KKP เผยไตรมาส 1/65 “กำไรสุทธิ” 2.05 ล้าน เพิ่มขึ้น 40.5%
“ธนาคารเกียรตินาคินภัทร” โชว์กำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 65 แตะ 2.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.6% ขานรับรายได้ดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมสินเชื่อขยายตัว และค่าใช้จ่ายสำรองปรับลดลงตามแนวโน้มคุณภาพสินเชื่ออยู่ในระดับบริหารจัดการได้
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2565 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.5% เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2564 และมีกำไรเบ็ดเสร็จรวมจานวน 1,954 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.6% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยหลักจากการเพิ่มขึ้นของผลประกอบการในส่วนของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจการให้สินเชื่อ รวมถึงค่าใช้จ่ายสำรองที่ปรับลดลงตามคุณภาพของสินเชื่อที่ยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ดี
สำหรับไตรมาส 1/2565 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับเพิ่มขึ้น 12.4% จากการที่สินเชื่อของธนาคารมีการขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจากการที่ธนาคารมุ่งเน้นการขยายสินเชื่อไปในประเภทที่ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและมีคุณภาพสินเชื่อที่ดี โดยไตรมาส 1/2565 สินเชื่อเติบโต 6.6% ในส่วนของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ 19.8% โดยเป็นการปรับเพิ่มทั้งในส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิและรายได้อื่นๆ
โดยหลักจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่านายหน้าประกัน รายได้จากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์โดย บล. เกียรตินาคินภัทร ยังคงมีส่วนแบ่งตลาด1 เป็นอันดับที่ 1 อย่างต่อเนื่อง โดยมีส่วนแบ่งตลาดสาหรับไตรมาส 1/2565 ที่ 18.74% นอกจากนี้รายได้จากธุรกิจการจัดการกองทุนปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันตามสินทรัพย์ภายใต้การจัดการที่ปรับเพิ่มขึ้น
ในด้านของค่าใช้จ่าย อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานต่อรายได้สุทธิ 2 สำหรับไตรมาส 1/2565 ลดลงอยู่ที่ 38.4% จากการที่ธนาคารยังคงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางด้านการตั้งสารองธนาคารยังคงรักษาความรอบคอบระมัดระวังในการพิจารณาสารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยธนาคารมีการสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสาหรับไตรมาส 1/2565 เป็นจำนวน 1,066 ล้านบาท ปรับลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามคุณภาพสินเชื่อที่อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ดี โดยอัตราส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาส 1/2565 ปรับลดลงอยู่ที่ 2.93% จากสิ้นปี 2564 ที่อยู่ที่ 3.0% ทั้งนี้ธนาคารมีอัตราส่วนสารองต่อสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ในระดับสูงที่ 181.2%
สำหรับเงินกองทุน ธนาคารยังคงมีสถานะเงินกองทุนอยู่ในระดับที่สูงและเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดย ณ สิ้นไตรมาส 1/2565 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 15.91%
ด้านภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุน
เศรษฐกิจไทยในระหว่าง 2 เดือนแรกของปี 2565 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีก่อน จากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ประกอบกับมาตรการจากัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังคงมีอยู่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถกลับเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างเต็มที่และภาคการท่องเที่ยวยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ดี ในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 1/2565 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวลงตามผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron
สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ในขณะที่ทางด้านการส่งออก จากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของรายได้ของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยส่งผลให้การส่งออกสามารถฟื้นตัวได้ดีมาก โดยใน 2 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าขยายตัว 12.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่จานวนนักท่องเที่ยวโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 286,900 คน จาก 13,200 คนในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ส่วนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2565 ยังคงเป็นไปอย่างเปราะบาง และแตกต่างกันมากในแต่ละอุตสาหกรรมและพื้นที่ เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาได้บ้างในช่วงครึ่งหลังของปีจานวนประมาณ 5.1 ล้านคน ซึ่งยังคงต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤตโควิด-19 ที่ประเทศไทยเคยรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านคนต่อปีอยู่มาก การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในช่วงไตรมาส 1/2565 จะส่งผลให้การฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนช้าลงเล็กน้อย
อย่างไรก็ตามคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนน่าจะสามารถกลับมาเติบโตได้หากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ไม่ยืดเยื้อและไม่มีมาตรการปิดเมืองในวงกว้างเกิดขึ้นอีกครั้ง การส่งออกไทยในปี 2565 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องโดยได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนและอัตราเงินเฟ้อที่อาจสูงมากกว่าที่ประเมินไว้
ในส่วนของภาวะตลาดรถยนต์มีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยสาหรับ 2 เดือนแรกของปี 2565 ยอดขายรถยนต์ขยายตัว 26.1% ซึ่งขยายตัวทั้งในส่วนของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ 31.0% และ 23.9% ตามลาดับ สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจในปี 2565 ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และอุปสงค์ที่เกิดจากการชะลอการซื้อรถยนต์ในปีก่อน
ทางด้านตลาดทุนมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาด เอ็ม เอ ไอ สาหรับไตรมาส 1/2565 เท่ากับ 96,240 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จาก 93,846 ล้านบาทในปี 2564 ด้านดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET index) ณ สิ้นไตรมาส 1/2565 ปิดที่ 1,695.24 จุด ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 2.3% จาก 1,657.62 จุด ณ สิ้นปี 2564