‘สุพัฒนพงษ์’ ชู 3 นโยบาย ฝากรัฐบาลหน้าสานต่อ EV – BCG – เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

‘สุพัฒนพงษ์’ ชู 3 นโยบาย ฝากรัฐบาลหน้าสานต่อ EV – BCG – เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

‘สุพัฒนพงษ์’ ชู 3 นโยบายเศรษฐกิจสำคัญ ฝากรัฐบาลหน้าสานต่อ EV – BCG – ถกพื้นที่ทับซ้อน มั่นใจทุกรัฐบาลเข้ามาต้องสานต่อ แม้แพคเกจ EV3.5 เข้า ครม.ไม่ทันก่อนยุบสภาฯแต่อุตสาหกรรมฯ EV ไม่สะดุดหลัง 2 ค่ายลงเสาเข็มโรงงานในไทยแล้ว ระบุเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาสำคัญกับ2ฝ่าย

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า จากนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ดำเนินการมาตลอด 8 ปี ได้เน้นในเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การเพิ่มรายได้ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาขึ้น ซึ่งโมเดลเศรษฐกิจที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือ เรื่องการลดคาร์บอน และการขับเคลื่อนนโยบายบีซีจี โดยมีการผลักดันอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) และชิ้นส่วนสำคัญของรถอีวีในประเทศไทย

รวมทั้งส่งเสริมเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน ส่งเสริมพลังงานทดแทนเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งแนวนโยบายนี้มั่นใจว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้องและไม่ว่าพรรคการเมืองใดเข้ามาเป็นรัฐบาลก็จะดำเนินการต่อ เพราะถือว่าเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศและเป็นแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า จากนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ดำเนินการมาตลอด 8 ปี ได้เน้นในเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การเพิ่มรายได้ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาขึ้น ซึ่งโมเดลเศรษฐกิจที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือ เรื่องการลดคาร์บอน และการขับเคลื่อนนโยบายบีซีจี โดยมีการผลักดันอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) และชิ้นส่วนสำคัญของรถอีวีในประเทศไทย

รวมทั้งส่งเสริมเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน ส่งเสริมพลังงานทดแทนเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งแนวนโยบายนี้มั่นใจว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้องและไม่ว่าพรรคการเมืองใดเข้ามาเป็นรัฐบาลก็จะดำเนินการต่อ เพราะถือว่าเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศและเป็นแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน

ในส่วนของนโยบายส่งเสริมรถอีวีปัจจุบันเห็นผลเป็นรูปธรรมเป็นอย่างมาก ได้รับการแจ้งจากคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ว่า สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ผลิตรถอีวีสองค่าย ได้แก่ เนต้า(NETA) และบีวายดี(BYD) ได้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงงานผลิตรถอีวีในประเทศไทย คาดว่าจะแล้วเสร็จ 1-2 ปีข้างหน้าโรงงานจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้จะมีอีกหลายค่ายรถที่จะเข้ามาก่อสร้างโรงงานในประเทศไทยทั้งโรงงานผลิตและโรงงานประกอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่จะเข้ามาสนับสนุนการใช้รถอีวีในประเทศซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันและเพิ่มการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

‘สุพัฒนพงษ์’ ชู 3 นโยบาย ฝากรัฐบาลหน้าสานต่อ EV – BCG – เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

นอกจากนี้รัฐบาลมีแผนผลักดันมาตรการสนับสนุนรถอีวีเพิ่มเติม ที่เรียกว่ามาตรการอีวี 3.5 ซึ่งจะต่อเนื่องจากมาตรการอีวี 3 ที่จะหมดอายุสิ้นปี 66 ซึ่งแพคเกจใหม่นั้นจะเห็นความต่อเนื่องของการส่งเสริมรถอีวีไปถึงปี 2568 โดยมาตรการนี้เราฟังความคิดเห็นจากค่ายรถยนต์ที่ต้องการลงทุนในประเทศไทย จึงต้องการให้มีมาตรการต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเมื่อไม่ทันอนุมัติใน ครม.นี้เนื่องจากใกล้จะยุบสภาฯ แต่ก็มั่นใจว่ามาตรการนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นมาตรการแรกๆ ของรัฐบาลชุดใหม่ เพราะเป็นเรื่องที่ดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ และประชาชนชื่นชอบอย่างมาก

สำหรับเรื่องการส่งเสริมการลดคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งไทยมีเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ซึ่งตอนนี้สิ่งที่เริ่มส่งเสริม คือการศึกษาเรื่องเทคโนโลยี การดักจับคาร์บอน (CCS) โดยจะใช้ในภาคการผลิตปิโตรเลียมและการผลิตไฟฟ้า โดยในภาคการผลิตปิโตรเลียมได้มอบหมายให้ บริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) ไปศึกษาลักษณะธรณีวิทยาใต้ทะเลที่สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ในปริมาณมาก ซึ่งขณะนี้ได้พบบางพื้นที่ที่มีศักยภาพแล้ว และเรื่องนี้ได้รับความสนใจจากรัฐบาลญี่ปุ่น ที่จะให้ทุนสนับสนุนซึ่งถือว่ามีคามเป็นไปได้สูง ส่วนการผลิตไฟฟ้าที่จะต้องมีการกักเก็บคาร์บอน ได้สั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปศึกษาการกักเก็บใต้ดินแหล่งแม่เมาะที่จังหวัดลำปาง ซึ่งอาจมีพื้นที่ใกล้เคียงที่กักเก็บคาร์บอนได้เช่นกัน หากทำได้สำเร็จก็จะสามารถยืดอายุการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะออกไป โดยการเก็บคาร์บอนชดเชยทำให้การปล่อยมลพิษต่ำลงไปกว่าในระดับปัจจุบันซึ่งทำให้ไทยมีทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม

ในส่วนความคืบหน้าเรื่องการจัดหาแหล่งพลังงานใรประเทศและประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง รัฐบาลนี้ได้เริ่มการหารือกับรัฐบาลกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในทะเลอ่าวไทย ที่ไทยและกัมพูชา (OCA) เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือ ด้านการสำรวจปิโตรเลียมร่วมกันในอนาคต โดยการเจรจาโดยมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้นำ และมีการพูดถึงคามจำเป็นในเรื่องการสำรวจหาแหล่งพลังงานในพื้นที่นี้ ซึ่งทั้งสองประเทศเห็นตรงกัน ว่าเป็นความมั่นคงด้านพลังงานและเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยรูปแบบหากสามารถนำก๊าซธรรมชาติมาจากพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวมาผลิตไฟฟ้าในฝั่งประเทศไทยและส่งไฟฟ้าผ่านสายส่งไปให้กัมพูชาซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันที่สามารถหารือกันได้

“สิ่งที่รัฐบาลทำตลอดหลายปีที่ผ่านมาในเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ดีมากที่พรคการเมืองต่างๆ สามารถเอาไปทำต่อได้ อาจจะมีการทบทวนบ้าง แต่ก็เชื่อว่านโยบายหลักๆ ทุกรัฐบาลก็ต้องทำต่อไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถไฟฟ้า บีซีจี ลดคาร์บอน และการเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งควรจะทำต่อ ถ้าไม่ทำต่อก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะว่าจุดมุ่งหมายของนโยบายเหล่านี้เพื่อพัฒนาประเทศและยกระดับรายได้ของประชาชนไทยให้เพิ่มขึ้น” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว