"เอ็มพี กรุ๊ป" ผนึก "MBA จุฬาฯ" Upskill บุคลากร ผ่าน 3 หลักสูตร รองรับการเติบโตหลังโควิด-19
เอ็ม พี กรุ๊ป จับทัพพร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคต จับมือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิด 3 หลักสูตร อบรมพนักงาน มุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลพร้อมปรับตัวให้เท่าทันในโลก VUCA ที่มีการผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ
บริษัท เอ็ม พี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด องค์กรธุรกิจในการนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าและบริการทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เข้าสู่ปีที่ 21 เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วน ให้มีทักษะ มีศักยภาพทั้งในการพัฒนานวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ควบคู่กับการเป็นนักบริหารธุรกิจ โดยได้ร่วมกับ Chulalongkorn Business School (CBS) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการส่งเสริมความรู้ พัฒนาทักษะบุคลากรให้ตอบโจทย์กับสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
คุณนทพร บุญบุบผา ประธานกรรมการบริหาร CEO บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การพัฒนาบุคคลากร เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะทรัพยากรบุคคล ถือเป็นมันสมองขององค์กร หากองค์กรมีบุคลากรที่มีทักษะ มีองค์ความรู้สามารถตอบสนองต่อเทรนด์ในยุคปัจจุบันและอนาคต จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า รวมถึงตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และ แม่นยำ
"เอ็ม พี กรุ๊ป ให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาบุคลากร เพราะเอ็ม พี กรุ๊ป เป็นบริษัทจัดจำหน่ายเครื่องมือด้านวินิจฉัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่ จะมีความเชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติงาน ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี อุปกรณ์ทางการแพทย์อยู่แล้ว แต่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง และบริษัทเองมีการนำเข้า และจัดจำหน่ายสินค้า รวมถึงการให้บริการที่จะเข้าถึงประชาชน อย่าง ATK ยี่ห้อ STANDARD Q ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จำเป็นต้องUpskill ให้บุคลากร" คุณนทพร กล่าว
3 หลักสูตร สร้าง New S-curve ให้องค์กร
ความร่วมมือครั้งนี้ ทางทีมผู้บริหาร เอ็ม พี กรุ๊ป ไม่ว่าจะเป็น คุณฤทธิชัย ศรีวิจารย์ ประธานกรรมการ บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด รวมถึงตัว คุณนทพร เอง ล้วนจบจากจุฬาลงกรณ์ และทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ Chulalongkorn Business School (CBSChula) ถือเป็นสถาบันที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารธุรกิจ และมีองค์ความรู้มากมายที่จะช่วยเติมเต็ม ต่อยอดให้แก่บุคลากรของบริษัทได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการดังกล่าว
โดยทั้ง 3 หลักสูตรที่นำมาอบรมให้แก่พนักงาน Brand Building, MicroMBA และ Strategic Business Plan ล้วนจะช่วย Upskill พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร การตลาด การบริหารธุรกิจ การเข้าถึง เข้าใจผู้บริโภค และการสร้างแบรนด์ ล้วนเป็นทักษะที่บุคลากรของบริษัทต้องมีติดตัว เพื่อนำพาให้เอ็ม พี กรุ๊ป เป็นบริษัทชั้นนำที่น่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคมากขึ้น
