Eastern Seaboard สู่ EEC การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจไทยในภูมิภาคตะวันออก ตอน 1
Eastern Seaboard รากฐานการก่อร่างสร้างตัวด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย หลังจากที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถสะท้อนผ่านEEC ได้ในวันนี้
ในการขยายด้านการประกอบกิจกรรมพื่นนฐานทั้งด้านการผลิต จําหน่าย รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศมาตั้งแต่ ปี 2504 ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยประสบความสําเร็จในการดําเนินการขยายฐานการผลิตสินค้า การส่งออก และนําพาประเทศจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ําสู่กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่มีรายได้ปานกลาง
หนึ่งในโครงการที่สําคัญ คือ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Seaboard Development Program : ESB) ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรีจังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นการกระจายกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ออกสู่ภูมิภาคเพอลดความแออัดและการกระจุกตัวของเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง และผลักดันให้เกิดการพัฒนาฐานเศรษฐกิจ และฐานการผลิตอุตสาหกรรมแห่งใหม่ของประเทศ และมุ่งเน้นอุตสาหกรรมผลิตสินค้าสําเร็จรูปเพื่อส่งออกมากขึ้น ซึ่งนําไปสู่แผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค ซึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้มีการดําเนินตามแผนงานมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) สู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) รวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (กพอ.) เพื่อมาทําหน้าที่กํากับดูกําหนดนโยบาย รวมถึงการอนุมัติแผนงานดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการผลักดันแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งผลจากการดําเนินงานการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งการผลักดันการลงทุนให้ประเทศไทยไปสู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ท่าเรือ รถไฟ อ่างเก็บน้ำ ที่มีการพัฒนาควบคู่กันมา จนทําให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สําคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ห้วงเวลาการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
หลังจากที่ได้มีการบรรจุนโยบายการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเพื่อเป็นนโยบายยุทธศาสตร์เชิงรุกในการพัฒนาประเทศ ทางภาครัฐได้มีการดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบของแผนโครงการได้มีการเปิดให้ผู้ลงทุนภาคเอกชนที่สนใจในการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมเข้ามาดําเนินงานในพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกและหน่วยงานภาครัฐ จะทํางานในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนควบคู่กันไป ซึ่งการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ ได้แก่ การพัฒนาท่าเรือน้ำลึก ระบบการขนส่งทางถนน การขนส่งทางราง นิคมอุตสาหกรรม ระบบประปาไฟฟ้า ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งการพัฒนาด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้ดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง (สํานักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนา โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
1. การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2524-2537)
วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาฯ ในระยะที่ 1 นั้นมุ่งในทางการเพิ่มขีดความสามารถ และเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันทางด้านการค้า เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประตูการค้าโลกทางด้านการขนส่งทางเรือแห่งใหม่ และเป็นที่ตั้งฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม ซึ่งสะท้อนผ่านด้วยโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดควบคู่ไปกับการตั้งนิคมอุตสาหกรรมใกล้เขตพื้นที่ท่าเรือเพื่อมุ่งเน้นการลดต้นทุนค่าขนส่งและเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามา
ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ตั้งแต่อุตสาหกรรมเบา เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอไปจนถึงอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมี โดยผลจากการพัฒนาฯ ในระยะที่ 1 นั้น พบว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นมากถึง 3 เท่าและส่งเสริมให้การขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2538-2551)
วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาในระยะที่ 2 นั้น มุ่งเน้นด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งจากในระยะแรกให้มีรูปแบบการขนส่งต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ เพิ่อช่วยรองรับการขยายตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจทั้งในภูมิภาคตะวันออก กรุงเทพมหานคร รวมถึงพื้นที่เขตปริมณฑล ซึ่งการพัฒนาในระยะที่ 2 นี้ได้มีมติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 5 มีนาคม 2539 โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์คือ
การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่อจากการพัฒนาในระยะที่ 1 เช่น โครงการก่อสร้างถนนแนวภาคตะวันออก-ตะวันตก และถนนที่มีการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนทอยู่อาศัยภายในพื้นที่
การกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกให้มีการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง เช่น การขยายการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 2 การพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 รวมทั้งโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเขตชุมชนภายในเขตชลบุรีระยอง และฉะเชิงเทรา
การพัฒนาแหล่งน้ำและระบบจัดสรรน้ำ เพื่อให้เอื้อต่อการตั้งฐานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงการพัฒนาระบบชลประทาน การปรับปรุงแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง ระบบประปา อ่างเก็บน้ำ เพื่อยับยังปัญหาภัยแล้ง และการขาดแคลนน้ำ สําหรับอุปโภคบริโภคในพื้นที่ภาคตะวันออก
การพัฒนาบริการพื้นฐานของสังคม ในด้านการพัฒนาชุมชนควบคู่กับด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาระบบการบริการด้านสาธารณสุข เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของประชากรขากพื้นที่อื่น ๆ เข้ามาทํางานในเขตพื้นที่
จากแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกนั้น คือว่าเป็นก้าวโอกาสสําคัญของประเทศไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยทางเลือกการพัฒนาทางด้านระบบของอุตสาหกรรม แทนที่จะพึ่งพารายได้หลักของประเทศ จากภาคการเกษตรดังเช่นในอดีตและแผนพัฒนาฯ นี้ ถือได้ว่าเป็นก้าวสําคัญของประเทศในเวทีการค้าการลงทุนโลก
ติดตามต่อตอนที่ 2