรเทาภาระของประชาชนให้มากที่สุด พร้อมทั้งสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานงานกับภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจนำเข้า เพื่อหาหนทางนำเข้าเพิ่มเติมให้ได้มากที่สุด พร้อมกับออกแนวคิดช่วยเหลือประชาชนบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ เช่น ใช้มาตรการทางการเงิน ช่วยปล่อยเงินกู้พิเศษ เงินกู้ระยะยาว ดูแลเรื่องดอกเบี้ย
ที่ผ่านมาที่ยังไม่เกิดสงครามรัสเซียและยูเครน ราคาปุ๋ยก็แพงอยู่แล้วซึ่งกระทรวงพาณิชย์ก็ออกมโครงการโครงการพาณิชย์ลดราคา! ปุ๋ยช่วยเกษตรกรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อยของเกษตร แต่กลับมาเจอกับสงครามรัสเซียและยูเครนก็ยิ่งซ้ำเติมไปอีก ด้านผู้ค้าปุ๋ย ไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นได้อีกหลังจากตรึงราคามาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จึงเสนอขอปรับราคาปุ๋ยเคมีต่อกรมการค้าภายในมาเป็นเวลา 1-2 เดือนแล้ว
ล่าสุด 3 สมาคมผู้ค้าปุ๋ยประกอบด้วยสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทยสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย และสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรได้ตบเท้าเข้าประชุมร่วมกับกรมการค้าภายใน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยยืนยันว่า ในฤดูกาลเพาะปลูก 4 เดือนตั้งแต่พ.ค.-ส.ค. ที่ความต้องการใช้ปุ๋ยจะอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน จะมีเพียงพอไม่ขาดแคลน
นายเทพวิทย์ เตียวสุรัตน์กุล อุปนายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนได้มีการเตรียมความพร้อมในการสั่งซื้อวัตถุดิบปุ๋ย ปุ๋ยสำเร็จรูปเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยการสั่งซื้อจะดำเนินการล่วงหน้า 45 วัน ดังนั้น ให้ความมั่นใจว่าครึ่งปีแรกปริมาณปุ๋ยมีเพียงพอต่อความต้องการแน่นอน ส่วนในครึ่งปีหลังเอกชนก็ยังจะทยอยนำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
“การที่กรมการค้าภายในอนุญาตให้ปรับราคาตามต้นทุนทำให้เอกชนมีความมั่นใจในการนำเข้ามากขึ้นและเชื่อว่าปุ๋ยจะไม่ขาดตลาด “ผู้ค้าปุ๋ย ระบุ
ขณะนี้ผู้ค้าปุ๋ยหลายรายต่างทยอยแจ้งต้นทุนต้นทุนให้กับกรมการค้าภายในให้พิจารณาไปแล้ว โดยได้เสนอขอปรับขึ้นราคาปุ๋ยเคมี 10-20 % ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่า การปรับขึ้นนั้นจะปรับขึ้นเป็นเท่าไร วันนี้ปัญหาปุ๋ยแพงยังคงเป็นปัญหาใหญ่ แม้ว่า กรมการค้าภายในจะ”ไฟเขียว”ขึ้นราคาได้ ไม่ก็ต้องเป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริงและจะพิจารณาเป็นรายๆไป ซึ่งส่วนนี้ถือว่า ไม่ได้ใช้ไม้แข็งจนทำให้ผู้ค้าปุ๋ยไม่สามารถประกอบกิจการได้ ขณะเดียวกันก็เกษตรกรที่เป็นผู้ใช้ก็ต้องหามาตรการช่วยบรรเทาความเดือนร้อนควบคู