รัฐบาลใหม่ชี้ชะตา ‘ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี’ คงไว้ในรัฐธรรมนูญใหม่ หรือถอนออก

รัฐบาลใหม่ชี้ชะตา ‘ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี’ คงไว้ในรัฐธรรมนูญใหม่ หรือถอนออก

“สภาพัฒน์” ชี้เดินหน้าต่อยุทธศาสตร์ชาติ ตามกลไกรธน. 2560 เตรียมเสนอ 400 โครงการเข้า คกก.ยุทธศาสตร์ชาติหลังมีรัฐบาลใหม่ เพื่อใช้ประกอบการจัดทำงบประมาณ 2567ส่วนการจะปรับเปลี่ยนในอนาคตต้องดูตามข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลักว่าฉบับใหม่จะมีเรื่องยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจัรไทย พ.ศ.2560 โดยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เป็นนโยบายสำคัญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่วางแนวทางไปตั้งแต่ช่วงที่มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหวังให้เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศหลังจากที่รัฐบาล คสช.หมดวาระไปในปี 2562

สำหรับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติมีเป้าหมายการขับเคลื่อนประเทศที่สร้างสมดุล 3 ส่วน ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้มีการกำหนด เป้าหมายทางเศรษฐกิจเมื่อสิ้นสุดแผน ดังนี้

1.การหลุดพ้นจาก Middle Income Trap สู่ประเทศพัฒนาแล้ว 2.การผลักดันให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 13,000 ดอลลาร์/คน 3.เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มั่นคง ยั่งยืน เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม 4.การสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรม 5.การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ 6.การบริการภาครัฐทันสมัย โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม 7.การส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเป็นชาติการค้า (Trading Nation) 8.คนไทยมีศักยภาพ ร่วมมือพัฒนาประเทศ ปรับตัวรับกับบริบทโลกในอนาคต

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงยุทธศาสตร์ชาติไป 1 ครั้ง หลังจากที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่ง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2560 กำหนดให้มีการปรับปรุงได้กรณีมีเหตุจำเป็น

สำหรับกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติจะดำเนินการผ่านคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รวมทั้งมีรองประธาน 3 คน จาก  ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และรองนายกรัฐมนตรี

ส่วนกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการกองทัพบก ผู้บัญชาการกองทัพเรือ ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ประธานกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย รวมทั้งมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 7 คน

นอกจากนี้ ในการดำเนินการจะเน้น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 2.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 3.ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 4.ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม 5.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ได้รายงานความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี 2566 โดยกรอบในการทำงานตามยุทธศาสตร์ชาติในปัจจุบันถือว่าเป็นกรอบการดำเนินการตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่มีการกำหนดให้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นแผนระดับชาติ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการบริหารงานของรัฐบาล 

 

รวมทั้งกำหนดการจัดทำงบประมาณของประเทศ โดยตามกฎหมายมีการกำหนดกลไกในการติดตามการทำงาน โดย สศช.เป็นหน่วยงานหลักและมีหน้าที่รายงานความก้าวหน้าในคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐสภารับทราบเป็นระยะ

ทังนี้ สศช.ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเตรียมจะนำเอานโยบายเร่งด่วนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และสอดคล้องกับการจัดทำงบประมาณปี 2567 ซึ่งมีประมาณ 400 โครงการ ไปรายงานให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติชาติได้รับทราบ เนื่องจากการจัดทำงบประมาณจะต้องมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้วย

สำหรับกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติจะดำเนินการผ่านคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รวมทั้งมีรองประธาน 3 คน จาก  ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และรองนายกรัฐมนตรี

นายอนุชา บูรพชัยศรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรียังมีข้อสั่งการให้มอบหมายทุกหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญติดตามเร่งรัดโครงการที่มีผลการดำเนินการต่ำกว่าเป้าหมาย และให้หาวิธีแก้ไขเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ พร้อมทั้งให้เร่งติดตามการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน และการแก้ปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่องให้เป็นผลงานของรัฐบาลที่ส่งต่อให้กับรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาด้วย

นอกจากนี้ ครม.รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในรายงานความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือน มี.ค.2566 โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงาน ดังนี้

การดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) สำหรับปีงบประมาณ 2566 ได้มีการประกาศกลุ่มเป้าหมาย การดำเนินการตามแนวทางขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวม 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

1.กลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน จำนวน 655,365 คน

2.กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง จำนวน 11,023,225 ครัวเรือน หรือ 33,384,526 คน

3.กลุ่มคนที่ต้องสำรวจเพิ่มเติม จำนวน 13,220,965 คน

4.กลุ่มคนที่ตกหล่นจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ซึ่งต้องสืบค้นต่อไป

สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ในปีงบประมาณ 2566 ดังนี้

1.การเติมเต็มข้อมูล โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เร่งพัฒนาและปรับปรุงข้อมูลประชากร สถิติ สถานการณ์ ที่เชื่อมโยงกับเลขบัตรประชาชน ศจพ.ทุกระดับและทีมปฏิบัติการ เติมเต็มข้อมูลในระบบแฟ้มบ้านพัฒนาคนไทย (Logbook) และระบบจัดเก็บข้อมูลแบบสอบถามเพื่อการพัฒนาคนตามหลัก MPI ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและสมบูรณ์ ฝ่ายเลขานุการฯ ร่วมกันจัดทำคำนิยามการดำเนินการต่าง ๆ ให้มีความเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ

2.การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ศจพ. ทุกระดับและทีมปฏิบัติการ ดำเนินการช่วยเหลือ/พัฒนากลุ่มเป้าหมายร่วมกันโดยบันทึกข้อมูลการดำเนินการบนระบบ TPMAP

3.การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ศจพ. ทุกระดับและภาคีพัฒนาในพื้นที่ ร่วมกำหนดการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยเป็นวาระจังหวัดอย่างจริงจัง โดบ ศจพ. ทุกระดับ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ใช้ข้อมูลจาก TPMAP เพื่อจัดทำโครงการตามแนวทางของมติ ครม. เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2563 และเมื่อวันที่ 18 พ.ค.2564 ให้สอดคล้องกับภูมิสังคมและสภาพปัญหาในพื้นที่ และ ศจพ.ทุกระดับ ทีมปฏิบัติการและภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ข้อมูลจากเมนูแก้จน ประกอบการดำเนินการ รวมทั้ง ศจพ. ทุกระดับร่วมกับภาคีการพัฒนาในพื้นที่ เร่งบูรณาการความร่วมมือในการดำเนินการพัฒนาต้นแบบ ศจพ. นำร่องระดับตำบล โดยใช้ข้อมูล TPMAP

โดยการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล และ ศจพ. ทุกระดับและทีมปฏิบัติการ ติดตามกลุ่มเป้าหมาย พ.ศ.2565 เพื่อให้ได้รับการพัฒนาตามขั้นตอนของการพัฒนา “อยู่รอด-พอเพียง-ยั่งยืน” ขณะที่ ศจพ.ทุกระดับและทีมปฏิบัติการ นำเข้าข้อมูลการดำเนินการ ของการพัฒนาของคนหรือครอบครัว ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในระบบ Logbook

หน่วยงานของรัฐ รายงานความก้าวหน้าของโครงการการดำเนินการในระบบ eMENSCR และ NECTEC เร่งดำเนินการพัฒนาระบบ TPMAP โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI ให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาของแผน

สำหรับความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติที่ สศช.ได้เสนอ ครม.ในครั้งนี้มีสาระสำคัญคือ

ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ.2566 -2570) เป็นทำหน้าที่ร่วมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 2570) เป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานของรัฐที่ต้องร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบ “พุ่งเป้า” เช่น การกำหนดให้ทุกโครงการการดำเนินงานของรัฐต้องส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยของแผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาหน่วยงานอาจยังไม่ได้นำหลักการถ่ายระดับเป้าหมายไปสู่การปฏิบัติไปประกอบการวางแผนและการปฏิบัติของหน่วยงานเท่าที่ควร ดังนั้นหน่วยงานของรัฐต้องนำหลักการบริหารงานคุณภาพ (Plan Do Check Act: PDCA) ไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2

นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายมากกว่าการตอบตัวชี้วัด รวมทั้งนำเข้าข้อมูลแผนระดับที่ 3 และของทุกโครงการ/การดำเนินงาน และรายงานผลความก้าวหน้าโครงการ/การดำเนินงานรายไตรมาสในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (MENSCR ) ให้ครบถ้วนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

โดยการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มีการดำเนินการ สร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่13 และอยู่ระหว่างพัฒนาระบบแสดงผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 ในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลเปิดของภาครัฐ

ส่วนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goal : (SDGs) มีการจัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ... โดย สศช.ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการประเมิน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบการวางแผนและดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินการตามร่างระเบียบดังกล่าวจะลดผลกระทบจากการพัฒนาที่อาจมีต่อคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ เสริมสร้างการยอมรับของทุกภาคส่วน และเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิด การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะส่งผลให้การขับเคลื่อน SDGs