คุณนทพร เล่าต่อว่า เอ็ม พี กรุ๊ป มีบุคลากรที่เป็นคนรุ่นใหม่ และมีทีมงานที่มีพลังค่อนข้างมาก ซึ่งคนรุ่นใหม่มีไฟอยู่แล้ว แต่อาจจะขาดความคิดสร้างสรรค์ หรือทักษะด้านการบริหาร การสื่อสาร องค์กรต้องเติมเต็มทักษะเหล่านี้ ซึ่งทั้ง 3 หลักสูตร เป็นทักษะที่บุคลากรต้องการเรียนรู้ และองค์กรต้องกรสร้าง New S-curve ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของในการเป็นเสาหลักนำนวัตกรรม และผลิตภัณฑ์บริการใหม่ๆ ให้คนไทยมีสุขภาพที่ยั่งยืน Live an Excellent Life
ขณะเดียวกันอีก 5-10 ปีนับจากนี้ เอ็ม พี กรุ๊ป ตั้งเป้าเป็นผู้นำทางด้านบริษัทที่มีการวินิจฉัยทางการแพทย์อย่างครบวงจร ทั้งมีผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม การบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งสอดรับกับประเทศที่กำลังขับเคลื่อน wellness
บุคลากรที่เข้าร่วมอบรมทั้ง 3 หลักสูตร จะได้เรียนรู้ Brand Building ประมาณ 30 ชั่วโมง โดยเริ่มอบรมตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.- 9 เม.ย. 2565 ส่วน MicroMBA จะเรียนรู้ 48 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการนำหลักสูตร MBA ของจุฬาฯ มาให้บุคลากรได้เรียนรู้ คาดอบรมแล้วเสร็จใช้เวลา 3 เดือนพร้อมรับประกาศนียบัตรจาก CBSChula และหลักสูตร Strategic Business Plan หรือการวางแผนธุรกิจ เพื่อทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดนวัตกรรมด้านความคิดในการสร้างสรรค์แผนธุรกิจ ไอเดียใหม่ๆ ด้านธุรกิจ
บุคลากรต้อง Upskill รับมือกับโลกใหม่
คุณนทพร เล่าต่อไปอีกว่า สถานการณ์โควิดส่งผลให้การทำงานของทุกคนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หลายคนเผชิญกับความไม่แน่นอน การมีทักษะ มีความรู้รอบด้าน และสามารถคาดการณ์ วางแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ย่อมนำมาสู่ประสิทธิภาพแก่องค์กร
ดังนั้น การอบรม Upskill Reskill การสร้างทักษะใหม่ๆ ให้แก่บุคลากรเป็นเรื่องที่ทุกบริษัทต้องทำ ยิ่งในบริษัท องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับด้านการแพทย์ โรคภัยไข้เจ็บ ต้องนำความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์มาผนวกกับทักษะด้านการบริหาร เพื่อให้เข้าใจทิศทางต่อไปของอนาคต
"เอ็ม พี กรุ๊ป ไม่ได้ต้องการเพียงขายสินค้า และได้ผลกำไรตอบแทนบริษัท แต่เราจะทำงานบนการสร้างความยั่งยืนทางด้านสุขภาพ ธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ต้องสร้างธุรกิจโดยคำนึงถึงผู้คน และสิ่งแวดล้อม โจทย์ใหญ่และความท้าทายของทีมงาน MP Group คือ ทำอย่างไรให้สามารถทำงานตามเป้าหมายของบริษัทได้" คุณนทพร กล่าว
รวมถึง ต้องทำให้พนักงานมีไอเดียด้านธุรกิจใหม่ๆ เพราะคนรุ่นใหม่จะเป็นแกนหลัก กำลังสำคัญ และเป็น New S-curve ของบริษัท ฉะนั้น ทั้ง 3 หลักสูตรนี้ เป็นโปรแกรมสร้าง New S-curve ให้แก่ MP Group ในทศวรรษที่ 3
เอ็ม พี กรุ๊ป เป็นองค์กรที่นำนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์มาจัดจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งตอนนี้มีนวัตกรรมทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์ บริการ และความคิด ฉะนั้น เทคโนโลยี นวัตกรรมที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากการสร้างสรรค์ของคน บุคลากรขององค์กรต้องได้รับการพัฒนาทักษะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะนำองค์ความรู้ที่ได้รับจะนำไปต่อยอดในการสร้างไอเดีย แรงบันดาลใจให้เกิดความคิดเชิงนวัตกรรม และขยายผลสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ดูแลสุขภาพของผู้คน
