เศรษฐกิจดิจิทัลมาแรง คนไทยซื้อสินค้า-ทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น
หอการค้าไทยเปิดผลสำรวจเศรษฐกิจดิจัล หลังโควิดขยายตัวสูง13 % มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท คนไทยซื้อสินค้า-ทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น “ธนธวรรธน์” คาด5-10ปี ยังเป็นธุรกิจดาวรุ่ง ขณะที่ม.หอการค้าฯ เปิดหลักสูตร“Digital Marketting”รองรับตลาดดิจิทัล
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความเห็นด้าน“Digital Marketing และ Digital Economy “แรงกระตุ้นเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้ง” ว่า ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ ภาคประชาชนจำนวน 1,227 ตัวอย่างและภาคผู้ประกอบการจำนวน 395 ตัวอย่าง ถึงพฤติกรรม การรับรู้และทัศนคติของประชาชนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ในระหว่างวันที่ 8-18 เม.ย.2566
โดยในกลุ่มประชาชนพบว่า ส่วนใหญ่ 50 % มีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล โดยกลุ่มคนเจน Y และเจน Z เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้เรื่องนี้มากที่สุด และนำความรู้ด้านดิจิทัลมาใช้กับชีวิตประจำวัน เมื่อถามถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน พบว่า อุปกรณ์ที่ใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุดคือ มือถือสมาร์ทโฟน รองลงมา คอมพิวเตอร์พกพา และแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โดยมีชั่วโมงการใช้เน็ตเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 8 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการอินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 523 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ประชาชนมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มถึง 70.3 % ส่วนใหญ่ซื้อขายสินค้าผ่าน อีมาร์เกตเพรส ทั้งช้อปปี้ ลาซาด้า แกร็ป ถึง 88 % ขณะที่ซื้อขายผ่านโซเซียลมีเดีย ทั้งเฟสบุ๊ค ไอที ไลน์ ติ๊กต๊อก 83 % ซึ่งกลุ่มคนเจน YและเจนZ มีการซื้อขายและใช้บริการมากที่สุดและมีวงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 500-2,000 บาท เฉลี่ยต่อครั้งอยู่ที่ 1,485 บาทต่อครั้งต่อเดือน โดยส่วนใหญ่ซื้ออาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้า และเครื่องประดับ
ส่วนการชำระเงินซื้อขายสินค้าและบริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มส่วนใหญ่ 68 % ชำระเงินผ่านแอปพลิชั่นของธนาคาร เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา รองลงมาเป็นการจ่ายเงินสด หรือการเก็บเงินปลายทาง ทั้งนี้เพราะกลัวโดยหลอกลวงจากมิจฉาชีพผ่านคอลเซ็นเตอร์
ขณะที่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินนั้นผลสำรวจพบว่า มีการใช้ 81.7 % โดยใช้ช่องทางผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร โอนผ่านเอทีเอ็ม เงินสด และกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ตามลำดับ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ประชาชนที่ตอบแบบสำรวจให้เหตุผลว่า สะดวก รวดเร็วใช้นงานได้ทุกที่ทุกเวลา
ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจัลเพื่อการสื่อสารผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผลสำรวจพบว่า 92.7 % ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสาร โดย 95 %.ใช้ผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ ตามมาด้วยเฟสบุ๊ค อินตราแกรม ยูทุป ติ๊กต๊อกและทวิตเตอร์ โดยเฉพาะกลุ่มคน YและเจนZ
เมื่อถามถึงทัศนะการใช้ดิจิทัลเพื่อติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง พบว่า ข่าวสารพรรคการเมืองที่ผ่านสื่อออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ 80.2 % ตอบว่า มีผลต่อการตัดสินใจ ขณะที่ 19.8 % ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ส่วนผลการสำรวจจากภาคธุรกิจไทย พบว่า มีการขายสินค้าและบริการทางออนไลน์ 70.2% โดยภาคธุรกิจให้ความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่อการดำเนินธุรกิจมากถึง 68.9 % ซึ่งใช้ในเรื่องของการทำธุรกรรมทางการเงิน รองลงมาคือการติดต่อสื่อสาร ขายสินค้าและบริการ ส่วนเป็นธุรกิจขนาดกลาง ทั้งนี้ภาคธุรกิจต้องการได้รับความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีในเรื่องของการสร้างพื้นฐานความรู้และความเข้าใจของบทบาทไอทีในปัจจุบัน แนะนำการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ
เมื่อถามถึงทัศนะการใช้ดิจิทัลเพื่อติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง พบว่า ข่าวสารพรรคการเมืองที่ผ่านสื่อออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ พบว่า 50 % ติดตาม โดยส่วนใหญ่ติดตามผ่านโซเซียลมีเดีย ถึง 96.20 % รองลงมาคือเว็ปไซต์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และเมื่อถามว่า ข่าวสารพรรคการเมืองจากสื่อออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งหรือไม่ 58.4 % ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ส่วน 41.6 % มีผลต่อการตัดสินใจ
สำหรับทัศนะต่อการรับมือภัยคุกคามจากการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ หรือภัยไซเบอร์ ทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างเห็นตรงกันคือ สร้างความเสียหายทางการเงินให้กับผู้ใช้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการป้องกันและปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยใน Mobile Banking ให้ทันสมัย กำหนดเพดานวงเงินถอน โอน สูงสุดต่อวัน ปิดกั้น SMS พร้อมทั้งบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจังกับผู้กระทำความผิด เป็นต้น
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจดิจิทัลเข้ามาอยู่ในสังคมไทยเกือบทุกภาคส่วนแล้ว และมีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยเมื่อ 10 ปีที่แล้วมีสัดส่วนเพียง 10 % ของจีดีพีไทย และช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดโตเพิ่มเป็น 11 % ปัจจุบันขยายตัวถึง 13 % มีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท
โดยเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มออนไลน์มูลค่าถึง 9 แสนล้านบาท ซึ่งเกินครึ่งของเศรษฐกิจดิจิทัล และคาดว่า 5-10 ปีนี้ ธุรกิจดิจิทัลจะเป็นธุรกิจดาวรุ่ง จะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้นเกิดแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลากหลายและหลังการเลือกตั้งหากรัฐบาลชุดใหม่มีนโยบายด้านนี้ก็จะทำให้ธุรกิจดิจิทัลเติบโตมากขึ้น ซึ่งจากการประเมินมูลค่าการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ในปี 2566 พบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งต่อเดือนอยู่ที่ 1,485 บาท โดยมีจำนวนคนที่ซื้อผ่านออนไลน์ 50.2 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขาย 894,564 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.91 %
ทั้งนี้ ม.หอการค้าไทย ได้มีการเปิดหลักสูตร “Digital Marketting” เพื่อให้นักศึกษา และผู้สนใจเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล เข้ามาเรียนรู้ และเป็นการตอบโจทย์ตลาดแรงงานด้านดิจิทัลในอนาคต ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่มหาลัยหอการค้าไทย