'บันเทิงไทย' กับความเป็นไปใน ตปท. ชี้ธุรกิจบันเทิงโลก พุ่ง 2.9 ล้านล้านฯ

'บันเทิงไทย' กับความเป็นไปใน ตปท. ชี้ธุรกิจบันเทิงโลก พุ่ง 2.9 ล้านล้านฯ

งานสัมมนา บันเทิงไทย กับความเป็นไปในต่างประเทศ ชี้ข้อมูล ธุรกิจบันเทิงโลก พุ่ง 2.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2026

สัมมนาวิชาการระดับชาติ “โลกบันเทิงไทยกับความเป็นไปในต่างประเทศ” จัดขึ้นที่ห้องประชุมสัจจา เกตุทัต 1 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม เวลา 13.00-15.00 น. โดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกันจัดงาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิวนารถ หงษ์ประยูร คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นผู้แทนเจ้าภาพกล่าวเปิดงาน

ในการนำเสนอเรื่อง “ตลาดบันเทิงโลกกับแนวทางจัดการด้านความบันเทิงไทย” ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อสรุปว่า ธุรกิจบันเทิงโลกจะขยายตัวจนแตะระดับ 2.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2026 

ทั้งยังได้รับแรงหนุนจากแนวคิดการใช้สื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะเปิดโอกาสให้แต่ละพื้นที่ตอบรับการบริโภคอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ความบันเทิงไทยจึงควรศึกษาความจำเพาะของแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ความสร้างสรรค์ไทยก็ควรได้รับการผลักดันตั้งแต่ระดับประชาสังคม เพื่อกระตุ้นการก่อเกิดของชุมชนคนสร้างสรรค์อันจะเป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่อไป 

การนำเสนอเรื่อง “บทบาทของสตรีมมิ่งต่ออุตสาหกรรมบันเทิงในต่างประเทศ” โดยอาจารย์วรลักษณ์ กล้าสุคนธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยว่า ประเทศที่บริโภคภาพยนตร์ผ่านระบบสตรีมมิ่งมากที่สุดในโลก คือ อินเดีย บราซิล และเกาหลีใต้ และแพลตฟอร์มที่เข้าไปดูมากที่สุดของทั้ง 3 ประเทศคือ Netflix, Prime VDO, Disney+ ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความต้องการแรงงานควบคู่กับการแข่งขันภายใน การเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติทั้ง 3 ก็ขยับตัวไปตามอัตราการผลิตงานเพื่อป้อนแพลตฟอร์มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากงานนั้น ๆ ผ่านการอนุมัติให้ฉายในต่างประเทศ การเผยแพร่วัฒนธรรมละตินอเมริกาในสหรัฐฯ คือตัวอย่างที่ชัดเจนของการสื่อสารวัฒนธรรมผ่านแพลตฟอร์มบันเทิง ไทยอาจใช้โอกาสนี้ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ให้สอดรับกับความเป็นจริง

สถานการณ์ โควิด-19 ส่งผลต่อช่องทางการดูภาพยนตร์

1.จากการชมภาพยนตร์ในโรงหนัง หันมาดูผ่านแพลตฟอร์มการสตรีมมิ่ง ทำให้บริษัทผู้ผลิตหนังยังมีรายได้และรอดจากวิกฤติโควิด 19

2.เปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตคอนเทนท์ ในส่วนของของโปรดิวเซอร์จเป็นต้องดูแลเรื่องช่องทางการจำหน่ายควบคู่กันไปด้วย

3.นักแสดงที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงหรือไม่เคยเล่นหนัง สามารถโด่งดังได้ผ่านช่องทางการสตรีมมิ่ง

4.เปิดโอกาสให้คนอินเดีย ได้เสนองานที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะในอินเดียมีภาษาถิ่นที่หลายหลาย การนำเสนองานก็จะมีความหลากหลาย แต่นำมาแปลเป็นภาษาหลัก ทำให้งานมีการเข้าถึงคนดูเพิ่มมากขึ้น

5.คนอินเดียที่อยู่นอกประเทศก็สามารถชมผ่านสตรีมมิ่งได้ด้วยเช่นกัน และยังส่งผลต่อการแข่งขันในการผลิตหนังเพิ่มมากขึ้น
 

นางสาววรรณสิริ โมรากุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวถึง “ความร่วมมือไทย-นานาชาติในมิติบันเทิง” โดยให้ข้อมูลว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณส่งเสริมสื่อบันเทิง ขั้นตอนที่เหลือคือความเห็นชอบจากรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง กระทรวงวัฒนธรรมยังให้ความสำคัญแก่ความร่วมมือต่างประเทศในการผลิตภาพยนตร์ เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ที่สวยงามและน่าสนใจ ในปี 2022 ธุรกิจกองถ่ายต่างประเทศทำให้เกิดรายได้เข้าไทย ประเทศที่สนใจทำความร่วมมือกับไทยประกอบไปด้วยจีน นิวซีแลนด์ อินเดีย และเกาหลีใต้ รายชื่อประเทศอื่นก็อยู่ในความสนใจของกระทรวงวัฒนธรรมเช่นกัน

