เปิดแนวคิด ‘วิกรม’ CEO อมตะ บริจาค 2 หมื่นล้าน ขอบคุณประเทศไทย

เปิดแนวคิด ‘วิกรม’ CEO อมตะ  บริจาค 2 หมื่นล้าน ขอบคุณประเทศไทย

‘วิกรม’ เผยแนวคิด ทำพินัยกรรมบริจาคทรัพย์สิน 2 หมื่นล้าน ให้มูลนิธิอมตะ เพื่อขอบคุณประเทศไทย ระบุอายุ 70 ปี แล้ว ถึงเวลาต้องทบทวนตัวเอง ย้อนดูบทเรียน ‘สุรินทร์ พิศสุวรรณ’ ทำให้ต้องมาสร้างสุขภาพที่ดี ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์

Key Point

  • 'วิกรม กรมดิษฐ์' CEO บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมอมตะในภาคตะวันออกและประเทศเวียดนาม
  • ปี 2566 ได้ฉลองอายุครบ 70 ปี ด้วยการทำพินัยกรรมบริจาคทรัพย์สินให้กับมูลนิธิอมตะ ที่วิกรมเป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ 27 ปีก่อน
  • การบริจาคครั้งนี้คิดเป็นสัดส่วน 95% ของทรัพย์สินที่มีหรือประมาณ 20,000 ล้านบาท และเมื่อเสียชีวิตจะบริจาคให้หมด 100%
  • วิกรม ต้องการขอบคุณประเทศไทยที่ทำให้มีทุกอย่างในวันนี้ และช่วงที่เหลือของชีวิตจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์

 

นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ เปิดเผยในรายการ CEO Vision FM96.5 ผ่าน VDO Clip ที่เผยแพร่บนเฟซบุ๊ค Vikrom วิกรม เมื่อวันที่ 17 มี.ค.2566 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 70 ปี

นายวิกรม บอกว่า ปกติไม่ได้จัดงานวันเกิด แต่ควรทำเพราะเราจะมีโอกาสเจอเพื่อนและได้ฉลองด้วยกัน ต่อไปอาจจะจัดทุกปีเพื่อให้เพื่อนได้มาเจอกัน เพื่อนรุ่นเดียวกันที่เรียนระดับประถมหายไป 20-30% แล้ว การจะได้เจอกันก็ยาก

“ผมเพิ่งรู้ว่าตัวเองแก่ มีความรู้สึกว่าลืมง่ายและคิดช้าลงตอนเริ่มอายุ 65 ปี ผมลุกขึ้นจากรถเก๋งแล้วทำได้ยาก ปกติจะไปเข้ายิมเพราะทำให้เราบริหารร่างกายตามสัดส่วนได้ เช่น ลดเอว ลดพุง แต่ช่วงโควิดไม่ได้เข้ายิมเลย และทำได้แค่เดินออกกำลังกายข้างคลองแสนแสบ และเมื่อเดินทางแบบคาราวานทำให้เริ่มรู้สึกว่าร่างกายไม่ปกติ จนเกิดอาการบ้านหมุน” เปิดแนวคิด ‘วิกรม’ CEO อมตะ  บริจาค 2 หมื่นล้าน ขอบคุณประเทศไทย

 

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ต้องไปหาแพทย์เกือบสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งต้องมีผู้ติดตามจากเดิมไปไหนมาไหนคนเดียว ซึ่งทำให้ปัจจุบันต้องมาปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริงไม่หักโหมทำอะไรเกินกำลังหรือสุขภาพ

 

 

ทั้งนี้ ได้นึกถึงนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ซึ่งได้คุยกันหลายครั้งพบว่านายสุรินทร์ ได้เดินทางอย่างต่อเนื่อง แล้วมาประสบเหตุหัวใจวายเสียชีวิต จึงทำให้ย้อนกลับมามองตัวเองต้องดูแลร่างกายและจิตใจ โดยจะยึดติดกับอดีตที่ผ่านไปแล้วและเปลี่ยนไม่ได้ จึงต้องคิดถึงอนาคต แต่สิ่งที่อยากทำ คือ

1.ไม่ยอมแพ้กับร่างกายที่แก่ธรรมชาติ ซึ่งเดิมตั้งใจว่าอายุ 70 ปี จะมีซิกแพ็คแต่ยังทำไม่ได้ เพราะช่วง 3 ปี ที่มีโควิดไม่ได้เข้ายิม จากเดิมที่ในอดีตมีซิกแพ็คตั้งแต่เด็ก

2.รวมทั้งขณะนี้เหลือเวลา 1 ปี เศษ จะวางแผนหาคนมาทำงานแทน หรือหาพันธมิตรมาทำ และวางแผนไปเดินทางคาราวานอีก เดินทางปีละ 8 เดือน จนกระทั่งเดินทางไหวจึงมาวางแผนต่อให้ใช้ชีวิตพอเหมาะ

