บทบาทของ Data dependent กับเศรษฐกิจและองค์กร
ตลอดหลายเดือนมานี้ เศรษฐกิจโลกถูกกำกับขับเคลื่อนไปตามนโนบายการเงินที่เข้มข้นเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ คือ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ และบ่อยครั้งเราจะได้ยินการกล่าวของประธาน Fed ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อๆ จะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีผลเกี่ยวเนื่องกัน หรือ Data dependent
Data dependent สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินและเศรษฐกิจ มีความสำคัญมากขึ้นในช่วงหลายที่ผ่านมา โดยเฉพาะจากช่วงสถานการณ์เกิดโควิด-19 ที่กระทบเศรษฐกิจอย่างหนักและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน Data dependent ที่ธนาคารกลางใช้ประกอบเป็นข้อมูล
มีหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น ตัวเลขเงินเฟ้อ (Inflation rate) , ตัวเลขการจ้างงาน (Employment rate) , ตัวเลขอุตสาหกรรมการผลิต (MPI) , ตัวเลขการบริโภค (Consumption) , ตัวเลขการขอสินเชื่อรวมไปถึงดัชนีความเชื่อมั่นต่างๆ ฯลฯ ขึ้นอยู่สภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่ต่างกัน
ในด้านการลงทุน ฝ่ายวิเคราะห์ของ DAOL SEC ก็จะนำข้อมูลเหล่าที่ออกมาธนาคารกลางนี้มาประเมินว่ามีความหมายอย่างไร ? และตีความออกมาได้ว่าอย่างไร ? เพื่อสรุปและกำหนดกลยุทธ์ลงทุนออกมาให้กับนักลงทุน
ข้อดีของ Data dependent คือ เพื่อให้รู้ว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นและเราต้องติดตามอะไร ซึ่งไม่เพียงแต่จะใช้ได้กับเศรษฐกิจมหาภาคเท่านั้น ในระดับองค์กรก็สามารถใช้ประโยชน์จากการพัฒนา Data dependent ได้เช่นกัน
ปัจจุบันองค์กรหน่วยงานจำนวนมากปรับตัวและให้ความสำคัญกับเรื่องการใช้ข้อมูลในการพัฒนาบริษัทมากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพ หรือเรียกได้ว่า องค์กรต่างๆเข้าสู่การเป็น DATA Driven Organization มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับ รวมถึงการปรับองค์กรให้พร้อมในเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การได้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์และนำไปใช้ได้ถูกวัตุประสงค์ที่สุดกับองค์กร เป็นเรื่องสำคัญ
เช่น การเก็บข้อมูลและประเมินคุณภาพของทรัพยากรบริษัท เช่น อุปกรณ์สำนักงาน , ระบบเทคโนโลยีไอที , ระบบความปลอดภัยต่างๆ , การประเมินและการสร้างศัพยภาพของพนักงาน , ข้อมูลเรื่องความสามารถในการทำกำไรของบริษัทและหน่วยงานภายใน เป็นต้น รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆ เพื่อนำมากำหนดแผนธุรกิจในอนาคต
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีในการทำ Data dependent หรือรวมไปถึง Data Analytics ปัจจุบันพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะการเข้ามามีบทบาทของ Artificial Intelligence หรือ A.I. ซึ่งเราอาจแบ่งได้เป็นหลักๆ 2 กลุ่มคือ A.I. ประเภท Weak form เป็น A.I.ระดับล่าง แต่มีบทบาทมากขึ้น ในการเก็บประมวลผลวิเคราะห์และให้คำแนะนำ เพื่อให้เรานำข้อมูลมาตัดสินใจอีกที อุตสาหกรรมต่างๆ ใช้มากขึ้น เช่น การด้านสุขภาพ , การแพทย์ ความปลอดภัย
อีกกลุ่มเป็น A.I. ประเภท Strong form เป็น A.I. ระดับสูงขึ้น เพราะมีความสามารถเหมือนประเภทแรก แต่สามารถคิดและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแบบอัตโนมัติ (Deep Learning) ปัจจุบันยังมีใช้กันไม่มาก แต่คาดว่าในอนาคตจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ต่อการพัฒนาด้านข้อมูลขององค์กร
เมื่อเรามองจากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่มีปัจจัยหลากหลายคาดเดาได้และไม่ได้ ส่งผลต่อการสินใจลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ และกระทบต่อความสามารถในการทำธุรกิจ การทำ Data dependent จึงมีตัวแปรเกิดที่ต้องคำนึงถึงการแปรผันของข้อมูลได้ในระยะสั้นๆ เช่น ดิน ฟ้า อากาศ , ภัยธรรมชาติ , สงคราม , โรคระบาด
แต่อย่างไรก็ตาม Data dependent คือ ข้อมูลที่ส่งเสริมในเชิงของการพัฒนาไปข้างหน้า จึงนับว่าประโยชน์อย่างมากตั้งแต่ในระดับเศรษฐกิจระดับมหาภาคไปจนถึงระดับบุคคล ดังนั้นประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในด้านการสร้าง Data engineer สำหรับพัฒนาวางระบบพื้นฐาน รวมถึงการพัฒนาระเบียบข้อบังคับต่างๆที่ช่วยสนับสนุนและกำกับควบคุม เพื่อรองรับเศรษฐกิจในอนาคตที่ต้องใช้ประโยชน์จากในเรื่องนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน