ส่องโอกาสส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงในตลาดนอร์ดิก
มองโอกาสไทยเจาะตลาดนอร์ดิก แย่งส่วนแบ่งตลาดสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง ทูตพาณิชย์ เดนมาร์ก เผย แม้หลังโควิดกระแสจะลดลง เผยไทยครองแชมป์ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 4 ของโลก
Key Points
- ตลาดนอร์ดิก 4 ประเทศ ประกอบด้วย เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์
- 10 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค. – ต.ค.) กลุ่มประเทศ นอร์ดิกส์นำเข้าสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงสุนัข และ แมว รวม 24.60 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.47%
- ปี 2565 การส่งออกสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยไปตลาดโลก มีมูลค่า 2,847 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 15%
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ วางแผนลุยกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกภายใต้คอนเซ็ปรักษาตลาดเดิม เปิดตลาดใหม่ โดยจัดทำกิจกรรมผลักดันการส่งออกไว้ที่ 450 กว่ากิจกรรมโดยจะจัดกิจกรรมในหลายรูปแบบ ทั้งการจัดงานแสดงสินค้าไทย คณะผู้แทนการค้า จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ผลักดันค้าขาย
ตลาดนอร์ดิก ถือเป็นเป้าหมายใหม่อีกตลาดหนึ่งที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศวางไว้ ซึ่งกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ประกอบด้วย 5 ประเทศในเขตยุโรปเหนือ ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ มีประชากรรวม 27.85 ล้านคน (ข้อมูลปี 2566) ประชากรมีรายได้เฉลี่ย ประมาณ 85,143.3 ดอลลาร์ต่อปี หรือประมาณ 2.85 ล้านบาทต่อปีซึ่งนับเป็นกลุ่มประชากร ที่มีรายได้สูงที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งของโลก
นางสาวณิชพร วรรณพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้สำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยในประเทศกลุ่นนอร์ดิก โดยเฉพาะสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง พบว่าความนิยมการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด D-19 ในช่วงปี 2563 ที่ผู้คนหันมาใช้ชีวิตในบ้านเรือน มากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกบ้านได้มากนัก อย่างไรก็ดี แนวโน้มการครอบครองสัตว์เลี้ยง ในปี2565 มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เนื่องจากประชาชนสามารถกลับไปทำงาน และใช้ชีวิตปกติดังเดิมได้
ทั้งนี้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค. – ต.ค.) กลุ่มประเทศ นอร์ดิกส์นำเข้าสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงสุนัข และแมว รวม 24.60 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.47% ประเทศที่นำเข้ามากที่สุดคือ สวีเดน 7.72 พันล้านบาท เพิ่ม17.18% รองลงมาได้แก่ เดนมาร์ก 6.92 พันล้านบาท เพิ่ม 10.14% ฟินแลนด์ 4.91 พันล้านบาท เพิ่ม 19.04% นอร์เวย์ 4.74 พันล้านบาท เพิ่ม 7.03% และไอซ์แลนด์ 301 ล้านบาท เพิ่ม 21.12% โดยแมวเป็นสัตว์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจำนวน 3.91 ล้านตัว รองลงมาได้แก่ สุนัข 2.75 ล้านตัว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก 1.22 ล้านตัว
คู่แข่งสำคัญของไทยในกลุ่มสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงสุนัขและแมว คือ เยอรมนี โดยในช่วง 10 เดือนแรก ของปี 2565 (ม.ค. – ต.ค.) เยอรมนีเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงสำคัญอันดับที่หนึ่งของกลุ่ม ประเทศนอร์ดิกส์ มูลค่ารวม 4.76 พันล้านบาท รองลงมาได้แก่ โปแลนด์ 3.25 พันล้านบาท และสวีเดน 2.24 พันล้านบาท โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 17 มูลค่า 219.82 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.89 % ของการ นำเข้าสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงของกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ท้ังหมด
“พฤติกรรมผู้บริโภค ผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงในกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความรู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และปฏิบัติกับสัตว์ เลี้ยงเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “ทูตพาณิชย์ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ระบุ
สำหรับโอกาสของสินค้าไทยนั้นสินค้าสัตว์เลี้ยงเป็นกลุ่มสินค้าที่มีโอกาสในการขยายตลาดสู่กลุ่มประเทศนอร์ดิกส์โดยเฉพาะ สินค้าสุนัขและแมว ซึ่งมีจำนวนรวมกันถึง 6.6 ล้านตัวแต่ยังไม่พบสินค้าจากประเทศไทยในตลาดมากนัก ทั้งในส่วนของอาหารสัตว์เลี้ยง และของใช้สำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ของเล่น ปลอกคอ เชือกจูง ภาชนะใส่อาหาร กระเป๋า กระเป๋าจักรยาน แชมพู หวี และอุปกรณ์ทำความสะอาด เป็นต้น
โดยในการขยายตลาดกลุ่มสินค้าดังกล่าวควรคำนึงถึงปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เช่น สุขภาพ อาหารปราศจากธัญพืช ปราศจากน้าตาล ไม่มีส่วนผสมสังเคราะห์ปราศจากกลูเต็น และมีโปรตีนสูง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดหาฉลาก MSC certification จะช่วยสร้างความได้เปรียบ ทางการค้าได้นอกจากนี้ จะต้องปฏิบัติตามกรอบข้อกำหนด และกฎระเบียบของสหภาพยุโรปยังคงเป็นสิ่งสำคัญ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เฟอร์นิเจอร์ส สำหรับสัตว์เลี้ยงได้แก่ กฎระเบียบด้านความปลอดภัยของสินค้า (The General Product Safety Directive) กฎระเบียบด้านขยะบรรจุ ภัณฑ์(Packaging waste) กฎระเบียบด้านสารเคมี REACH (EC 1907/2006) กฎระเบียบท่ีเก่ียวข้องกับสิ่งทอ (Textiles and clothing legislation) และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับไม้ (Timber Regulation) เป็นต้น
โดยทูตพาณิชย์ เดนมาร์ก ให้คำแนะนำกลยุทธ์การเจาะตลาดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่สำหรับผู้ส่งออกไทยเข้าร่วม ว่า ผู้บริโภคกลุ่มประเทศนอร์ดิกส์เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจด้านการรักษา และลดผลกระทบจากสังคม และ สิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากกฎระเบียบข้อบังคับของสหภาพยุโรปแล้ว ผู้ประกอบการสามารถจัดหาใบรับรองอื่นๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และโดดเด่นให้กับสินค้า/บริษัทในการขยายตลาดสู่กลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ได้ ใบรับรองที่สำคัญ และเป็นที่ยอมรับในตลาดนี้ เช่น Nordic Ecolabel, Business Social Compliance Initiative (BSCI), Ethical Trading Initiative (ETI), ISO 14001, SA 8000 และ GOTS (Global Organic Textile Standard) ส่วน ลู่ทางการจำหน่าย สามารถจำหน่ายให้กับกลุ่มบริษัทร้านค้าปลีกซุปเปอร์มาร์ เก็ตรายใหญ่ บริษัทผู้นำเข้า ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยง และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงได้
ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในกลุ่มประเทศ นอร์ดิกส์ เช่น Pet Exhibition Helsinki ณ กรุงเฮลซิงกิ กำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 15 – 16 เมษายน 2566 เวปไซต์ https://lemmikki.messukeskus.com นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถรับจ้างผลิต และจ าหน่าย สินค้าภายใต้ Private label ของผู้นำเข้าและบริษัทค้าปลีกได้อีกด้วย
จากแนวโน้มสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงในตลาดนอร์ดิกส์ น่าจะเป็นโอกาสของผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยอีกตลาดหนึ่ง