กรมวิชาการเกษตร คุมเข้มทุเรียนใต้ ตีตลาดจีนอีกระลอก

กรมวิชาการเกษตร คุมเข้มทุเรียนใต้ ตีตลาดจีนอีกระลอก

กรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่คุมเข้มทุเรียนภาคใต้ส่งจีน ป้องสวมสิทธิ์ทุกรูปแบบยืนคุณภาพเหมือนภาคตะวันออก ขณะราคา เกรดAB อยู่ที่ 120-125 บาทพร้อมเปิดสายด่วน ขึ้นทะเบียนGAP บริการ Clinic เกษตรเคลื่อนที่

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เพื่อให้ทุเรียนภาคใต้มีคุณภาพมาตรฐานเช่นเดียวกับทุเรียนภาคตะวันออก ดังนั้นในวันที่ 27-28 มิ.ย.นี้ จะลงพื้นที่ ตรวจสอบทุเรียนภาคใต้โดยจะยึด“จันทบุรีโมเดล”คุมเข้มทั้งคุณภาพ ปลอดแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงตรวจสอบแหล่งที่มาได้ เกษตรกรเมื่อตัดทุเรียนส่งโรงคัดบรรจุ ต้องแสดงใบ GAP ให้โรงคัดบรรจุ

 ทั้งนี้ทางประเทศจีนได้ขึ้นทะเบียน GAP ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 66 โดยเป็น GAP ทุเรียน จำนวน 74,136 แปลง อยู่ในภาคใต้ 38,181 แปลง และ ล่าสุดวันที่ 15 มิ.ย. 66 ทางกรมวิชาการเกษตรได้ส่งทะเบียน GAP ให้จีนผ่านทูตเกษตรปักกิ่ง เพื่อขี้นทะเบียนในรอบถัดไปแล้ว อยู่ระหว่างรอจีนพิจารณาขึ้นทะเบียน โดยเป็น GAP ทุเรียน จำนวน 72,488 แปลง อยู่ในภาคใต้ 40,107 แปลงจึงมั่นใจว่าจำนวนใบGAP สำหรับการส่งออกมีเพียงพออย่างแน่นอน ดังนั้น เพื่อให้สอดรับมาตรฐานการส่งออกตามพิธีสารไทย-จีน หากใบ GAP ส่งออกไม่ได้ ติดต่อเจ้าหน้าที่สายด่วนกรมวิชาการเกษตร 081-9384408

“กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ที่ทำงานอย่างหนักซึ่งผู้บริโภคชาวจีนรับรู้ รสชาติ คุณภาพ ของทุเรียนไทยที่มีความเป็นอัตลักษณ์ ไม่เหมือนประเทศอื่น พิสูจน์ได้จาก ในฤดูกาลส่งออกทุเรียนของไทยภาคตะวันออกที่ผ่านมา สามารถส่งออกไปจีนได้ในราคาสูง ขอให้เกษตรกร ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รักษาคุณภาพการผลิต ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อให้ทุเรียนทุกลูกที่ส่งออกไปจีนมีคุณภาพ”

กรมวิชาการเกษตร คุมเข้มทุเรียนใต้ ตีตลาดจีนอีกระลอก กรมวิชาการเกษตร คุมเข้มทุเรียนใต้ ตีตลาดจีนอีกระลอก กรมวิชาการเกษตร คุมเข้มทุเรียนใต้ ตีตลาดจีนอีกระลอก

 

ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตร สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ในวันที่ 27-28 มิ.ย. 66 เพื่ออำนวยความสะดวก ประชุมชี้แจงการทำงานกับหน่วยงาน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง พร้อมเปิดขึ้นทะเบียนGAP บริการอื่นๆ ของกรมวิชาการเกษตรเคลื่อนที่อำนวยความสะดวก ลดภาระในการเดินทางของเกษตรกร

