Fed เดินหน้าสกัดเงินเฟ้อ (29 สิงหาคม 2565)
ตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์ SET บวก 1 จุด ดัชนีแกว่งตัวกรอบแคบตลอดทั้งวัน เนื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งเทขายทำกำไรในหุ้นที่ราคาปรับขึ้นร้อนแรง อาทิ กลุ่มโรงพยาบาลและกลุ่มพลังงาน
ขณะที่นักลงทุนอีกกลุ่มเทขายเพื่อลดความเสี่ยงเพราะต้องการรอดูความชัดเจนกับแนวนโยบายการเงินของเฟดจากการประชุมประจำปีที่เมือง Jackson hole
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้
ประเมิน SET ปรับตัวลงแนวรับ 1,620 - 1,630 จุด หลัง FED ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเพื่อสกัดเงินเฟ้อซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจและตลาดแรงงานชะลอลง ทั้งนี้ Fedwatch ให้น้ำหนักขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุม 20 – 21 ก.ย. อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีจะสลับรีบาวนด์ขึ้นได้จากกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันดิบทรงตัวระดับสูง รวมถึงแรงซื้อหุ้นที่มีข่าวเฉพาะตัว
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
KBANK BBL SCB KTB TTB BLA อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น
PTTEP TOP IVL SPRC BANPU ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้น + ถ่านหินทรงตัวระดับสูง
BDMS BH AOT AAV BA CENTEL ERW MINT CPN AMATA SPA อานิสงส์การเปิดเมือง
หุ้นแนะนำวันนี้
ADVANC (ปิด 192.5 ซื้อ/เป้า 248 บาท) ผลประกอบการยังแข็งแกร่ง Net add มีสัญญาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากโดยเฉพาะกลุ่ม Prepaid ซึ่งได้ผลบวกจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นราคาหุ้นที่ลดลงจึงเป็นโอกาสเข้าซื้อ
ASIAN (ปิด 17.40 ซื้อ/เป้า 23 บาท) ได้ประโยชน์ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า อีกทั้งช่วงนี้ยังเป็น High season ของกลุ่มส่งออก คาดหนุนงบ 3Q22 ดีต่อเนื่อง, ปลายปีเตรียม IPO บริษัทลูกในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (AAI) เข้าตลาดฯ
บทวิเคราะห์วันนี้
CBG, WHAIR, Thailand Strategy
ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) ดาวโจนส์ร่วงแรง ประธานเฟดย้ำเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่เป้าหมาย: ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ลดลง 1,008 จุด (-3.03%) ปิดที่ระดับ 32,283 จุด หลังจากเจอโรมพาวเวลขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่งานประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสันโฮล ระบุพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% แม้การดำเนินการดังกล่าวจะเสี่ยงทำให้เกิด ศก. ถดถอย
(-) ส่งออกไทยยังขยายตัวแต่เติบโตในอัตราที่ลดลง: ก.พาณิชย์รายงานยอดส่งออกของไทยเดือน ส.ค. ขยายตัว 4.3%yoy แต่ลดลงจากเดือน มิ.ย.ที่ขยายตัว 11.9%yoy และต่ำกว่าที่ Consensus คาดว่าจะขยายตัว 11.15%yoy เป็นผลจากหมวดสินค้าเกษตรหดตัว 0.3%yoy เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และสินค้าส่งออกไปจีนลดลง 20.6%yoy จากการออกมาตรการคุมโควิด-19 ที่เข้มงวด
(+/-) ติดตามดัชนี PMI และ Nonfarm payrolls วัดความแข็งแกร่งของ ศก. และตลาดแรงงาน: สหรัฐและกลุ่มประเทศ ศก. หลักจะรายงานดัชนี PMI การผลิตและบริการออกมาอีกครั้งในสัปดาห์นี้หากตัวเลขยังอ่อนแอจะทำให้นักลงทุนวิตกกังวลถึง ศก. ถดถอยมากขึ้น ขณะที่ปลายสัปดาห์สหรัฐจะรายตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร(Nonfarm payrolls) ซึ่งจะบ่งชี้ถืงความแข็งแกร่งในตลาดแรงงานหากตัวเลขยังดีตลาดจะตีความเป็นลบเพราะตัวปัจจัยนี้จะหนุนให้เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย