คิบบุตซ์-โมชาฟ นิคมการเกษตรที่เติบโตด้วย Innovation ในประเทศอิสราเอล (5)
ถ้าจะนำแนวทางเรื่องนวัตกรรมของอิสราเอลมาปรับใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ในเมืองไทยเพื่อพัฒนาการเกษตรของเราให้ทันสมัย เพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศและช่วยให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
คิบบุตซ์ (Kibbutz) มีลักษณะคล้ายคอมมูนในประเทศสังคมนิยม สมาชิกเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน เป็นชุมชนที่ถือว่าเป็นนิติบุคคล สมาชิกในคิบบุตซ์ได้รับการแบ่งปันผลกำไรตามผลงานที่ทำได้ในแต่ละปี สมาชิกนอกจากจะได้เงินปันผลแล้ว ยังได้รับเงินเดือนด้วยการเข้าเป็นสมาชิกต้องสืบสายเลือดจากคนในคิบบุตซ์ จากรุ่นสู่รุ่น สมาชิกใหม่ต้องมีสมาชิกเก่ารับรอง ชุมชนคิบบุตซ์มีลักษณะคล้ายบริษัท มีผู้จัดการดูแลผลประโยชน์ การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามกฎหมายและเป็นไปเพื่อส่วนรวม
โมชาฟ (Moshav) คือหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร ครอบครัวในโมชาฟสามารถมีที่ดินเพื่อทำการเกษตรเป็นของตนเอง มีสิ่งปลูกสร้างของตนเอง มีเครื่องมือทำการเกษตรเป็นของตนเอง ปกครองตนเองภายใต้ชุมชนแบบประชาธิปไตย มีสมาชิกแต่ละแห่งประมาณ 60 ถึง 200 ครอบครัว โมชาฟมีระบบการจัดการเรื่องการใช้น้ำและที่ดินที่เท่าเทียมกัน โมชาฟให้ความสำคัญในเรื่องการตลาด การรวมตัวกันของสมาชิกจะช่วยสร้างอำนาจต่อรอง ทั้งการกำหนดราคาขายผลผลิตการเกษตรและการจัดซื้อเครืองมือเครื่องใช้ที่มีราคาถูก สมาชิกจะได้รับประโยชน์ในแง่ของการลดต้นทุนเพื่อสร้างผลกำไรให้มากขึ้น
ปัจจุบันคิบบุตซ์ในประเทศอิสราเอลมีจำนวนลดลงเนื่องจากระบบคิบบุตซ์คล้ายระบบสังคมนิยมที่ขาดแรงจูงใจให้คนทำงาน ทำมากหรือน้อยก็ได้เท่ากัน ในขณะที่โมชาฟมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเพราะสมาชิกทำมากได้มาก การรวมตัวกันก็เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันคนหนุ่มสาวในคิบบุตซ์ นิยมออกไปทำงานในเมืองที่สบายกว่าการเกษตร เช่นงานในออฟฟิศ งานด้านคอมพิวเตอร์ ปัจุบันคิบบุตซ์หลายแห่งเปลี่ยนเป็นโมชาฟ คิบบุตซ์ลดลงถึง 25% จำนวนคิบบุตซ์มีจำนวน 267 แห่ง ในขณที่โมชาฟเพิ่มเป็น 448 แห่ง
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของคิบบุตซ์และโมชาฟคือการให้ความสำคัญกับเรื่องนวัตกรรม การมีระบบนิเวศน์ที่เข้มแข็ง คนอิสราเอลกล้าคิดกล้าทำ มีความคิดสร้างสรรค์ให้ความำคัญต่อเครือข่าย ประเทศอิสารเอลเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเท็คโนโลยี่ และนวัตกรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มี Startup จดทะเบียนในระบบกว่า 8,000 ราย เท็คโนโลยี่ทางการเกษตรที่สร้างชื่อเสียงให้กับอิสราเอลมากคือ เทคโนโลยี่การให้น้ำหยดที่เรียกว่า Netafim ซิมชา-เยชานา บลาส (Simcha-Yeshayana Blass) พ่อลูกชาวอิสราเอล
สังเกตุเห็นต้นไม้ต้นหนึ่งที่ดูเหมือนว่าจะเติบโตโดยไม่มีน้ำเลย แต่ความจริงแล้วมีท่อน้ำใต้ดินที่รั่วอยู่ ทำให้ต้นไม้เติบโตจากน้ำที่รั่วออกมา จุดประกายความคิดให้ 2 พ่อลูกคิดค้นระบบชลประทานแบบน้ำหยดสมัยใหม่โดยใช้ท่อพลาสติกเป็นทางลำเลียงน้ำใต้ดิน ต่อมาช่วงกลางทศวรรษ 1960 ได้ร่วมมือกับ Kibbutz Hatzerim ตั้งบริษัท Netafim จดสิทธิบัตรเทคโนโลยี่ที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน
หมู่บ้านหุบกระพง ต้นแบบเขตเศรษฐกิจเพื่อประชาชนฐานราก ที่ผมเคยไปใช้ชีวิตฝึกงานอยู่กับชาวบ้านตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 ที่คณะเศรษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดินแดนที่เดิมไม่สามารถปลูกต้นไม้และพืชพรรณต่าง ๆ ให้งอกเงยได้เพราะ ดินเลวและแล้งน้ำทางรัฐบาลอิสราเอล ทราบข่าว ในฐานะผู้ชำนาญปลูกพืชในที่แห้งแล้ง
จึงขอเข้าร่วมโครงการในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เป็นโครงการ ระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2509 ตั้งชื่อโครงการว่า “โครงการไทย-อิสราเอล เพื่อพัฒนาชนบท(หุบกระกงพง)” ถ้าเราจะนำแนวทางเรื่องนวัตกรรมของอิสราเอลมาปรับใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ในเมืองไทยเพื่อพัฒนาการเกษตรของเราให้ทันสมัย เพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศและช่วยให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ยังมีรายเอียดทีต้องนำเสนออีกครับ….