ธุรกิจยุคใหม่ ต้องมีทักษะหลากหลาย
รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง ความร่วมมือระหว่าง เอ็ม พี กรุ๊ป กับทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ว่า เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้คนละรูปแบบ โดยเอ็ม พี กรุ๊ป เป็นบริษัทชั้นนำด้านของสุขภาพ และอุตสาหกรรมการแพทย์ ได้ส่งมอบอุปกรณ์ตรวจโควิด-19ให้แก่ทางคณะ ขณะเดียวกัน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ซึ่งมีองค์ความรู้และมีผู้เชี่ยวชาญ จะเติมเติมทักษะด้านบริหารธุรกิจให้แก่บุคลากรขององค์กร
"การสร้างแบรนด์ Brand Building, MicroMBA และ Strategic Business Plan เป็นทักษะที่บุคลากรของทุกองค์กรต้องมี เพราะการสร้างแบรนด์ในยุคนี้ไม่ใช่เพียงสร้างโลโก้ ให้รู้จักชื่อเท่านั้น แต่ต้องทำให้ประชาชนเห็นคุณค่า ซึ่งการสร้างแบรด์ของ เอ็ม พี กรุ๊ป จะเป็นองค์กรที่รู้จักในนามบริษัทที่มีคุณค่า มีสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และพร้อมดูแลสุขภาพของทุกคน ขณะที่การเรียนเรื่อง MBA จะมีทักษะด้านบริหารธุรกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีทักษะด้านการตลาด การบัญชี การเรียนรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ และการวางแผนธุรกิจ ต้องกำหนดเป้าหมายทิศทางในอนาคตของบริษัทได้" รศ.ดร.วิเลิศ กล่าว
Upskill หรือ Reskill ทุกองค์กรต้องเสริมทักษะให้แก่บุคลากรของตนเองให้ตรงกับเป้าหมาย และลักษณะของอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งการอบรมของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯไม่ใช่สร้างความรู้ แต่จะเน้นการสร้างความฉลาดทางด้านธุรกิจ เพราะความรู้ในปัจจุบันสามารถเรียนได้ทุกช่องทาง และมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแต่ความฉลาด เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี เพื่อนำองค์ความรู้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
การทำงานต้องมีเครือข่าย ทำงานคนเดียวไม่ได้
"อนาคตโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน และไม่ใช่เปลี่ยนรวดเร็วอย่างเดียว แต่เปลี่ยนอย่างไร้ทิศทาง ดังนั้น องค์ความรู้ในอดีตไม่สามารถนำมาใช้ในปัจจุบันได้เสมอไป ต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อทำให้ได้กลยุทธ์ที่เฉียบคม คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชี จุฬาฯ จึงไม่ใช่เพียงสร้างคนที่มีความรู้ แต่เป็นการสร้างคนที่มีความฉลาดทางด้านธุรกิจ" รศ.ดร.วิเลิศ
ความร่วมมือกับ เอ็ม พี กรุ๊ป ซึ่งมีปณิธานมุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพระดับโลก การ Upskill หรือสร้างทักษะใหม่ แนวคิด กลยุทธ์ใหม่ เป็นจุดเริ่มในการสร้างความร่วมมือขององค์กร ทำให้ก้าวยิ่งขึ้นระดับโลก
รศ.ดร.วิเลิศ กล่าวทิ้งท้ายว่า ตอนนี้การทำงานไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมใด หรืออยู่ภาคส่วนไหน ไม่สามารถทำงานคนเดียว หรือองค์กรเดียวกัน การอบรมทักษะให้แก่บุคลากรแก่ เอ็ม พี กรุ๊ป จะเป็นตัวอย่างในการประสานความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา และภาคธุรกิจ เป็นการทำงานแบบพันธมิตรจับมือกันอย่างมั่นคงและก้าวไปด้วยกัน