Brand Transformation เริ่มต้นอย่างไร ?

Brand Transformation เริ่มต้นอย่างไร ?

สวัสดีครับ สำหรับตอนนี้ผมอยากชวนตั้งคำถามที่คิดว่าจ่าจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของท่านครับว่า 1. ถึงเวลาที่แบรนด์ของเราต้องทรานส์ฟอร์มแล้วหรือยัง ? 2. ทำไมต้องทรานส์ฟอร์มแบรนด์ ? 3. ทรานส์ฟอร์มแบรนด์แล้วได้อะไร ?

การเฉลยคำตอบขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และความเข้าใจของระบบเศรษฐกิจของทุกๆ ท่าน ตอนนี้โลกเราเปลี่ยนจาก Industry economy ไปสู่ Value Economy มาสักระยะแล้วครับ

การวิ่งตามเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยที่เราไม่เข้าใจว่าระบบเศรษฐกิจเชิงคุณค่าคืออะไร ? เราจะไม่สามารถนำเทคโนโลยีต่างๆมาพัฒนาแบรนด์ตนเองได้อย่างถูกจุดและเราก็จะเป็นได้แค่คนที่ทำตามกระแสโดยขาดความเป็นตัวของเราเอง

ยุคนี้สิ่งที่ขาดแคลนคือพื้นที่ในใจลูกค้า ด้วยยุคสมัยที่สื่อเปิดกว้างและถาโถมมาจำนวนมากในแต่ละวัน เราไม่ได้ขาดเทคโนโลยี ไม่ได้ขาดดาต้า แต่การที่ธุรกิจท่านจะประสบความสำเร็จแบรนด์ต่างๆ จึงจำเป็นต้องแย่งพื้นที่ในใจลูกค้าซึ่งขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วอะไรคือหัวใจสำคัญของการครอบครองจิตใจลูกค้า นั่นคือ ลูกค้าจะแบ่งพื้นที่ให้แบรนด์ที่ทรงคุณค่าสามารถเกาะกุมหัวใจเขาเหล่านั้นได้เท่านั้น !!

ดังนั้น ยุคนี้จึงควรทบทวนวิสัยทัศน์ สินค้า บริการ และแผนธุรกิจเสียใหม่ ซึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยกลายไปเป็นโอกาสนั้นถึงเวลาที่ท่านต้องคือถึง Brand Transforamtion Strategy

การทรานส์ฟอร์มให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีความชัดเจนในทิศทางการบริหาร จะเริ่มต้นด้วยกระบวนการวิจัยซึ่งในประสบการณ์ของทาง Baramizi ทำมาแล้วได้กลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มที่ดี คือ การวิจัยด้วยเครื่องมือที่ชื่อว่า 4 Universe Program Analysis เรามาทำความรู้จักเครื่องมือตัวนี้กัน

กระดุมเม็ดแรกของการทรานส์ฟอร์มแบรนด์ให้สำเร็จด้วยโมเดล 4 Universe Program Analysisวิธีการทรานส์ฟอร์มแบรนด์ หรือ การสร้างสรรค์แบรนด์ที่มีประสิทธิภาพนั้น เราได้สรุปเป็นทฤษฎีที่เรียบง่าย เข้าใจจากกฎของธรรมชาติ

เราเรียกว่า ทฤษฎีต้นไม้ซึ่งเปรียบเทียบการสร้างแบรนด์เหมือนการปลูกต้นไม้ ที่มีกระบวนการตั้งแต่ราก คือ กระบวนการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลลำต้น คือ กระบวนการพัฒนาแนวความคิดด้านกลยุทธ์กิ่งก้านใบ คือ กระบวนการที่ให้ดอกผลกับเจ้าของแบรนด์การวิเคราะห์เพื่อค้นหากลยุทธ์แบรนด์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ

เราต้องสามารถวิเคราะห์จากข้อมูลที่มาจากองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 

1. Corporate Brand Audit & Analysis ในการวิเคราะห์มุมมองแรกซึ่สำคัญมากกว่าการมองแค่จุดแข็งแต่ต้องมองถึงคุณค่าที่องค์กรนั้นๆมีอยู่และต้องต่อยอดการทรานส์ฟอร์มแบรนด์จากคุณค่าหลักนี้

