ปรับขึ้น ซื้อเก็งกำไร KBANK MINT ERW (15 ส.ค. 65)
คาดดัชนีฯ ปรับขึ้น แนวต้าน 1,630 / 1,640 จุด แนวรับ 1,611 / 1,605 จุด แนะนำ ซื้อเก็งกำไร KBANK MINT ERW ทางเทคนิค ยังคงเป็นทิศทางขาขึ้น โดยมีแนวต้านหลักที่ 1,650 จุด และ 1,680 จุด ตามลำดับ
โมเมนตัมบวก คือ การฟื้นตัวต่อเนื่องของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ หลังสัญญาณเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณฟื้นตัว ปัจจัยที่ต้องติดตามและมีผลบวกต่อตลาดวันนี้ จับตาการประกาศการเติบโตของเศรษฐกิจไทย 2Q22E GDP โดยสภาพัฒน์ และการทยอยประกาศผลประกอบการของ บจ. มีโอกาสออกมาสูงกว่าคาดการณ์และถูกปรับประมาณการสูงขึ้น (Positive GDP / Earnings Revision); ญี่ปุ่น รายงาน 2Q22E GDP (คาดปรับตัวสูงขึ้น QoQ เป็น +0.6% QoQ Vs 1Q22 -0.2% QoQ); China รายงานยอดค้าปลีก, ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนเดือน ก.ค.
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ
+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC TCAP JMT CENTEL BH BEM AOT EA CPN MINT KTB BDMS MAJOR (ซื้อ JMART) พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH AJ DOD KSL RS SYNEX TWPC SAT PORT TK (ซื้อ TMT)
+ หุ้นที่เคยได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นของยิลด์พันธบัตร: MTC SINGER THANI TIDLOR
+ หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ: CENTEL ERW MINT BA AAV CPN
+ กลุ่มโรงไฟฟ้าได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นค่า FT และราคาน้ำมันที่ลดลง: BGRIM GPSC GULF
+ Daily Recommendations: KBANK (รับผลบวกจากการเข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Standard Index) MINT ERW (รับประโยชน์จากการตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ 7M22 สูงถึง 3.15 ล้านคน อาจทำให้ธปท. ปรับเพิ่มประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติ จาก 6 ล้านคน เป็น 9-10 ล้านคน)
ปัจจัยบวก
+ Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทย และ เปิด Long SET 50 Index Future ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ด้วยปริมาณสูงถึง +14,431.43 ล้านบาท และ +23,940 สัญญา ส่งผลสะสม 4 สัปดาห์ +23,821.66 ล้านบาท และ Long สะสม +148,392 สัญญา และเป็นปัจจัยหลักต่อการแรลลี่ขึ้นของ SET Index +5.8% และ SET50 +4.75% รวมถึงทำให้ค่าเงินบาท/USD แข็งค่า 3.9% (Let Profit Run จนกว่านักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ตขาย)
+ MSCI: รายงานปรับปรุงรายไตรมาส ณ วันศุกร์ที่ 12 ส.ค. พบว่า เพิ่ม KBANK ในการคำนวณดัชนี MSCI Global Standard Index โดยมีผลต่อราคาปิดวันที่ 31 ส.ค. (ตามคาด) แต่ไม่มีการถอด BAM ออกจากการคำนวณ ตามที่ตลาดกังวล (ดีกว่าคาด)
ประเด็นสำคัญ
- Japan: รายงาน 2Q22E GDP Growth คาด +0.6% QoQ (Vs 1Q22 GDP -0.2% QoQ)
- Thailand: รายงาน 2Q22E GDP Growth คาด +0.9% QoQ, +3.1% YoY (Vs 1Q22 +1.1% QoQ, +2.2% YoY) และสภาพัฒน์มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้สูงขึ้นจากเดิม 3%
- China: รายงาน Retail Sales เดือน ก.ค. คาด +5% YoY (Vs เดือน มิ.ย. +3.1% YoY) Industrial Production เดือน ก.ค. คาด +4.6% YoY (Vs เดือน มิ.ย. +3.9% YoY) Fixed Asset Investment (YTD) เดือน ก.ค. คาด +6.2% YoY (Vs เดือน มิ.ย. +6.1% YoY) House Price Index เดือน ก.ค. คาด -0.8% YoY (Vs เดือน มิ.ย. -0.5% YoY)
Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา
+ ตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดบวก: ตลาดหุ้นไทยผันผวน Up & Down ในกรอบ 1,612.61-1,626.28 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,622.26 จุด +5.05 จุด วอลุ่มซื้อขาย 7.82 หมื่นล้านบาท นำบวกโดยกลุ่มการแพทย์ +3.43% กลุ่มบรรจุภัณฑ์ +2.14% กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ +1.40% กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ +0.75% หุ้นบวก >4% BH BDMS TAKUNI BE8 TC VPO CHEWA KWI SICT หุ้นลบ >4% KEX DITTO FSMART ASN AMC SPACK AMR KCC PERM CPI UPOIC
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปปิดบวก: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 DJIA +1.27% S&P500 +1.73% NASDAQ +2.09% โดยทุก 11 กลุ่มอุตสาหกรรมปรับสูงขึ้น นำโดยกลุ่มธนาคาร +1.4% รับข่าวดีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน ส.ค. ที่สำรวจโดยม.มิชิแกน สูงกว่าคาดการณ์ เป็น 55.1 (Vs คาด 52.5 และเดือน ก.ค. 51.5) ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อ 1 ปีข้างหน้า ลดลงมาต่ำสุดรอบ 6 เดือน ที่ 5% (Vs เดือน ก.ค. 5.2%) อย่างไรก็ดี ประธานเฟดหลายท่าน Fed Chicago Evans และ Fed San Francisco Daly ส่งสัญญาณเฟดจำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินไป (ทั้งสัปดาห์ DJIA +2.92% WoW กลับมาปิดบวกเป็นสัปดาห์แรก ส่วน S&P500 +3.26% WoW Nasdaq +3.08% WoW ปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก DAX +0.74% CAC40 +0.14% FTSE +0.47% จากรายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาดการณ์ นำขึ้นโดยกลุ่ม Health Care (Glazo Smity, Roche) (ทั้งสัปดาห์ DAX +1.63% WoW CAC40 +1.26% WoW FTSE +0.82% WoW)
+/- ราคาน้ำมันดิบปิดลบ แต่ทองคำปิดบวก: WTI -USD2.25 ปิดที่ USD92.09/บาร์เรล Brent -USD1.45 ปิดที่ USD98.15/บาร์เรล หลังสำนักข่าวทางการของอิหร่าน IRNA เผยอิหร่านพร้อมยอบรับข้อเสนอจาก EU ต่อโครงการนิวเคลียร์ปี 2015 ซึ่งเปิดโอกาสต่อการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่าน 1-1.5 ล้านบาร์เรล/วัน ในอนาคต และกลุ่มโอเปคปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบโลกเป็น 100 จากเดิม 100.3 ล้านบาร์เรล/วัน จำกผลกระทบ COVID-19 และความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ ส่วนทองคำปิดบวก +USD8.30 ปิดที่ USD1,815.50/ออนซ์ จากยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับลดลง (ทั้งสัปดาห์ ตลาดน้ำมันกลับมาปิดบวก WTI +3.46% WoW Brent +3.4% WoW ทองคำ +1.36% WoW ปรับขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน)
ประเด็นสำคัญ
+ USA: ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.1 ในเดือน ส.ค. โดยสูงกว่า Consensus คาดที่ระดับ 52.5 จากระดับ 51.5 ในเดือน ก.ค. ขณะเดียวกันผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 5.0% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า โดยต่ำกว่าระดับ 5.2% ที่มีการสำรวจในเดือนที่แล้ว และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน สำหรับในช่วง 5 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 3.0% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 2.9% ที่มีการสำรวจในเดือนที่แล้ว
+ USA: สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ อนุมัติร่างกฎหมายการใช้จ่ายด้านนโยบายภาษี การดูแลสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือกฎหมายลดเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act) ในวันศุกร์ (12 ส.ค.) หลังจากที่วุฒิสภาได้อนุมัติไปก่อนหน้านี้ และร่างกฎหมายดังกล่าวได้ถูกส่งต่อให้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เพื่อลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วยเงินงบประมาณลงทุน 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มาตรการที่จะทำให้ยาตามใบสั่งแพทย์มีราคาถูกลง และการเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% สำหรับบริษัทส่วนใหญ่ที่ทำรายได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/ปี ซึ่งจะสร้างรายได้ใหม่มากกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- OPEC: กลุ่มโอเปคออกรายงานปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์น้ำมันในปีนี้ คาดเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว +3.1% YoY ลดลงจาก +3.5% ในตัวเลขคาดการณ์ในเดือน พ.ค. รายงานระบุว่าเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญความเสี่ยงจากความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน การแพร่ระบาดของ COVID-19 เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น หนี้สาธารณะในหลายประเทศ รวมทั้งการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางจากสหรัฐฯ อังกฤษ ยูโรโซน และญี่ปุ่น นอกจากนี้ โอเปคยังได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกสู่ระดับ 100 ล้านบาร์เรล/วัน จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 100.3 ล้านบาร์เรล/วัน โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
- Iran: สำนักข่าว IRNA ของทางการอิหร่าน รายงานโดยอ้างอิงเจ้าหน้าที่อิหร่านระบุว่า อิหร่านพร้อมยอมรับข้อเสนอจากสหภาพยุโรป (EU) ในการรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 หากข้อเสนอดังกล่าวสามารถให้การค้ำประกันข้อเรียกร้องของอิหร่าน โดยให้มีการรับรองว่าผู้ที่จะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในอนาคตจะไม่สามารถยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์ หากอิหร่านและรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันให้การยอมรับข้อตกลงดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยจากการที่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศฉีกข้อตกลงนิวเคลียร์ในปี 2018 และมีการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน
- UK: เศรษฐกิจอังกฤษ 2Q22 GDP เติบโตติดลบ -0.1% QoQ ลดลงเมื่อเทียบกับ 1Q22 ที่เติบโต +0.8% QoQ แต่ดีกว่าคาดการณ์ของตลาดคาดที่คาด -0.3% QoQ เนื่องจากรายได้ลดลง จากผลกระทบเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่วน GDP รายเดือน พบว่าเดือน มิ.ย. หดตัว -0.6% MoM (ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ -1.3% MoM และหดตัวสูงขึ้นเทียบกับเดือน พ.ค. -0.4% MoM) ทั้งนี้ การหดตัวดังกล่าวเร็วกว่าคำดการณ์ของ BoE ที่คาดว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะเข้าสู่ภาวะ Recession ตั้งแต่ 4Q22E GDP และเงินเฟ้อคาดสูงสุดที่ 13% YoY ในเดือน ต.ค.
แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)
หุ้นแนะนำรายสัปดาห์ : ERW AOT CPN
หุ้นแนะนำเก็งกำไร: KBANK MINT ERW
Derivatives: แนะรอเปิด Long S50U22 เก็งกำไร หลัง 10 โมงครึ่ง