สถานการณ์ทุเรียนใต้ ราคารับซื้อทุเรียนวันที่ 20-24 มิ.ย. 2566 AB อยู่ที่ 120-125 บาท ซึ่งถือว่า ราคาสูงมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ในช่วงนี้ทุเรียนเวียดนาม เริ่มมีการเก็บเกี่ยวผลผลิต บวกกับประเทศไทยมีผลไม้ในฤดูกาลออกหลายชนิด ได้แก่ มังคุด เงาะ ลิ้นจี่ ทำให้ราคาทุเรียนลดลง จากช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยราคาทุเรียนจะดีดตัวสูงขึ้นในช่วงปลาย มิ.ย. จากผลผลิตที่มีไม่มากนัก เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดชุมพร ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 330,000 ตัน เหลือประมาณ 230,000 ตัน

“กรมวิชาการเกษตร ได้จัดชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจในการตรวจคุณภาพทุเรียน จำนวน 104 ชุดผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนปฏิบัติงานเพื่อรองรับการดำเนินการส่งออกทุเรียนตลอดฤดูกาล โดยชุดเฉพาะกิจดังกล่าว ได้ออกตรวจติดตามล้ง ตั้งแต่ก่อนวันประกาศวันเก็บเกี่ยวทุเรียน วันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา ”

 เจ้าหน้าที่เข้าตรวจ ทุกตู้ ทุกล้ง เพื่อทำการตรวจแยกสีล้ง ให้เป็นสีเขียว เหลือง แดง หลังวันที่ 10 มิ.ย. มีการวางแผนการเข้าตรวจตามประเภทล้งที่ได้จัดเกรดไว้ ล้งที่ได้สีเขียว หมายถึง ล้งที่มีการปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนด ส่วนสีเหลืองและแดง คือล้งที่อาจจะมีการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนไปบ้างและจะต้องเพิ่มความถี่ในการเข้าตรวจอย่างต่อเนื่องขอย้ำให้ทุกล้งปฏิบัติตามแนวทางที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นสีเขียว ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะส่งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจฯ เข้าสุ่มตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องจนกว่าหมดฤดูกาล

ทั้งนี้ เข้มทุเรียนใต้ ต้องได้ทั้งคุณภาพเหมือนภาคตะวันออก บูรณาการตรวจเข้มลงพื้นที่ 27-28 มิ.ยนี้เปิดสายด่วน กรมวิชาการเกษตร 081-9384408 พร้อม ขึ้นทะเบียน GAP บริการ Clinic เกษตรเคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ ประชาชน เกษตรกรเน้นย้ำ มาตรการควบคุมคุณภาพและป้องกันสวมสิทธิ์ทุกรูปแบบโดยการบรูณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางDOA Together

นางสาวฉันทนา คงนคร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรมวิชาการเกษตร (ผอ.สวพ.7) กล่าวว่า ได้ร่วมกับศูนย์เครือข่าย ด่านตรวจพืช เกษตรจังหวัด และฝ่ายปกครอง

จังหวัด ตรวจเข้มคุณภาพทุเรียนก่อนส่งออกตั้งแต่แปลงเกษตรกร ผู้ตัด ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศจีน โดยได้นำเอาวิธีการจัดการ “จันทบุรีโมเดล” มาเป็นแบบอย่างสร้างมาตรฐานทุเรียนคุณภาพของภาคใต้ ปัจจุบันพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ (ล้ง) ได้เปิดทำการแล้ว 214 โรงในจังหวัด ชุมพร สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช คาดว่าจะเปิดครบทั้งหมดในปลายเดือน ก.ค. ซึ่งกรมวิชาการเกษตร จะใช้มาตรการตรวจอย่างเข้มข้นในการควบคุมคุณภาพทุเรียนก่อนการส่งออก

สำหรับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อม บูรณาการร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคใต้สร้างความเข้าใจกับเกษตรกร ผู้ประกอบการ ตั้งแต่ก่อนเปิดฤดูกาล โดยหารือร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัด ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในวันที่ 24 พ.ค. จัดประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติการส่งออกทุเรียนคุณภาพให้กับผู้ประกอบการล้งภาคใต้

การดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ เน้นย้ำให้มี การขึ้นทะเบียน นักคัด นักตัดทุเรียน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัด และภาคเอกชนในพื้นที่ จัดอบรมนักคัด นักตัด ทุเรียนมืออาชีพโดยเปิดอบรมฟรี ตั้งแต่เดือน พ.ค. เป็นต้นมา มีการจัดอบรมไปแล้วกว่า 1,000 ราย ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนได้