‘กาฬสินธุ์ โมเดล’ ต้นแบบ ‘แก้จนแม่นยำ’ ทางออกปัญหายากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทย

‘กาฬสินธุ์ โมเดล’ ต้นแบบ ‘แก้จนแม่นยำ’ ทางออกปัญหายากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทย

เปิดข้อมูลแก้จนแม่นยำ จ.กาฬสินธุ์ บพท.ผนึกภาคี ชุมชน ส่วนราชการ สถาบันศึกษา สอบทานข้อมูลคนจนจาก TPMAP สร้างฐานข้อมูลแก้ปัญหาความยากจนระดับจังหวัด ดันโครงการลงพื้นที่นำร่องอ.นามน หนุนชาวบ้านรวมกลุ่มทำวิสาหกิจผักปลอดภัยสร้างรายได้หลักพันต่อสัปดาห์ เตรียมขยายผล

"การแก้ปัญหาความยากจน" ถือเป็นประเด็นความสำคัญที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13 (256 - 2570) ได้กำหนดเป้าหมายไว้ใน “หมุดหมายที่ 9”ที่มุ่งแก้ไขปัญหา “ความยากจนข้ามรุ่น” ในสังคมไทย เพื่อให้คนไทยมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ และเหมาะสม
ทั้งนี้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า ปี 2565 พบว่า ครัวเรือนที่มีแนวโน้มจะตกอยู่ในความยากจนข้ามรุ่น หรือเรียกโดยย่อว่า ‘ครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น’ มีจำนวนประมาณ 597,248 ครัวเรือน หรือคิดเป็นประมาณ 15% ของครัวเรือนที่มีเด็กและเยาวชนเป็นสมาชิก
  

แม้ว่าการแก้ไขปัญหาความยากจนจะมีกลไกในการทำงานระดับชาติขึ้นมาเป็นหน่วยงานกลางในการแก้ไข  แต่การจะแก้ปัญหาความยากจนให้ได้ผลต้องทำงานบนข้อมูลที่แม่นยำถูกต้อง รวมทั้งต้องใช้ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งสถานศึกษา มหาวิทยาลัยในพื้นที่ หน่วยงานราชการ หน่วยงานในระดับท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้องหลายส่วนเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับครัวเรือนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และสามารถติดตามการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่ได้ 

"จ.กาฬสินธุ์" เป็นจังหวัดหนึ่งที่เป็นตัวอย่างของการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่ โดยที่ผ่านมาการสำรวจข้อมูลความยากจนรายจังหวัดโดยสำรวจรายได้ต่อหัวประชาชนกรในปี 2560 พบว่ากาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนยากจนอันดับ 4 ของประเทศ มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 2,465 บาทต่อคนเดือน ซึ่งต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยความยากจนของไทยที่อยู่ที่  2,762 บาทต่อคน/เดือน 

จังหวัดจึงได้กำหนดเป็นวาระสำคัญของจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเร่งด่วน ประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน กำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาภายใต้โครงการ "Kalasin Happiness Model: คนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" โดยเป็นการทำงานร่วมกันหลายภาคส่วนตั้งแต่องค์กรชุมชน ภาคประชาสังคม  มหาวิทยาลัยในพื้นที่ เข้ามาทำงานบูรณาการร่วมกัน 

‘กาฬสินธุ์ โมเดล’ ต้นแบบ ‘แก้จนแม่นยำ’ ทางออกปัญหายากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทย

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ (บพท.)กล่าวว่าจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดต้นแบบของ บพท.ในแผนงานการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

บพท.ได้ให้ทุนกับสถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาความยากจน โดยพื้นที่ต้นแบบที่เริ่มต้นในปี 2562 ใช้ข้อมูลดัชนีความก้าวหน้าของคนคัดเลือก 10 จังหวัดที่รายได้ครัวเรือนต่ำที่สุดของประเทศ และเพิ่มเป็น 20 จังหวัดในปี 2563 – 2564 ซึ่งสิ่งสำคัญที่ บพท.ให้สถานศึกษาในพื้นที่ดำเนินการคือการสอบทานข้อมูลคนจนจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) เพื่อดูว่าคนจนที่ตกหล่นอยู่ในพื้นที่ไหน โดยทำข้อมูลไปถึงระดับครัวเรือน รวมทั้งมีการสำรวจฐานทุน 5 ด้านเพื่อเป็นข้อมูลว่าจะสามารถให้ความช่วยเหลือ สร้างงาน สร้างอาชีพให้คนจนอย่างไรเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นได้

 บพท.ได้ขับเคลื่อนแพลตฟอร์มขจัดความ ยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด ใน 4 ด้าน ได้แก่

1) การสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนระดับจังหวัด ด้วยข้อมูลจากกระบวนการวิจัย

2) ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนชี้เป้า ระดับพื้นที่ที่ครอบคลุม ปัญหาและฐานทุนรายครัวเรือนแบบเรียลไทม์ เป็นระบบข้อมูลที่ใช้กระบวนทาง สังคมแบบมีส่วนร่วมในการค้นหาและสอบทาน

3) ระบบส่งต่อความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนและติดตามผล สร้างกลกความร่วมมือการส่งต่อความช่วยเหลือ กับองค์กรและหน่วยงานระดับพื้นที่แบบตรงเป้า ซึ่งช่วยลดความซ้ำซ้อนการทำงาน และสามารถยกระดับ คุณภาพชีวิตและฐานะทางสังคมของครัวเรือนยากจนเป้าหมาย

4)สร้างโมเดลแก้จนมิติอาชีพเพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ และสร้างห่วงโซ่คุณค่าจากธุรกิจที่มีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่และศักยภาพครัวเรือนยากจน

‘กาฬสินธุ์ โมเดล’ ต้นแบบ ‘แก้จนแม่นยำ’ ทางออกปัญหายากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทย
ปัจจุบันมี 20 จังหวัดเป้าหมายซึ่งสามารถสอบทาน กำหนดกลุ่มคนจนเป้าหมายที่ถูกต้องและแม่นยำ สามารถส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเยี่ยวยาแก้ไขปัญหา และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำในระดับครัวเรือน


“ที่ผ่านมาปัญหาของการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศไทยที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จเพราะเรายังขาดข้อมูลคนจนในรายพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ บพท.ให้ความสำคัญในการตรวจสอบข้อมูลของ TPMAP โดยทำงานร่วมกับภาคีต่างๆทั้งส่วนราชการ ประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ และนำความรู้จากงานวิจัยไปแก้ไขปัญหาความยากจน โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับคนจนในพื้นที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ซึ่งพื้นที่จ.กาฬสินธุ์ถือว่าเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาความยากจนของคนในพื้นที่โดยนอกจากวัดมิติทางรายได้ยังดูฐานทุนของคนจนในพื้นที่ด้วยว่าจะช่วยยกระดับรายได้ได้อย่างไร”

 

‘กาฬสินธุ์ โมเดล’ ต้นแบบ ‘แก้จนแม่นยำ’ ทางออกปัญหายากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทย

 

รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่าการแก้ปัญหาความยากจนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญที่ภาคส่วนต่างๆทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งโดยมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาความยากจน ลดจำนวนคนจนในพื้นที่ และทำให้คนจนที่หลุดพ้นจากความยากจนไม่กลับไปจนอีก จ.กาฬสินธุ์ ได้มีการทำโครงการ โครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หรือ “Kalasin Happiness Model” ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งเป็นโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนขั้นพื้นฐานของจังหวัด โดยมหาวิทยาลับกาฬสินธุ์มีส่วนในการพัฒนาโครงการดังกล่าว

เมื่อ บพท.เข้ามาให้ทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัย ในโครงการการพัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่แบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะที่ 1-3 ในปี 2563 – 2566 ก็ได้มีทำแผนงานแก้ปัญหาความยากจนในจังหวัดเพิ่มเติม ครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบ TPMAP โดยทำการสอบทานข้อมูลทั้งจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ระบบ “ประชาคุ้ม” คือให้ชาวบ้านแต่ละคุ้ม มาร่วมตรวจสอบยืนยันข้อมูลคนจนว่าถูกต้องหรือไม่ หรือวิเคราะห์ถึงฐานทุน 5 มิติ  


