ผู้นำ ‘เอสซีจี’ ‘จัดระบบ สร้างระเบียบ’ Agile ธุรกิจเพิ่มความคล่องตัว
ที่ผ่านมา หัวใจสำคัญที่ทำให้องค์กร SCG สามารถก้าวข้ามความท้าทายของเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว คือ “พนักงาน” เช่นเดียวกับ “เอสซีจี” ซึ่งมีอุดมการณ์สำคัญข้อหนึ่ง คือ “การเชื่อมั่นในคุณค่าของคน” เพราะเชื่อว่า “พนักงานเป็นทรัพยากรอันมีค่าที่สุด”
‘เอสซีจี (SCG)’ หรือ ‘บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด’ ในฐานะองค์กรขนาดใหญ่ ที่อยู่มานานกว่า 100 ปี มีการปรับองค์กรมาเรื่อยๆ เพื่อให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจธุรกิจในแต่ละช่วง และในภาวะที่เศรษฐกิจรวมทั้งสถานการณ์โลกมีความผันผวนต่อเนื่องเช่นนี้ SCG ยังคงเดินหน้าปรับเปลี่ยนองค์กร ให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และขยายธุรกิจต่อเนื่อง
ที่ผ่านมา หัวใจสำคัญที่ทำให้องค์กร SCG สามารถก้าวข้ามความท้าทายของเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว คือ “พนักงาน” เช่นเดียวกับ “เอสซีจี” ซึ่งมีอุดมการณ์สำคัญข้อหนึ่ง คือ “การเชื่อมั่นในคุณค่าของคน” เพราะเชื่อว่า “พนักงานเป็นทรัพยากรอันมีค่าที่สุด” ที่จะร่วมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้น นอกจากการให้ความสำคัญตั้งแต่การสรรหาบุคลากรมาทำงานแล้ว เอสซีจียังให้ความสำคัญกับการดูแลและพัฒนาบุคลากรเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดผลิตผลนวัตกรรมสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
SCG กำลังสร้างองค์กรแบบใหม่
ล่าสุด นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า SCG กำลังสร้างองค์กรแบบใหม่ ใครโตก็จะ spin-off ออกไป เพื่อให้เกิดความคล่องตัว (Agile) agile อย่าง บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP โตแบบก้าวกระโดด หรือ บมจ.เอสซีจี เดคคอร์ (SCG Decor) ก็มีแผนการเติบโต เขาก็จะ spin-off ออกไป เขาพร้อมที่จะแยกบ้าน แต่ถ้าธุรกิจไหนยังไม่โต ก็อยู่กับแม่ไปก่อน
“ถ้าเขาจะโตเต็มที่ เขาต้องวิ่งได้เต็มที่ในสนามของเขา ธรรมชาติของเขา ส่วนธุรกิจเคมิคอลส์ หรือ SCGC ยังอยู่ในช่วงชะลอตัว แต่ต้องเดินแบบถูกทิศถูกทาง เพราะฉะนั้นก็อยู่กับแม่ไปก่อน แม่มีหน้าที่เติมเต็มเรื่องกระแสเงินสด ก็จะเข้าไช่วย ทำให้ธุรกิจเคมิคอลส์สามารถเดินต่อได้ ไม่ใช่เป็นปัญหา เพียงแต่สปีดอาจจะช้าลงหน่อย” นายธรรมศักดิ์ กล่าว
นายธรรมศักดิ์ กล่าวว่า การสร้างองค์กรที่มี Agility เป็นโครงสร้างองค์กรแบบที่เอสซีจีเรียกว่า มีความคล่องตัว ความคล่องตัวในแต่ละบิซิเนสยูนิตเป็นเรื่องสำคัญ เอสซีจีตั้งใจที่จะครีเอทโครงสร้างที่ทำให้แต่ละบิซิเนสยูนิต มีอำนาจในการดำเนินการสูง เช่น แพคเกจจิ้ง ก็มีอำนาจในการบริหารจัดการของเขา เขาอยากวิ่งด้วยสปีดเท่าไร ให้เขาทำได้ ซึ่งต่างจากในอดีต เวลาที่ธุรกิจเคมิคอลส์ชะลอตัว ธุรกิจอื่นก็จะสโลว์ตาม คราวนี้มันไม่จำเป็น เพราะแพคเกจจิ้งเขายังไปได้ดี ก็ควรจะปล่อยเขาวิ่งไป
“การที่เราปล่อยให้แต่ละธุรกิจวิ่งด้วยสปีดที่แตกต่างกัน มีอำนาจดำเนินการที่ต่างกัน แต่อยู่ในครอบครัวเอสซีจี ผมขอว่าเรื่อง ESG 4 Plus ต้องได้ คือคุณต้องช่วยกันทรานสฟอร์มธุรกิจที่เราทำอยู่ไปสู่ Net Zero ในที่สุด อันนี้คือสิ่งที่เราขอ” ซีอีโอ เอสซีจี ย้ำ
การ spin-off ธุรกิจนั้น สามารถตัดสินใจด้านการเงินการลงทุนได้เอง โดยมีบอร์ดบริหารทำหน้าที่ดูแล อย่าง แพคเกจจิ้ง ซึ่งมีนายธรรมศักดิ์ เป็นรองประธานนั่งอยู่ในบอร์ด เขาก็จะทำหน้าที่ออกเสียง อะไรที่ต้องลงรายละเอียด และอะไรที่น่ากังวล ก็จะมีการซักถาม พร้อมให้แนวความคิด เช่น การลงทุนในแต่ละครั้ง คุณละเอียดรอบคอบพอแล้วหรือยัง ดูได้ครบไหม รวมทั้งบอร์ดอื่นๆ ที่จะเข้าไปทำหน้าที่ให้ความเห็นและกำกับดูแล เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างมั่นคง
รวมถึงเรื่องของ Governance ฝ่ายการเงินจะดูแลเรื่องนโยบายต่างๆ ได้หมด เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เอสซีจีจะไม่มีปัญหาในเรื่องความโปร่งใส การลงทุนที่เหมาะสม และการบริหารด้านทาเลนต์ Senior Manager
นายธรรมศักดิ์ กล่าวว่า ได้มีความพยายามที่จะครีเอท Common Platform ด้วยกัน จะเห็นว่ากลุ่มเอสซีจี เวลาspin-off ออกไป ก็ยังอยู่ในแฟมิลี่เดียวกัน ยังมีเป้าหมายหลักที่เหมือนกัน มีดีเอ็นเอที่เป็น Core Value ที่เหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องข้อตกลงในเรื่องของ ESG 4 Plus ที่มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ - ย้ำร่วมมือ - ภายใต้เชื่อมั่น โปร่งใส ที่ทำร่วมกันอยู่แล้ว
สำหรับแนวคิดการทำงานแบบ Agile คือหนึ่งในแนวคิดการทำงานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ เริ่มให้ความสนใจ เพราะผลลัพธ์คือการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน ทำงานที่รวดเร็วว่องไว เน้นผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าขั้นตอน ด้วยการนำพนักงานจากส่วนงานต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันแบบทีมเล็ก ๆ แล้วทำการ Spin - off ออกมา (Cross-functional Team)
แนวคิดการทำงานแบบ Agile เป็นที่นิยมอย่างมากในบริษัทด้านเทคโนโลยีหรือบริษัท Startup ที่เน้นการทำงานแบบคล่องตัวสูง หรือมีโปรเจกต์ย่อย ๆ เข้ามาเยอะ ไม่ต้องเน้นการตรวจสอบหลายขั้นตอน เน้นผลลัพธ์ที่ไวและมีประสิทธิภาพ จริง ๆ
ส่วนการ Agile ของกลุ่ม SCG ในครั้งนี้ นายธรรมศักดิ์ กล่าวว่า ดำเนินการมาแล้วประมาณ 2 ปี แบบค่อยๆ ทำ ซึ่งมันจะออกดอกออกผลมากขึ้นเรื่อยๆ จะชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้องค์กรในภาพรวมแข็งแกร่งขึ้น