ไทย - มาเลเซีย เล็งสร้างเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ เร่งความร่วมมือ 3 อุตฯฟาสต์แทร็ก
มาเลเซีย -ไทย กระชับความร่วมมือทางธุรกิจ สร้างกลไกความร่วมมือเดินหน้าฟาสต์แทร็ค 3 อุตสาหกรรมสำคัญ EV พลังงาน ดิจิทัล หลัง นายกฯสองชาติหารือระดับผู้นำ เล็งสร้างเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษร่วมสองประเทศ สอท.มองหวังสองชาติผนึกกำลังสร้างความร่วมมือฝ่าปัญหาภูมิรัฐศาสตร์
เมื่อเร็วๆนี้ หอการค้ามาเลเซีย – ไทย (MTCC) ได้จัดงาน “Business Meeting” ระหว่างมาเลเซีย และไทย ในโอกาสที่นาย อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างที่ 9 – 10 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยภายในงานมีนักธุรกิจ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และภาครัฐเข้าร่วมงานประมาณ 200 คน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพ โดยโอกาสนี้ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก "EEC" ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการสำหรับการอภิปรายในช่วงถาม-ตอบในช่วงท้าย
นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวปราศรัยในหัวข้อ “The Future of ASEAN” รวมทั้งตอบคำถามตัวแทนนักธุรกิจ ภาคเอกชน และสื่อมวลชนเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้งมาเลเซียและไทย เขากล่าวว่า หลังจากการก้าวขึ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ให้ความสำคัญกับอาเซียนเป็นอันดับสูงสุด โดยมองว่าสำหรับประเทศมาเลเซียและประเทศไทยนั้น มีความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนา ด้านสังคมและเศรษฐกิจที่สูง ซึ่งจะสามารถสร้างประโยชน์ที่สูงสุดแก่ประชาชนได้ซึ่งได้มีการหารือกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมของประเทศไทย ในการยกระดับเศรษฐกิจ และพัฒนาการค้าระหว่างกัน โดยอุตสาหกรรมที่สามารถร่วมมือกันได้ทั้งสองประเทศคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมดิจิทัล ที่สามารถสร้างความร่วมมือร่วมกันได้ทั้งสองประเทศพร้อมจะเร่งรัดการดำเนินการให้เกิดความร่วมมืออย่างเร่งด่วนในแบบฟาสต์แทร็ค เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรค และสร้างความร่วมมือระหว่างกันโดยเร็วที่สุด
นอกจากนั้นทั้งมาเลเซียและไทยควรร่วมกันศึกษาถึงแนวทาง และความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ไทย – มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Special Economic Corridor (TM-SEC) ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และพื้นที่รัฐฝั่งเหนือของประเทศมาเลเซีย
โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมธุรกิจที่มีศักยภาพและสร้างโอกาสในการเชื่อมสู่ตลาดเอเชียและตะวันออกกลางได้ อันจะช่วยให้สามารถพัฒนาศักยภาพของเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT-GT) ได้อย่างเหมาะสม โดยพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาจุดที่อ่อนแอที่สุดในพื้นที่ดังกล่าว โดยเริ่มจากการสร้างบรรยากาศทางการค้า และความเข้าใจที่ดีของประชาชนทั้งสองประเทศ
นอกจากนั้นทั้งมาเลเซียและไทยควรร่วมกันศึกษาถึงแนวทาง และความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ไทย – มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Special Economic Corridor (TM-SEC) ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และพื้นที่รัฐฝั่งเหนือของประเทศมาเลเซีย โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมธุรกิจที่มีศักยภาพและสร้างโอกาสในการเชื่อมสู่ตลาดเอเชียและตะวันออกกลางได้
ซึ่งจะช่วยให้สามารถพัฒนาศักยภาพของเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT-GT) ได้อย่างเหมาะสม โดยพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาจุดที่อ่อนแอที่สุดในพื้นที่ดังกล่าว โดยเริ่มจากการสร้างบรรยากาศทางการค้า และความเข้าใจที่ดีของประชาชนทั้งสองประเทศ
นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังกล่าวด้วยว่า นโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ผู้นำในอาเซียนควรให้ความสำคัญใน 3 ด้าน ได้แก่
1.การส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุนภายในกลุ่มประเทศในอาเซียน
2. การเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมใหม่ด้านการศึกษา วิจัยและพัฒนาภายในพื้นที่อาเซียน สำหรับอาเซียนรุ่นใหม่
และ 3.การใช้ประโยชน์ด้านการเป็นผู้นำเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความร่วมมือด้านการเงิน เพื่อเป็นเกราะป้องกันแก่สมาชิก
“ความสงบและความเจริญรุ่งเรืองของประชาชน เป็นผลลัพธ์ที่รัฐบาลควรคำนึงถึงและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ผู้นำของประเทศในอาเซียนต่างเข้าใจถึงศักยภาพของอาเซียนอยู่แล้ว ถ้าหากว่าเราร่วมมือกันพัฒนาและขับเคลื่อนร่วมกัน เราจะสามารถยกระดับ ขีดความสามารถของอาเซียนได้อย่างแน่นอน เราควรร่วมกันฟื้นฟูจิตวิญญาณของอาเซียน โดยหลักสำคัญคือการสร้างแนวคิด ความร่วมมือ ไม่ใช่การแข่งขัน” โดยผู้นำของแต่ละประเทศต้องเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างแนวคิดใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดของคนรุ่นใหม่ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน”
ด้าน ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประเทศไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนาน ทั้งสองประเทศช่วยเหลือซึ่งกันและกันในช่วงการเกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจในอดีต โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการลงนามความตกลงเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และร่วมกันพัฒนาโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องระหว่างประเทศในอาเซียน
แต่เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ยังอยู่ช่วงต้นในการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม จึงมีหลายโครงการที่ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง ปัจจุบันอาเซียนประสบความสำเร็จในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีต่าง ๆ จึงเป็นโอกาสอันดีในการริเริ่มสร้างกลยุทธ์ความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคร่วมกันใหม่ โดยการเยือนประเทศไทยของ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในครั้งนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมในเกิดความร่วมมือระหว่างสองประเทศทั้งในเชิงการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมต่อไป
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่ามาเลเซียถือว่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย โดยมีมูลค่าทางการค้าระหว่างกันสูงที่สุดในอาเซียน ซึ่งในอนาคตสามารถที่จะพัฒนาความร่วมมือกันในอีกหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มความร่วมมือทางการค้าระหว่างสองประเทศได้ซึ่งการค้าข้ามชายแดนยังทำได้อีกมาก ซึ่งนายกฯมาเลเซียเน้นย้ำว่าต้องสร้างบรรยากาศทางการค้า และแก้ปัญหาไม่ให้มีความตึงเครียดทางชายแดนต่อกัน
“ไทยกับมาเลเซียเป็นเพื่อนบ้านกันที่มีตลาดรวมกันกว่า 150 ล้านคน หากสามารถที่จะจับมือกันอย่างใกล้ชิดจะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจในอาเซียน ซึ่งตลาดอาเซียนถือว่ามีความสำคัญอย่างมากที่สมควรมีตลาดในภูมิภาคอาเซียนที่แข็งแรงในภาวะที่เกิดความไม่แน่นอนจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนในปัจจุบัน”นายเกรียงไกร กล่าว
ด้านนายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทสหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าได้เรียนนายกรัฐมนตรีมาเลเซียให้ช่วยแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมระหว่างไทยกับมาเลเซียซึ่งปัจจุบันยังมีปัญหาติดขัดในการเดินทางและการขนส่งสินค้าอยู่มากเนื่องจากการขนส่งสินค้าจากด่านสะเดาแห่งใหม่ จ.สงขลา ยังไม่สามารถทำได้ แม้จะสร้างเสร็จไปแล้วหลายปี เนื่องจากยังติดขัดในการเชื่อมต่อระหว่างด่านสะเดาแห่งใหม่กับด่านบูกิต กายูฮีตัม ในพื้นที่มาเลเซีย ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคส่วนนี้ได้จะทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามชายแดนระหว่างไทยและมาเลเซียได้รับความสะดวกมากขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียรับทราบปัญหาแล้วคาดว่าจะได้รับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเร็วๆนี้