กรมเจรจาการค้าฯ แนะนักธุรกิจไทย “รุก รับ ปรับตัว” ภายใต้โลกแบ่งขั้ว

กรมเจรจาการค้าฯ แนะนักธุรกิจไทย “รุก รับ ปรับตัว” ภายใต้โลกแบ่งขั้ว

กรมเจรจาการค้าฯ แนะ ธุรกิจไทย “รุก รับ ปรับตัว” ภายใต้โลกแบ่งขั้ว รักษาความสัมพันธ์ - ผนึกพันธมิตรรวมกลุ่มอาเซียนเพิ่มอำนาจการต่อรองการค้าแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวในงานสัมมนา “Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม” หัวข้อ “ความท้าทายเศรษฐกิจ การค้าไทยท่ามกลางโลกแบ่งขั้ว” จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ความท้าทายเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้ถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย และน่าสนใจ กรมฯ ได้ติดตามพัฒนาการที่เกิดขึ้นมาตลอด ทั้งหารือกับภาครัฐเกี่ยวข้อง และเอกชนใกล้ชิดว่า

อย่างไรก็ตาม จากการติดตามนโยบายโดยประเทศมหาอำนาจหลัก ประกอบด้วย สหรัฐ จีน สหภาพยุโรป และอินเดีย ที่ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อสัดส่วนการค้าสูง จำนวนประชากรสูง และเศรษฐกิจสูง โดยสหรัฐ มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องของการคำนึงถึงตนเองก่อน เพื่อผลประโยชน์ ความมั่นคง และแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า อาทิ การขึ้นภาษีเหล็ก และภาษีอะลูมิเนียม ขึ้นราคาสินค้าจากจีน ต่อมายุคปัจจุบันก็เน้นเศรษฐกิจในประเทศเช่นกัน เช่น การดึงฐานการผลิตกลับสู่สหรัฐ จัดซื้อจัดจ้างสินค้าในประเทศ ซัพพลายอเมริกา และนโยบายเข้มงวดกับจีนยังอยู่

กรมเจรจาการค้าฯ แนะนักธุรกิจไทย “รุก รับ ปรับตัว” ภายใต้โลกแบ่งขั้ว “สหรัฐ รวมกลุ่ม G7 ออก PGII เพื่อต่อกรกับ BRI และออกกฎหมายใหม่ ให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมถึงออกกฎหมายใหม่ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงาน ส่งเสริมการผลิตภายในประเทศทั้งการส่งเสริม และแก้ปัญหาโลกร้อนส่งเสริมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ใช้แบตเตอรี่ รวมถึงอุตสาหกรรมชิ้นส่วนในประเทศ”

ส่วนจีนมีการผลักดันนโยบาย BRI เพื่อเชื่อมโยงทางบก และทางทะเลของจีนกับโลก เน้นสังคมนิยมพึ่งพาตนเอง เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศ รักษาส่วนแบ่งการตลาด ตั้งบริษัทผลิตรถในประเทศ ในช่วงที่ผ่านมานโยบาย Zero-COVID ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ จีนชูนโยบายความเป็นผู้นำเซมิคอนดักเตอร์ ห้ามส่งออกทรายไปยังจีน ไทเป และเน้นนโยบายเชิงรุกผลักดันความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ส่วนสหภาพยุโรป (อียู) ถือว่ามีสัดส่วนการค้าสำคัญอันดับ 2 ของโลก เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญค่านิยม ได้มีการทบทวนนโยบายการค้าฉบับใหม่ สร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นกฎกติกาการค้าโลก เน้นพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ พยายามมีส่วนร่วมสหภาพอินโด-แปซิฟิก ซึ่งล่าสุดได้ออกกฎระเบียบ CBAM ห้ามนำเข้าสินค้าที่กระทบกับการทำลายป่า เสริมสร้างการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และลดการนำเข้า

ในขณะที่ อินเดีย ที่ผ่านมา เน้นการพึ่งพาตนเอง เดินหน้านโยบายตามแนวคิด New India ตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่าน ดิจิทัล สตาร์ตอัป ออกมาตรการกีดกันการค้าต่างประเทศ เป็นต้น  

นางอรมน กล่าวว่า สำหรับความท้าทายอื่นๆ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 สงครามทางการเมืองระหว่างรัสเซีย และยูเครน ความขัดแย้งของจีน กับ จีนไทเป ความแตกต่างด้านค่านิยม และความขัดแย้งทางนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ห่วงโซ่อุปทานด้านต่างๆ ซึ่งผลกระทบดังกล่าว ไทยสามารถส่งออกไปสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากอานิสงส์ที่ประเทศมหาอำนาจมีการตอบโต้กัน อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ จอ LCD รวมถึงการส่งข้าว มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป ไปยังจีนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทั้งนี้ จากความท้าทายต้นทุนสินค้าพลังงานสูง การหยุดชะงักห่วงโซ่อุปทาน กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดส่งผลให้สหรัฐ นำเข้าสินค้าจากจีนลดลง ขาดดุลการค้ากับจีน อาจเป็นนโยบายที่สหรัฐ เพิ่มการผลิตในประเทศมากขึ้น และพยายามขายกับประเทศอื่น ดังนั้น ในมุมมองประเทศไทยสิ่งที่ต้องดำเนินการรุก รับ ปรับตัว แบ่งเป็น 1. รักษาความสัมพันธ์อย่างสมดุล เพิ่มพันธมิตรทางการค้า แสวงหาคู่ค้าใหม่ๆ และสนับสนุนกฎกติกาการค้าโลก

กรมเจรจาการค้าฯ แนะนักธุรกิจไทย “รุก รับ ปรับตัว” ภายใต้โลกแบ่งขั้ว 2. การรวมกลุ่มกับอาเซียนเพิ่มอำนาจต่อรอง และใช้ประโยชน์จากภูมิรัฐศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ ใช้หลักการอาเซียนเป็นศูนย์กลาง 3. แสวงหาโอกาสภายใต้โลกแบ่งขั้วของห่วงโซ่อุปทาน เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานแรงงานสิ่งแวดล้อม ดึงดูดการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต้องเตรียมตัวต่อการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือสินค้าที่ผลิตมีการทำลายป่าหรือไม่ และ 4. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก FTA ที่มีอยู่ และเข้าร่วมข้อตกลงทางเศรษฐกิจ และการค้าที่เป็นประโยชน์กับไทย รวมถึงเพิ่มสัญญาใหม่ เป็นต้น

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์