“ทีทีบี” ชี้คนไทยหนี้ท่วม รวมพลังเทค-ดาต้า ยกระดับชีวิตทางการเงินดีขึ้น
ธนาคารทหารไทยธนชาต เปิดเวที Financial Well-being Hackathon for Thais : Mission Announcement Day ประกาศภารกิจเพื่อยกระดับชีวิตทางการเงินของคนไทยให้ดีขึ้น ครั้งแรกของการรวมตัวระหว่างผู้นำด้านการเงิน และ Tech & Data ยกระดับชีวิตทางการเงินให้แก่คนไทย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเวที Financial Well-being Hackathon for Thais : Mission Announcement Day ประกาศภารกิจเพื่อยกระดับชีวิตทางการเงินของคนไทยให้ดีขึ้น ครั้งแรกของการรวมตัวระหว่างผู้นำด้านการเงิน และ Tech & Data มาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและยกระดับชีวิตทางการเงินให้แก่คนไทย โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
“ปิติ ตัณฑเกษม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า “ชีวิตหลังโควิดที่ไม่เหมือนเดิม”ยิ่งทำให้ การชีวิตทางการเงินที่ดี หรือ “Financial well-being” ของคนไทย กลับมีความท้าทายมากขึ้นแบบทวีคูณ
สำหรับ "ปัญหาทางการเงินของคนไทย" ที่เกิดขึ้น ธนาคารพบว่า Gen Z ติดหนี้เพิ่ม 200% , ลูกจ้างแรงงาน สัดส่วน 69% ติดหนี้นอกระบบ , Gen Y 1 ใน 5 ไม่สามารถชำระหนี้ได้ , เกษตรกร สัดส่วน 90% เคยเข้าร่วมโครงการพักหนี้ ,วัยเกษียณ สัดส่วน75% ไม่มีเงินใช้ในวัยหลังเกษียณ และมนุษย์เงินเดือน สัดส่วน 80% มีเงินออมไม่พอใช้
เมื่อเงินเฟ้อและค่าครองชีพยิ่งสูงขึ้น การมีชีวิตทางการเงินที่ดี ยิ่งยากลำบาก เราพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว “มุ่งเป็นธนาคารที่นำดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราในทุกกลุ่ม มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” ภายใต้ 4 เสาหลักของทีทีบี คือ 1. ฉลาดออมฉลาดใช้ 2. รอบรู้เรื่องกู้ยืม 3.ลงทุนเพื่อนาคต 4มีความคุ้มครองที่อุ่นใจ
พร้อมกันนี้ ผูู้เชี่ยญด้านการเงิน และ Tech & DATA มาร่วมพูดคุย ในหัวข้อ “เราจะช่วยกัน.. ยกระดับชีวิตทางการเงิน ของคนไทยโดยใช้Tech & Data เป็นเครื่องมือได้อย่างไร”
"ฐากร ปิยะพันธ์" ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) กล่าวว่า เราเห็นปัญหาทางการเงินของสังคมไทย ภายใต้ 4 เสาหลักของทีทีบี ดังนี้ กลุ่ม GEN Y-Z 87% ไม่มีการวางแผนทางการเงิน ,ยอดหนี้โต 200% 1ใน 5 มีความเสี่ยงชำระหนี้ไม่ไหว 50% ไม่มีเงินลงทุน เนื่องจากไม่มีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย และขาดการวางแผนเรื่องความคุ้มครองความเสี่ยง
กลุ่มมนุษย์เงินเดือน 80% มีเงินออมไม่พอใช้ ,50% ไม่มีเงินลงทุน เนื่องจากไม่มีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย และขาดการวางแผนเรื่องความคุ้มครองความเสี่ยง ,กลุ่มวัยเกษียณ 55% พึ่งพารายได้จากผู้อื่น , 20% จ่ายหนี้บ้านไม่ไหว, 75% ไม่มีเงินใช้วัยหลังเกษียณ และขาดการวางแผนเรื่องความคุ้มครองความเสี่ยง
กลุ่มเอสเอ็มอี ไม่มีความรู้ในการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มรายได้ ,เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินเพียง 20% และขาดการคุ้มครองความเสี่ยงของพนักงานและการทำธุรกิจ และ กลุ่มเกษตรกรและแรงงาน ภาวะหนี้สูงกว่ารายได้สุทธิ , 92%เคยเข้าร่วมโครงการพักหนี้
“ธิษณา ธิติศักดิ์สกุล” ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ โนบูโร กล่าวว่า ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เราพบว่า ปัญหาการเงินของพนักงานระดับปฏิบัติการ คือ “เงินเดือนมีไวจ่ายหนี้ โอที มีไว้กินอยู่” เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ขึ้นต้องหันไปพึ่งการกู้หนี้ยืมสิน ทำให้เป็นปัญหาการพึ่งพิงหนี้ไม่รู้จบ หรือ “ภาวะการพึ่งพิงหนี้ ติดกับดักหนี้ “ ปัญหาพึ่งพิงหนี้ เพราะขาดการจัดการเงิน ถูกพึ่งพิงโดนครอบครัวและใช้เงินผิดวิธี
โดยพบว่า 3 ต้นเหตุของหนี้แรงงานไทย ได้แก่ 1.หนี้จากความรัก เช่น หนี้อุปภัมถ์ครอบครัว 2.หนี้จากความโลภ เช่น ความฟุ่มเฟือย อยากได้อยากมี 3. หนี้จากความไม่รู้ เช่น การลงทุนเสี่ยง โดยในช่วงโควิด คนไทยเป็นหนี้มากขึ้น โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ
"ปฐมา จันทรักษ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอคเซนเซอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า 5 เทรนด์สำคัญ ของ"ดิจิทัลทรานฟอร์มเมชั่น" ถูกดึงเข้ามาแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัญหาทางการเงินและความเป็นอยู่เพื่อมีชีวิตทางการเงินที่ดี คือ
1. ทุกคนต้องการ SUPPER APP 2.โซลูชั่นเกี่ยวกับ ESG เป็นเทรนด์อนาคต 3. ทุกความคิด เป็นสิ่งที่ต้องนำมาประยุกต์ใช้รวมกับเทคฯ 4 .นำดิจิทัลมาใช้แก้ปัญหาได้อย่างเข้าใจและรวดเร็วขึ้น 5. การชำระเงินต้องทำได้ทุกทีทุกเวลาและทำได้อย่างไร