นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุ ตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry, METI) ได้ร่วมมือกันในด้านการพั ฒนาและยกระดับภาคอุ ตสาหกรรมของทั้งสองประเทศมาอย่ างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้ร่วมหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกั บแนวทางการดำเนินงานด้านการส่ งเสริมภาคอุตสาหกรรม และกำหนดแนวทางการดำเนิ นงานความร่วมมือในอนาคต ระหว่างการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
ทั้งนี้ เพื่อมุ่งส่ งเสริมภาคอุตสาหกรรม พร้อมกำหนดความร่วมมือในอนาคต ภายใต้กรอบการทำงาน Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0 ผ่าน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย
1. แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้ านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุ คลากรในภาคอุตสาหกรรม
2. การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ
3.การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิ ดการร่วมสร้าง (Co-creation) และการพัฒนาความร่วมมือระหว่ างภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น
“การแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมื อครั้งนี้ จะเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุ ณภาพเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไทย มุ่งเน้นการสร้างโอกาสด้านการค้ าและการลงทุน ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ผ่านการถอดบทเรียนหลั งการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิ จชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy : BCG Model ของไทย” นายสุริยะ กล่าว
นายสุริยะ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวฯ และ เมติ ร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่ Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการใช้เทคโนโลยีเข้ ามายกระดับภาคการผลิตตามเป้ าประสงค์ต่างๆ อาทิ โครงการ Lean Automation and System Integrators (LASI) และการใช้วิธีการแก้ปัญหาด้ วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ โมโนซึกุริ ที่ใช้พลังกลที่มีอยู่ ในธรรมชาติแก้ปัญหาซึ่ งสามารถลดต้นทุนค่าพลังงาน ทั้งยังเป็นการเสริมสร้ างความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน โดยกรอบการทำงานที่ทั้ งสองกระทรวงได้มีการแลกเปลี่ยนกันไปเมื่อวั นที่ 13 ม.ค. 2565 และจะได้รับการยกระดับไปอีกขั้น โดยเฉพาะในด้านการสร้างบุ คลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ภายใต้กรอบความร่ วมมือดังกล่าว ยังมุ่งเน้นให้เกิดการพั ฒนาระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึ กษาเพื่อรองรับบุคลากรที่ได้รั บการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ จากโครงการต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Digitalization เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้ าง System Integrator เพื่อยกระดับภาคการผลิตเข้าสู่ อุตสาหกรรม 4.0 ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิ ตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมั ติของอาเซียน
นายสุริยะ กล่าวว่า กระทรวงฯ ยังมีความร่ วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในด้านอื่ น ๆ อาทิ การดำเนินงานโครงการการจัดตั้ งศูนย์ต้นแบบการจั ดการซากยานยนต์ แบบครบวงจรในประเทศไทย (End-of-life Vehicles in Thailand : ELV Project) ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการกำจั ดขยะรถยนต์ที่จะเกิดขึ้นเป็ นจำนวนมากในประเทศไทย และโครงการศึกษาแนวทางในการพั ฒนานิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในพื้นที่มาบตาพุด (Carbon Neutral Industrial Estate Project at Map Ta Phut Industrial Estate) ซึ่งการนิคมอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทยได้มีการลงนาม MOC ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ ายจากไทยและญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2564 และได้รับการสนับสนุนจากเมติในการศึกษาความเป็นไปได้ ในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนด้ วยพลังงานหมุนเวียนและพลั งงานสะอาด ที่หลากหลาย
ทั้งนี้ แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด–19 กระทบต่อการลงทุนภาคอุ ตสาหกรรมไทยและทั่วโลก แต่ญี่ปุ่นยังคงเป็นคู่ค้ าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยจากข้อมูลสถิติการลงทุ นโดยตรงจากต่างประเทศรายเดื อนสะสมเดือนมกราคมถึงเดือนมี นาคมปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริ มการลงทุน (BOI) พบว่า โครงการต่างชาติที่ได้รั บอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 198 โครงการ เงินลงทุน 77,290 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดบริ การและสาธารณูปโภค รองลงมาเป็นหมวดผลิตภัณฑ์ โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เฉพาะญี่ปุ่น มีจำนวน 45 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 13,788 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของโครงการลงทุนจากต่างประเทศทั้ งหมด
นายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) กล่าวว่า เมติให้การสนับสนุ นการลงทุนในประเทศไทยเพื่ อขยายฐานการผลิตของบริษัทญี่ปุ่ น โดยในปัจจุบันบริษัทญี่ปุ่ นรายใหญ่หลายรายต่างมี แผนการขยายฐานการผลิตมายั งประเทศไทย อาทิ บริษัท โซนี่กรุปคอร์ปอเรชัน ที่ต้องการขยายโรงงานการผลิ ตเซมิคอนดัคเตอร์ บริษัท เอจีซี ที่มีแผนการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้ นอีก 1 แสนล้านเยน และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ที่มีการลงนาม MOU กับภาครัฐของไทยในด้านการผลิต EV