การมองถึงคุณค่าของตัวเราเองนั้นเราต้องวิเคราะห์จุดแข็ง ,จุดเด่น, ความสามารถหลักของเราและดูไปถึงสิ่งที่เราหลงใหล ( Passion ) ย้ำนะครับเราต้องดูทั้งหมดไปใช่แค่จุดแข็งอย่างเดียว แต่ต้องมองให้ครบตามหัวข้อข้างต้น แล้วสกัดออกมาเป็นคุณค่าของเราเองที่เราทำได้ดีกว่าคู่แข่งในตลาด

 

2. Mege Trend Analysis การวิเคราะห์ในปัจจัยถัดมา คือ การวิเคราะห์ด้านเมกะเทรนด์ โดยเฉพาะธุรกิจหรือแบรนด์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ จำเป็นต้องทรานส์ฟอร์มเพื่อหา Product New S Curve ใหม่ เพื่อสร้างรายได้ใหม่ในอนาคต

เราจึงต้องค้นหาว่าโอกาสของเราอยู่ตรงไหน ซึ่งการวิเคราะห์ในปัจจัยนี้เราจะมองไปยังอนาคตที่ไกลมากยิ่งขึ้น โดยเราต้องดูว่าแบรนด์เราสามารถขยายไปยังอุตสาหกรรมใหม่ๆที่เป็นเมกะเทรนด์ของโลกอะไรได้อีกบ้าง ซึ่งกลยุทธ์ที่เรากำหนดสิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปนั้นจะต้องมีส่วนผสมมาจากเมกะเทรนด์เหล่านี้ด้วย

3. Consumer Research การวิเคราะห์ในปัจจัยนี้ซึ่งเป็นปัจจัยด้านผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนยุค Gen ใหม่ๆมีกำลังซื้อมากขึ้น เราต้องวิเคราะห์ดูว่าลูกค้าของเรามีโอกาสจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นกลุ่ม gen ไหน และกลุ่มนั้นเขามีความต้องการอะไรมีอะไรที่เป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

ในปัจจัยข้อนี้ทำให้เราสามารถนำไปสกัดการวางแผนการออกแบบและพัฒนาประสบการณ์แบรนด์ให้สอดคล้องกับกำลังซื้อที่มากจาก Gen ใหม่ๆ ที่จะตามมา ในอนาคต ทั้งนี้การเข้าใจความต้องการของคน Gen ใหม่ๆนั้นทำให้แบรนด์เราปรับตัวให้ดูเข้ายุคเข้าสมัยได้ตลอดเวลา

4. Competitors Analysis การวิเคราะห์คู่แข่งที่ต้องคำนึงมีมากกว่าแค่คู่แข่งทางตรง คู่แข่งทางอ้อมก็ต้องเฝ้าระวังและองค์กรต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การวิเคราะห์คู่แข่งนั้นเป็นปัจจัยที่เราต้องพิจารณาให้ชัดว่าแบรนด์เรามีโอกาสที่จะชนกับใครในตลาดและคู่แข่งนั้นจะมาแย่งแชร์ทางการตลาดเราไปได้

ใครจะคิดล่ะครับว่าคู่แข่งของโซนี่ จะกลายเป็นบริษัทอย่าง Apple ซึ่งนั่นก็คือสงครามของแบรนด์ iPod ที่ทีมงาน Apple ได้วิเคราะห์เจ้าเครื่องฟังเพลงอย่างโซนี่วอร์คแมนได้อย่างทะลุปรุโปร่ง โดยมองตลาดไปที่คนฟังเพลงเหมือนกันทั้งๆที่ช่วงแรก

ทุกคนต่างมองว่า Apple คือ บริษัทคอมพิวเตอร์ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สร้างความเสียหายแบบยับเยินให้กับโซนี่ที่มองไม่ออกว่าใครกันแน่คือคู่แข่งตัวจริงของเขา ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผมให้เทคนิคไว้ว่า อย่ามองแค่แบรนด์ระดับสินค้าต้องวิเคราะห์ไปถึงแบรนด์ระดับองค์กรด้วย จึงจะทำให้การวิเคราะห์เรานำไปสู่การออกแบบกลยุทธ์การทรานส์ฟอร์มได้อย่างรัดกุมากที่สุดต่อไป