คงมุมองอัพไซต์ไตรมาส 2/65 จำกัด ขณะเฟดเริ่มส่งสัญญาณลดขนาดงบดุล
รายงานการประชุมเฟดส่งสัญญาณเริ่มใช้มาตรการตึวตัวมากขึ้น รายละเอียดของรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อคืนนี้ (ของราบการประชุม 13-14 มี.ค.ที่ผ่านมา)
มีการหารือถึงการขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ที่อาจจะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ ซึ่งไม่ได้ผิดไปจากความคาดหมายของตลาด อย่างไรก็ตามการเปิดเผยรายละเอียดการหารือเกี่ยวกับขีดจำกัดการลดขนาดงบดุลลงในระดับ 9.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ/เดือน (เป็นพันธบัตร 6 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือน และตราสาร MBS จำนวน 3.5 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือน) เป็นระดับที่มากกว่าตลาดคาดที่ 7-9 หมื่นล้านเหรียญฯ กระบวนการลดขนาดงบดุล เป็นขั้นตอนของการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว (Quantitative tightening: QT) ที่ตรงข้ามกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative easing: QE) ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ นำมาใช้ในช่วงเกิดภาวะวิกฤติซับไพรม์และโควิดที่ผ่านมา ซึ่งการดำเนินนโยบาย QT จะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบลดลง ซึ่งจะส่งผลเชิงลบต่อบรรยากาศลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง แม้นักลงทุนจะคาดการณ์ปัจจัยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่ในช่วง 1-2 เดือนแรก ตลาดอาจจะผันผวนเป็นพิเศษ
ยังคงมุมมองอัพไซต์ไตรมาส 2/65 จำกัด ภาพรวมกลยุทธ์ คือ การเก็งกำไรระหว่างรอจุดซื้อที่ดี เน้นหุ้นได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในและการเปิดประเทศ เราประเมินความผันผวนและกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ในระดับ 2 เท่าของ PE multiple หรือคิดเป็นกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1,540-1,730 จุด อาทิ ธนาคาร ค้าปลีก สื่อสาร ขณะที่หุ้นโภคภัณฑ์ เก็งกำไรได้เฉพาะหุ้นที่ผลประกอบการยังไม่ผ่านจุดสูงสุด (เหลือเพียง IVL และ TOP) โดยหุ้นเด่นที่เรามองซื้อ/ทยอยสะสมในช่วงไตรมาส 2/65 ได้แก่ BBL, TIDLOR, CPN, CENTEL, BJC, OSP, TRUE, ONEE, IVL, TOP / ขณะที่หุ้นที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของเรา แต่มองว่าน่าสนใจ ได้แก่ MAKRO, MAJOR, TKN, SPA
ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP (เน้นโรงกลั่น) 2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 3) ) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ PJW, TTCL, THREL, BLA, IND, MAJOR, WORK, TH, ERW, MINT, CENTEL ,SHR, AAV, SCN, SCI เป็นต้น
ภาพรวมกลยุทธ์: ยังคงมุมมองระมัดระวังสำหรับไตรมาส 2/65 ที่อัพไซต์อาจจะจำกัดจากการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการปรับประมาณการเศรษฐกิจรวมถึงกำไรบจ. ทำให้ภาพรวมจะเป็นการเลือกเก็งกำไรตามแนวรับ ระหว่างรอตลาดและหุ้นรายตัวปรับลงขนถึงจุดซื้อที่ดี //หุ้นแนะนำ: KCE*, SVI*, OR*
แนวรับ: 1,685-1,692 / แนวต้าน : 1,705-1,720 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียปีนี้เหลือ 5.2% –จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 5.3% และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวในปี 64 ซึ่งอยู่ที่ 6.9% โดย ADB ระบุว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย
กกร.ปรับกรอบคาดการณ์ GDP ปี 65 – กกร.ปรับกรอบประมาณการ GDP ไทยปี 65 เป็นขยายตัว 2.5-4% จากเดิม 2.5-4.5% พร้อมกับปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ เป็น 3.5-5.5% จากเดิม 2-3% ส่วนการส่งออก ยังคงเป้าเดิมที่ 3-5%
พาณิชย์ เผย CPI เดือนมี.ค. ขยายตัว 5.73% –พร้อมปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของปี 65 ใหม่เป็นอยู่ที่ 4-5% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 0.7-2.4%
AOT เผยผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิเพิ่ม 66% – เผยว่าภายหลัง ศบค.ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 65 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเฉลี่ยวันละ 11,623 คน เพิ่มขึ้น 65.97%
SCB – สิ้นสุดระยะเวลาตอบรับคำเสนอซื้อเพื่อแลกเป็น SCBX วันที่ 18 เม.ย. สำหรับผู้ที่ประสงค์จะซื้อหุ้น SCB เพื่อแลกหุ้น สามารถซื้อได้วันสุดท้ายถึง 11 เม.ย.เท่านั้น
Opportunity day –7 เม.ย. MVP, ECF, BRR, UBE, SALEE, OISHI, FN / 8 เม.ย. AHC, FVC, MST, NOK
ประเด็นติดตาม: 12 เม.ย. – OPEC Monthly Report, US CPI index เดือน มี.ค. / 14 เม.ย. – US Retail Sales เดือน มี.ค.
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)