จากนั้นจะมีระบบการบันทึกข้ออมูลลงสู่ระบบที่เป็น Dash Board เพื่อให้ติดตามข้อมูลได้อย่างครอบคลุม รวมทั้งดูความช่วยเหลือที่ครัวเรือนยากจนได้รับการช่วยเหลือแล้วหรือไม่ เพียงพอหรือมีความซ้ำซ้อนหรือไม่ด้วย โดยข้อมูลนี้จะส่งไปให้กับจังหวัดสามารถใช้เป็นข้อมูลในการทำงานแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างแม่นยำ
 

ทั้งนี้ในการทำโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ทีมวิจัยได้เลือกพื้นที่อ.นามน ซึ่งมีครัวเรือนยากจนในพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น ทั้งสิ้น 321 ครัวเรือน ระดับวิกฤตความยากจนส่วนใหญ่ อยู่ในระดับอยู่ยาก ถึงจำนวน 253 ครัวเรือน คิดเป็น  78.82% รองลงมา คือ ระดับอยู่พอได้ จำนวน 68 ครัวเรือน คิดเป็น 21.18% และ ระดับอยู่ดีมีเพียง 1 ครัวเรือน (0.31%) ฃ


โดยกระบวนการทำงานเริ่มที่สอบทานครัวเรือนยากจน ในพื้นที่ โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายท้องถิ่น ท้องที่ และชุมชนเต็มพื้นที่ จากแหล่งข้อมูลTPMAP และฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนจังหวัดกาฬสินธุ์ จากนั้นบันทึกเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบริหารจัดการครัวเรือนยากจน Kalasin Happiness Model  เวอร์ชั่น2 เพื่อวิเคราะห์ทุนยังชีพครัวเรือนยากจน 
นอกจากนั้นยังมีระบบติดตามช่วยเหลือครัวเรือนยากจนที่มีรายชื่อในระบบ ผลจากการค้นหาสอบทานนำมาสู่การวิเคราะห์ คืนข้อมูลแก่ภาคีเครือข่ายในระดับอำเภอในการวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน


ต่อมาในปี 2565 ได้มีการสร้างความร่วมมือกับกลไกเชิงพื้นจนเกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานในอำเภอ และมีการลงนามบันคืกข้อตกลงควาบร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกับหน่วยงานในอำเภอนามน จำนวน 16 หน่วยงาน เกิดกลไกภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับท้องถิ่น และอำเภอ เพื่อพัฒนากลไกการช่วยเหลือส่งต่อครัวเรือนยากจน “Poverty Forum” การจัดระดมความคิดเห็นในระดับชุมชนท้องถิ่นจนถึงระดับอำเภอในการเชื่อมโยงระบบการช่วยเหลือส่งต่อครัวเรือนยากจนให้ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

‘กาฬสินธุ์ โมเดล’ ต้นแบบ ‘แก้จนแม่นยำ’ ทางออกปัญหายากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทย
โดยพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชนกับการแก้ไขปัญหาความยากจนอำเภอนามน เกิดแนวทางการดำเนินงานในการบริหารจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และเชื่อมโยงครัวเรือนยากจนในการพัฒนาอาชีพ มีพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาอาชีพ และติดตาม สนับสนุนครัวเรือนยากจนด้านอาชีพ มีครัวเรือนยากจนพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพ โดยอาชีพที่มีชาวบ้านรวมกลุ่มมาเข้าร่วมคือการปลูกผักปลอดภัยจำหน่ายซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้หลักพันบาทต่อสัปดาห์


ฐิติพร พิกุลหอม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่15 ต.สูงเปรียบ อ.นามน ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตวิสาหกิจชุมชน เล่าว่าต้นปี 2566 ชาวบ้านในพื้นที่ 32 ครัวเรือนที่มีปัญหาความยากจนได้รับการส่งเสริมให้รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อปลูกผักอินทรีย์

โดยใช้พื้นที่สนามฟุตบอลเก่าของโรงเรียนที่ถูกทิ้งร้างมาใช้ประโยชน์ โดยพื้นที่ส่วนกลางประมาณ 4 ไร่สามารถแบ่งได้ 38 แปลง ใช้โมเดลปลูกผักที่มุ่งเน้นการปลูกผักแปลงรวม มีห้างหุ้นส่วนจำกัดผักสดนามน เข้ามาเป็นกลไกเชื่อมโยงกับเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนระดับอำเภอและชุมชนภายใต้แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.กาฬสินธุ์ สนับสนุนการตรวจรับรองมาตรฐาน 

ทำให้การปลูกผักในแปลงจะมีการวางแผนว่าพืชอะไรที่สามารถปลูกตามความต้องการของตลาด สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วในระยะ 1 เดือนเศษ หรือในรอบ 1 – 2 สัปดาห์ ได้แก่ ผักบุ้ง ผักคะน้า ต้นหอม ซึ่งการปลูกผักของชาวบ้านจะไม่ใช้สารเคมีในแปลงแต่จะเน้นการดูแลแปลงผักให้ผักมีคุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาด

‘กาฬสินธุ์ โมเดล’ ต้นแบบ ‘แก้จนแม่นยำ’ ทางออกปัญหายากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทย
สิ่งที่เห็นได้จากการเริ่มปลูกผักส่งตลาดในหลายเดือนที่ผ่านมานอกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นยังเห็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในชุมชน ที่แต่เดิมต้องออกไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ ปัจจุบันเริ่มมีคนที่กลับมาอยู่ในหมู่บ้านชุมชนมากขึ้น เพราะทีมวิจัยเน้นในเรื่องการมีส่วนร่วมของกระบวนการที่ชาวบ้านจะเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆทำให้เกิดการหมุนเวียนของรายได้ 


ในแผนงานระยะต่อไปของกลุ่มจะเพิ่มการปลูกพืชที่มีราคาสูงมากขึ้น เช่น ผักแคว ผักดอก ที่เป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งทำแบรนด์สินค้าให้มีความแข็งแรงขึ้น และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทางออนไลน์ด้วย 

‘กาฬสินธุ์ โมเดล’ ต้นแบบ ‘แก้จนแม่นยำ’ ทางออกปัญหายากจนข้ามรุ่น ในสังคมไทย
นอกจากสามารถสร้างรายได้ให้กับคนชุมชนช่วยแก้ปัญหาความยากจนด้วยการพัฒนาอาชีพ ยังมีการรวมกลุ่มการจัดตั้งธนาคารชุมชน 2 แห่งเพื่อแก้ไขปัญหาด้านแหล่งทุน คือ ธนาคารธรรมเกษตรอินทรีย์ ต.สงเปลือย สมาชิก 72 ราย เงินทุนหมุนเวียน 91,640 บาท และธนาคารเพื่อการออมและการเกษตรบ้านโนนเที่ยง สมาชิก 32 ราย เงินทุนหมุนเวียน 75,584 บาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในชุมชนต่อไป 


ปัจจุบันนอกจากการปลูกผักยังมีการส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพจำนวน 124 ราย และสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพ ได้รับพัฒนาศักยภาพ ด้านอาชีพจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เช่น การปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ การแปรรูป การจำหน่ายผลผลิต และส่งต่ออาชีพเสริมอื่นๆ จนส่งผลให้เกิดการกลุ่มและเครือข่ายใหม่ เช่น กลุ่มอาชีพผู้เลี้ยงไก่พื้นบ้าน กลุ่มอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด กลุ่มเพาะเห็ด 
ถือเป็นโมเดลการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่ที่สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆต่อไป ซึ่งจะเป็นทางออกให้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนข้ามรุ่นในสังคมไทยได้ในที่สุด