ไทยส่งลำไยล็อตแรกผ่านรถไฟจีน-ลาว เจาะตลาดจีนตะวันตก
ด่านรถไฟโม่ฮาน จีน เปิดเดินรถทางการ ไทยส่งลำไยผ่านรถไฟจีน-ลาว 2 ขบวน มูลค่ากว่า 38 ล้านบาท สู่ตลาดจีนฝั่งตะวันตกได้สำเร็จเมื่อต้นเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ด้านทูตพาณิชย์เผย ลำไยยังคงสภาพสด คุณภาพดี ชี้ได้เปรียบด้านระยะเวลารวดเร็วและต้นทุนค่าขนส่ง
เส้นทางรถไฟลาว–จีน ได้มีการเปิดใช้บริการตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. 2564 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นเส้นทางช่วยส่งเสริมทางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ทั้งค่าโดยสารและระยะเวลาจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน มาถึงจังหวัดหนองคายใช้เวลาไม่เกิน 15 ชั่วโมง เร็วกว่าทางถนนจากนครคุนหมิง ถึงจังหวัดเชียงรายที่ใช้เวลาถึง 2 วัน โดยเส้นทางรถไฟลาว–จีน เป็นหนึ่งโอกาสของผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าของจีนและไทย โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไทย
แต่ในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่สามารถส่งออกผลไม้ไทยผ่านเส้นทางดังกล่าวได้ เนื่องจากต้องรอความพร้อมของด่านรถไฟโม่ฮานในการรองรับการตรวจปล่อยสินค้าจำเพาะผลไม้ โดยปัจจุบันลานดังกล่าวได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว และเปิดให้ใช้บริการในวันที่ 3 ธ.ค. 2565 ทำให้การส่งออกผลไม้ไทยผ่านเส้นทางดังกล่าวได้
ล่าสุด นางสาวเนตรนภิศ จุลกนิษฐ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู เปิดเผยว่า จากข้อมูลจากสำนักงานศุลกากรเมืองคุนหมิง ระบุว่า ลานตรวจ จำเพาะสินค้าผลไม้ ณ ด่านรถไฟโม่ฮาน ประกอบด้วย โซนตรวจสอบ ผลไม้นำเข้า โซนกักกัน โซนคลังเย็นเก็บสินค้า โซนอุปกรณ์เทคโนโลยีและโซนฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกทั้งยังมีอาคาร ตรวจสอบผลไม้และคลังเย็นเก็บผลไม้ซึ่งสามารถรองรับความต้องการในการควบคุม ตรวจสอบ กักกันโรค ผลไม้และยกระดับฟังก์ชั่นต่างๆ ของด่านโม่ฮาน ทำให้ตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค.2565 เป็น ต้นไป ผลไม้จากกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงผลไม้ไทยสามารถอาศัยเส้นทางรถไฟระหว่างจีน-ลาวเพื่อเข้าสู่ ตลาดจีน โดยเฉพาะจีนฝั่งตะวันตกซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนการขนส่ง ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานด้วย
เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2565 ขบวนรถไฟขนส่งผลไม้ระบบโซ่ความเย็นขบวนแรกของเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ได้ออกเดินทางจากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ผ่านด่านโม่ฮานของประเทศจีน และมุ่งหน้าไปยังสถานีรถไฟ Chengxiang Railway Station นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน และสถานีรถไฟ Tuanjiecun มหานครฉงชิ่ง แบ่ง ออกเป็น 2 ขบวน (ขนส่งโดยบริษัทเอกชน) ดังนี้ 1. ขบวนแรก (เส้นทาง : ไทย-ลาว-นนครเฉิงตู) ได้ขนส่งลำไยของไทยล็อตแรก จำนวน 25 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือปริมาณ 660 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6.5 ล้านหยวน หรือประมาณ 33.8 ล้านบาท เพื่อเข้ามาที่ตลาดค้าส่งผลไม้ในนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน โดยบริษัท Chongqing Jinguoyuan Industrial Co., Ltd. เป็นผู้นำเข้าลำไยสด ของไทยล็อตนี้และเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2565 การขนส่งลำไยสดดังกล่าวก็ได้มาถึงนครเฉิงตูเรียบร้อยแล้ว
ที่ผ่านมา บริษัท Chongqing Jinguoyuan Industrial Co., Ltd. จะเน้นขนส่งลำไยสดจากไทย โดย การขนส่งทางเรือเป็นหลัก เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งถูกกว่าการขนส่งทางบก แต่เมื่อลานตรวจจำเพาะสินค้า ผลไม้ ณ ด่านรถไฟโม่ฮานได้เปิดให้ใช้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว บริษัทฯ จึงได้เลือกใช้เส้นทางการขนส่งทาง รถไฟเพื่อสามารถประหยัดต้นทุนและระยะเวลาขนส่ง โดยเหตุผลสำคัญ 2 ข้อที่ทำให้บริษัทฯ เลือกใช้เส้นทาง ขนส่งทางรถไฟในครั้งนี้
2 .ขบวนที่ 2 (เส้นทาง : ไทย-ลาว-มหานครฉงชิ่ง) ได้ขนส่งผลไม้จำนวน 25 ตู้คอนเทนเนอร์ ประกอบด้วย ลำไยของไทย จำนวน 20 ตู้คอนเทนเนอร์หรือประมาณ 518.2 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.78 ล้านหยวน และกล้วยของ สปป.ลาว จำนวน 5 ตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับลำไยสดของไทย 20 ตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งมายังตลาดมหานครฉงชิ่ง เป็นการนำเข้าโดย บริษัท Chongqing Hongjiu Fruit Co., Ltd. (ผู้นำเข้าผลไม้ไทยรายใหญ่ในมหานครฉงชิ่ง) จำนวน 19 ตู้หรือ ประมาณ 490.2 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4.5 ล้านหยวน ส่วนที่เหลืออีก 1 ตู้ หรือประมาณ 28 ตัน เป็นการ นำเข้าโดยบริษัท Chongqing Jinguoyuan Industrial Co., Ltd. คิดเป็นมูลค่านำเข้าประมาณ 0.28 ล้านหยวน ทั้งนี้ ขบวนรถไฟดังกล่าวจะขนส่งผลไม้มาถึงมหานครฉงชิ่ง ในวันที่ 10 ธ.ค.2565
ทั้งนี้ บริษัท Chongqing Hongjiu Fruit Co., Ltd. ได้ให้ข้อมูลในทำนองเดียวกับบริษัท Chongqing Jinguoyuan Industrial Co., Ltd. ว่า บริษัทฯ เลือกที่จะขนส่งลำไยสดของไทยผ่านเส้นทางรถไฟจีน-ลาว เนื่องจากสามารถประหยัดระยะเวลาขนส่งเมื่อเทียบกับการขนส่งผ่านทางเรือ และต้นทุนค่าขนส่งผ่านทาง รถไฟถูกกว่าการขนส่งทางบก
หลังจากขบวนรถไฟขนส่งผลไม้ระบบโซ่ความเย็นของเส้นทางรถไฟระหว่างจีน-ลาว เปิดให้บริการอย่าง เป็นทางแล้ว นับเป็นโอกาสที่ดีของสินค้าผลไม้ไทยที่จะกระจายเข้าสู่ตลาดจีนได้หลากหลายเส้นทางมากขึ้น ซึ่ง เส้นทางขนส่งทางรถไฟจีน-ลาว นับเป็นเส้นทางที่สามารถตอบโจทย์ให้กับสินค้าผลไม้ไทยที่มีจุดหมายในการ กระจายเข้าสู่ตลาดจีนตอนในหรือจีนฝั่งตะวันตกได้อย่างแท้จริง และยังได้เปรียบด้านระยะเวลาในการขนส่ง ที่รวดเร็วและต้นทุนค่าขนส่ง
“ ผลจากการขนส่งลำไยสดของไทยล็อตแรกที่เข้ามาถึงนครเฉิงตูโดยไม่มี ปัญหาอุปสรรคและสภาพสินค้ายังคงมีคุณภาพที่ดีจึงทำให้เชื่อว่า ผู้นำเข้าผลไม้จะเลือกใช้บริการขนส่งผลไม้ สดจากไทยผ่านเส้นทางรถไฟจีน-ลาว เข้ามายังพื้นที่จีนฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง ฤดูกาลผลไม้ของไทยในปีหน้า “
ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการขนส่งผลไม้ไทยไปยังจีน เพื่อผลักดันมูลการส่งออกของไทยไปจีน ซึ่งคาดว่า การขนส่งสินค้าทางรถไฟจีน-ลาว จะเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสำคัญของไทยในอนาคต