ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 "บัตรคนจน" ต้องเตรียมอะไรบ้าง ?
ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 "บัตรคนจน" รอบใหม่ ผ่านเว็บไซต์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th และระบบออฟไลน์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง ? เช็กที่นี่
ความคืบหน้า ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ "บัตรคนจน 2565" รอบใหม่ กระทรวงการคลัง ได้มีมติเห็นชอบการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 หรือ "บัตรคนจน" ระยะที่ 5 วงเงิน 5,336.8304 ล้านบาท
ระยะเวลา
ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน – 19 ตุลาคม 2565 รวมเป็นเวลา 45 วัน
ระยะเวลาโครงการ
- วันที่ 5 กันยายน – 19 ตุลาคม 2565 เปิดลงทะเบียน
- เดือนกันยายน 2565 ประกาศผลการลงทะเบียน และผลการตรวจสอบความสัมพันธ์กับกรมการปกครอง (ทุกวันศุกร์)
- เดือนมกราคม 2566 ประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติ
- เดือนมกราคม 2566 ยืนยันตัวตน สำหรับผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ
- กระทรวงการคลังจะประกาศให้ทราบต่อไป ใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรประชาชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ช่องทาง ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ "บัตรคนจน 2565 ดังต่อไปนี้
- ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th (คลิกที่นี่) หรือ http://welfare.mof.go.th (คลิกที่นี่)
กรณีผู้ลงทะเบียนไม่มีครอบครัว
- ไม่ต้องยื่นเอกสารที่หน่วยรับลงทะเบียน โดยให้กรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
- โปรดตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนต้องแสดงข้อความ "กระทรวงการคลังได้รับข้อมูลการลงทะเบียนของท่านครบถ้วนแล้ว"
กรณีผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว
- ต้องนำเอกสารไปยื่นที่หน่วยรับลงทะเบียน (เลือกหน่วยรับลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์)
- แบบฟอร์มลงทะเบียน
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (คู่สมรส) *พร้อมลงลายมือชื่อ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (บุตร) หรือสำเนาสูติบัตร *พร้อมลงลายมือชื่อ
ทั้งนี้ กรณีที่คู่สมรส และบุตรของผู้ลงทะเบียน เดินทางมาแสดงตัวที่หน่วยรับลงทะเบียน พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ "บัตรคนจน 2565" ณ หน่วยงานรับลงทะเบียนในพื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่
- สำนักงานคลังจังหวัด
- ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ
- สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร
- สำนักงานเมืองพัทยา
- สาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- สาขาธนาคารออมสิน
- สาขาธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ)
ทั้งนี้ ช่วงเวลาในการเปิดรับลงทะเบียน หากตรงกับวันเสาร์ - วันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานรับลงทะเบียนแต่ละแห่ง
กรณีผู้ลงทะเบียนไม่มีครอบครัว
- แบบฟอร์มลงทะเบียน
- บัตรประจำตัวประชาชน
กรณีผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว
- แบบฟอร์มลงทะเบียน
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (คู่สมรส) *พร้อมลงลายมือชื่อ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (บุตร) หรือสำเนาสูติบัตร *พร้อมลงลายมือชื่อ
ทั้งนี้ กรณีที่คู่สมรส และบุตรของผู้ลงทะเบียน เดินทางมาแสดงตัวที่หน่วยรับลงทะเบียน พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
นอกจากนี้ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเองสามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาลงทะเบียนแทนได้ โดยใช้เอกสาร ดังนี้
- แบบฟอร์มลงทะเบียน
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน) *พร้อมลงลายมือชื่อ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (คู่สมรส) *พร้อมลงลายมือชื่อ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (บุตร) หรือสำเนาสูติบัตร *พร้อมลงลายมือชื่อ
เอกสารสำหรับการมอบอำนาจ
- หนังสือมอบอำนาจ (ดาวน์โหลดได้ที่นี่)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ได้รับมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) หรือ ใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
ที่มา : กระทรวงการคลัง