รวมทั้งได้ทำการบริจาคทรัพย์สินที่มี โดยได้ทำพินัยกรรมบริจาคทรัพย์สิน 95% จะยกให้สังคม

"ตอนผมเสียชีวิตจะยกให้ 100% เพราะชีวิตมาจากไม่มีอะไร มาจากศูนย์ ก่อนเราเกิด 1 ปี ก็เป็น 0 และตายไปก็เป็น 0 เรากำลังเดินทางจาก 0 ไปสู่ 0 จึงมองว่าเมื่อเราตายไปจะเอาทรัพย์สินไว้ทำอะไรจึงแบ่งให้หมด"

ถ้าทำเหมือนครอบครัวทั่วไปที่แบ่งทรัพย์สินให้ลูกหลานก็ให้ได้เพียงครอบครัวเดียว แต่จะแบ่งให้สังคมล้านครอบครัว เหมือนกับการทีร่ขายหนังสือเพียงเล่มละ 20 บาท เพราะนำเงินตัวเองไปอุดหนุนก็จะเป็นการสร้างประโยชน์จากประสบการณ์ชีวิต

เปิดแนวคิด ‘วิกรม’ CEO อมตะ  บริจาค 2 หมื่นล้าน ขอบคุณประเทศไทย

 

สำหรับการทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินส่วนตัวให้กับมูลนิธิอมตะมูลค่ากว่า 95% ของทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ หรือมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร คอนโดมิเนียม หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนทรัพย์สินส่วนตัวอื่นๆ  เพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง อันจะนำไปสู่หนึ่งในกลไกการยกระดับคุณภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจไทย

“ไม่มีอะไรดีไปกว่าการทำดี สิ่งที่ผมทำมาตั้งแต่เกิดรู้ว่าอะไรดีไม่ดี แต่เป็นเด็กซน เช่น การไปขโมยขนุน มะม่วง เป็นเรื่องไม่ได้ วันนี้ก็อย่าไปทำอีกให้ทำแต่สิ่งที่ดีงาม หลังจากที่แก่แล้วจึงทำแต่สิ่งที่ดีงาม การพูดดีและคิดสิ่งที่มีประโยชน์จะเป็นบุญ การทำบุญก็คือการทำดี แต่ไม่ใช่ทำบุญแบบงมงายที่หวังผลตอบแทน ดังนั้น ชีวิตและเวลาที่เหลือจะมาทำให้เป็นประโยชน์สูงสุด และขอบคุณประเทศไทยที่ทำให้ผมมีวันนี้”ผ

นอกจากนี้กรุงเทพธุรกิจได้สรุปประเด็นของนายวิกรมว่าในอนาคตคิดว่าจะทำอย่างไรให้อนาคตดีกว่าปัจจุบัน เรื่องที่ 2 จะไม่อิจฉา ไม่โกรธแค้น หรือคิดร้ายกับใคร เช่น มีคู่แข่งมาซื้อที่ดิน ผมเคยเจ็บแค้นส่งคนไปทำร้าย แต่วันนี้เราต้องให้อภัยและยอมรับสิ่งที่เป็น คิดได้อย่างนี้เราจะมีความสุข ความสุข คือ บุญ และการทำบุญอย่างหวังผลบุญ”

รวมทั้งได้มีแนวคิดแบบ Forgive and Forget โดยให้อภัยและการลืมจะทำให้จิตใจเราสบาย และคิดมาตลอดว่าชีวิตเราจะไม่หวนกลับคืนมา จึงนำสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตมาเขียนหนังสือปีละ 1-2 เล่ม รวมแล้วเขียนมา 20 เล่ม แต่มาคิดใหม่จะไม่ใช้มือเขียนจะใช้ไอแพดเขียน ซึ่งเขียนได้ทุกที่และเขียนหนังสือได้มากขึ้น จะขายเล่มละ 20 บาท เพื่อที่ผู้อ่านจะได้ไม่เจ็บกระเป๋า

“ผมเป็นคนที่โชคร้ายที่สุดในครอบครัว โดยมารดามีปัญหาโรคเบาหวานและมะเร็ง ทำให้เราเข้าใจเรื่องพันธุกรรมจึงต้องมาดูแลร่างกายให้แข็งแรงไปพร้อมกับจิตใจ”

ในอดีตไม่ได้มาจากครอบครัวยากจนแต่มีปัญหาทำให้ลำบาก และเมื่อผ่านความยากลำบากมาได้ก็ได้ โดยโชคดีที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งต่างจากไต้หวันที่เคยไปเรียนในอดีต รวมทั้งมีความสุขที่ได้ใช้ชีวิตแบบพอเหมาะพอดี โดยมีเจ้าหน้าที่มีช่วยดูแลการทำงานทำให้รู้สึกเหมือน Little king ซึ่งต่างจากตอนที่เปิดบริษัทใหม่ต้องกวาดพื้น ทำความสะอาด ส่งจดหมายและรับโทรศัพท์เอง