Climate Change เรื่องที่ SME ต้องให้ความสำคัญในการประกอบธุรกิจ (2)
การปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อ Climate Change ควรป็นวาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ ผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการมองว่าเป็นต้นทุนให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ เป็นการขยายตลาดธุรกิจที่มีคุณภาพ
ความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทยเมื่อปี 2010 ที่ธนาคารโลกได้ประเมินความเสียหายไว้สูงถึง 1.44 ล้านบาท ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศสูงถึง 4.6 หมื่นล้าน USD ในปี 2011 ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก USAID ประเมินว่าประเทศไทยมีต้นทุนจาก Climate Change ที่กระทบกับสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม
และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้าน USD ต่อปี จนกว่าจะถึงปี 2030 เป็นงบประมาณที่ภาครัฐและเอกชนจ่ายเพื่อประกันความเสี่ยง เช่นประกันความเสียหายจากน้ำท่วม ประกันความเสียหายพืชผลทางการเกษตร ประกันสุขภาพ ค่าใช้จ่ายที่สูงมากในอนาคตคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับภัยพิบัติ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหาวิธีการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในหลายประเทศภาครัฐมีการเตรียมความพร้อมในการจัดทำสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานดูแลกลุ่มเปราะบางกรณีเกิดภัยพิบัติร้ายแรง ผู้ประกอบธุรกิจต้องให้ความสำคัญในการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อให้ห่วงโซ่อุปทานในการผลิตสะดุดลงน้อยที่สุด ผู้บริโภคพิจารณาอย่างรอบคอบในการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยและทำประกัน
ประเทศไทยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20-25% ภายในปี 2030 โดยตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคขนส่งและพลังงาน ในปี 2020 ให้ลดลงเมื่อเทียบกับที่เคยปล่อยไว้ 7-20% ขณะนี้ไทยสามารถลดการปล่อยก๊าเรือนกระจกได้ 17% และคาดว่าปีหน้า 2023 จะทำให้สำเร็จ 20% ตามเป้าหมาย และตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 0 (Net Zero) ให้ได้ในปี 2065
ผู้ประกอบการ SME จะต้องเผชิญกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้นมีการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น การเก็บภาษีในอัตราที่สูงสำหรับสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่ามาตรฐาน จะมีการออกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ไม่มีการรณรงค์ลดการปล่อยสินค้าเรือนกระจก ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วและส่งผลกระทบกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คือการที่ EU เรียกเก็บค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับสายการบินที่บินเข้า-ออกยุโรป ทำให้ต้องซื้อคาร์บอนเครดิต ใช้ EU emission allowance ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อราคาตั๋วเครื่องบินที่เพิ่มสูงขึ้น
การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการ SME จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นการแสวงหาช่องและโอกาสในทางธุรกิจ เป็นการใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส เช่นการปรับปรุงเทคโนโลยีและกระบวนการผลิต การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และบริการใหม่ ๆ ผมมีโอกาสได้พบกับผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรที่เคยเป็นลูกค้าแบงก์ที่ผมเคยดูแลสินเชื่อซึ่งมีการขายคาร์บอนเครดิตของฟาร์มสุกร 19 ฟาร์ม ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 60 ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคสีเขียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก ผู้ประกอบการที่ทันสมัยจึงมีการพัฒนานวัตกรรมอาหารแช่แข็งเพื่อสุขภาพ ปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่ลดการใช้พลาสติกในประเทศไทยสามารถลดการใช้พลาสติกลงถึง 65% เพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์ได้มากถึง 15% วงการอสังหาริมทรัพย์มีการเปิดตลาดผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่จะเติบโตในอนาคต ธุรกิจอาหารและการเกษตรต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิต การจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ Solar cell และพลังงานชีวมวล (Bio Mass) ให้มากขึ้น
การปรับตัว (Adaptation) เพื่อตอบสนองต่อ Climate Change ควรป็นวาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ ผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการมองว่าเป็นต้นทุนให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ เป็นการขยายตลาดธุรกิจที่มีคุณภาพ ปรับเปลี่ยนจากธุรกิจที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นธุรกิจเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม (regeneration)
เรื่องที่ผมจะนำเสนอต่อไปคือรายงานทางการเงินในอนาคต เครื่องมือทางการเงินสีเขียวที่อาจส่งผลต่อการลงบัญชี สำคัญมากครับ…