การสนับสนุนงบประมาณการผลิตภาพยนตร์ โดยได้จำทำงบประมาณต่อรัฐบาลไปเรียบร้อยแล้ว และได้เสนองบประมาณส่งเสริม soft power ไทย ผ่านสื่อบันเทิงต่อรัฐบาล 1,500 ล้านบาท และรอผลการอนุมัติจากรัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงวัฒนธรรม ให้ความสำคัญในการทำ MOU กับต่างประเทศในการผลิตภาพยนตร์เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากประเทศไทย มีภูมิศาสตร์ที่สวยงามและหน้าสนใจในการเชิญชวนต่างชาติมาใช้ไทยเป็น locations ในการถ่ายทำภาพยนตร์ซึ่งในปี 2022 ทำให้ทีรายได้เข้าประเทศไทย เป็นจำนวนเงิน 6,400 ล้านบาท

ซึ่งประเทศที่สนใจร่วมทำ MOU กับไทย ประกอบไปด้วย จีน นิวซีแลนด์ อินเดีย เกาหลี ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะต้องเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรม ของไทย โดยเฉพาะจีนซึ่งได้มีการตกลงร่วมกันในการส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกันมานาน และมีหนังที่ประสบความสำเร็จในจีน อย่างเช่น สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก และบุพเพสันนิวาส และยังสนใจร่วมงานกับทาง อเมริกา อินเดีย และเกาหลีใต้อีกด้วย

ทั้งนี้ ยังมีความร่วมมืออื่นที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมให้ความสำคัญอย่างมาก คือ พาผู้ประกอบการของไทยไปนำเสนอในการสร้างภาพยนตร์ที่ประเทสเกาหลีและฝรั่งเศษ พร้อมงบประมาณและอยู่เบื้องหลักในการผลักดันให้ด้วย แต่ทั้งนี้ทางกระทรวงวัฒนธรรมมีความสนใจในการนำเสนอทางด้าน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ซึ่งจำเป็นต้องค้นคว้าข้อมูลมาอย่างดีและใช้เวลาในการศึกษามาอย่างละเอียดรอบคอบ

รัฐมีการส่งเสริมการลงทุนโดยการคืนภาษีให้กับบริษัทต่างชาติในการมาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศแต่ต้องมีการจ้างงานคนไทยในตำแหน่ง key personal และสนับสนุนนให้มีการถ่ายทำเมืองรอง และได้ภาษีคืนเพิ่มเติมด้วย

กฎหมายยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมหนังไปฉายที่ต่างประเทศ และควรมีการบรรจุหลักสูตร entertainment Low ในบทเรียนด้วย

นาย Zhang Dong เจ้าหน้าที่บริหาร Artop Media (Thailand) ขึ้นมานำเสนอเรื่อง “การนำเข้าภาพยนตร์ไทยสู่ประเทศจีน” นาย Zhang ได้ให้มุมมองว่า Soft Power ของจีนมีแนวคิดเหมือนกันกับ Soft Power ไทย แต่จีนเปิดโอกาสให้มีการนำเข้าสื่อบันเทิงจากหลากหลายประเทศมากกว่าจะมุ่งแต่ส่งออก การนำเข้าที่ว่าจะช่วยให้เกิดความลื่นไหลในการสื่อสารวัฒนธรรมในประเทศจีน ภาพยนตร์ไทยที่ไปสร้างปรากฏการณ์จนเกิดกระแสนิยมไทย ได้แก่ สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก ฉลาดเกมส์โกง ฯลฯ ณ วันนี้ จีนสามารถแข่งขันกับภาพยนตร์อเมริกันในการฉายในบ้าน จีนจึงมีความยินดีที่จะร่วมงานกับไทยเพื่อสร้างความแกร่งรวมทั้งเอกภาพให้แก่อุตสาหกรรมในระดับเอเชีย 

การนำเข้าภาพยนตร์ไทยไปสู่ประเทศจีน
Soft power ของจีนมีแนวคิดเหมือนกันกับ soft power ไทย ไม่ได้แตกต่างจากกันมาก
ปี 2000 ได้มีการนำภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศไปฉาย โดยนำหนังไทยไปฉายในจีน และนำหนังจีนไปฉายในไทย

ปี 2001 จีนมีช่อง CCTV หนึ่งพันกว่าช่อง และรัฐมีนโยบายให้นำเข้าละครจากต่างประเทศเข้ามาฉายในจีน ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลี จีนแผ่นดินใหญ่ อเมริกา บราซิล ตุรกี เป็นต้น เพื่อให้คนจีนได้เห็นความหลากหลายของต่างชาติ ถือว่าเป็นความโชคดีมากเพราะมันเป็นการเปิดรับให้นำเข้าละคร จากไทยด้วย

และในปีเดียวกัน ได้มีการจัดงาน เซี่ยงไฮ้ international TV ได้มีบริษัทไทยมาร่วมงานด้วย
ปี 2003 มีการนำละครเรื่องสาวใช้หัวใจชิคาโก้ นำแสดงโดยลูกเกดเมทินี ได้รับการตอบรับและกระแสดีมาก จากผู้ชมฝั่งจีน

ทางด้านศูนย์วัฒนธรรมจีนแห่งประเทศไทย มีการนำเอาหนังจีนมาทำเป็นเวอร์ชั่นไทย และเอาหนังไทยมาทำเป็นเวอร์ชั่นจีน รวมทั้งการรีเมคหนังของทั้งสองประเทศ ก็มีให้เห็นกันบ่อย ในส่วนของหนังที่โด่งดังและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากย่อมส่งผลต่อศิลปินโด่งดังตามไปด้วย เช่น ฉลาดเกมส์โกง ก็ทำให้ออกแบบ ชุติมณฑน์ ได้เข้าไปเล่นหนังในเมืองจีน

จีนมีระบบการนำหนังเข้าไปฉายสองระบบ คือระบบโควต้า และระบบซื้อขายลิขสิทธิ์ ระบบโควต้ายกตัวอย่าง อเมริกาให้นำเข้าหนัง10เรื่องต่อปีเป็นต้น ส่วนอย่างไทยเป็นระบบซื้อขายลิขสิทธิ์ ต้องประมาณการกำไรขาดทุนเองว่าหนังจะได้รับความนิยมหรือไม่

หนังไทยที่นำมาฉายในจีนส่งผลต่อการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในไทย และผลพวงคือการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่แฝงไปกับหนังได้ด้วย อุตสาหกรรมภาพยนตร์หรือซีรี่ย์ต่อยอดธุรกิจได้มากมาย ทั้งนี้มองว่าไทยยังขาดพื้นฐานอุตสาหกรรมการผลิตหนัง แต่ความโดดเด่นของไทยคือ creative industry มีความแข็งแรงมากยกตัวอย่างจากโฆษณาของไทยหลายตัว

มาเลเซีย รัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุนการทำหนังจากต่างชาติแต่ต้องมั่นใจว่าหนังมีคุณภาพและมีคนดู และทางรัฐบาลก็พร้อมที่จะคืนภาษีให้ 30% หากไทยมองเห็นโอกาสก็ควรเข้าไปร่วมผลิต เป็นการcross culture อย่ายึดติดกับคำว่า made in Thailand มากเกินไป ร่วมทั้งคนอินเดียที่อยู่ในอินโดนีเซียก็มีการนำหนังส่งหนังไปฉายที่อินเดียด้วยเช่นกัน และชักชวนให้ไทยมาร่วมผลิตด้วยเช่นกัน

จีนสามารถแข่งขันกับหนังฝั่งอเมริกาได้แล้วและจีนมีความยินดีมากที่อยากร่วมงานกับไทย และอยากให้หนังไทยไปฮอลลีวูดและสามารถทัดเทียมคุณภาพได้กับอเมริกาเหมือนอย่างที่จีนทำได้ ซึ่งไทยมีความพร้อมในการสร้างหนังมากโดยเฉพาะพื้นที่และภูมิศาสตร์ที่มีความสมบูรณ์ครบเกือบทุกด้าน

ทั้งนี้ จีนยังมีโควต้าเพียงพอในการรับหนังจากไทยขอแค่หนังที่เข้าไปนำเสนอมีคุณภาพมากพอและตีตลาดและตรงใจคนจีนได้ ทั้งนี้แนวคิดจีนไม่เพียงแค่ไทยไปร่วมผลิตหนังด้วยแต่จีนมองในภาพรวมทั้งเอเชียให้มาทำหนังร่วมกัน โดยการเอาstoryที่โดดเด่นของแต่ละประเทศมาร่วมกันนำเสนอ และทั้งนี้ทางวิทยากรมองว่า made in Thailand เป็น concept ที่ล้าหลังไปแล้ว

อนึ่ง “โลกบันเทิงไทยกับความเป็นไปในต่างประเทศ” เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ความรู้ในโครงการวิจัย เรื่อง “แนวทางส่งเสริมภาพยนตร์เพื่อความมั่นคงยุคหลังโควิด-19” ภายใต้การจัดการของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและการบริการวิชาการของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ [email protected]