‘ธุรกิจจีน’ จ่อทิ้งยุโรปหาฐานผลิตใหม่ ‘สรท.’ แนะไทยเร่งทำ ‘FTA’ ดึงการลงทุน

‘ธุรกิจจีน’ จ่อทิ้งยุโรปหาฐานผลิตใหม่ ‘สรท.’ แนะไทยเร่งทำ ‘FTA’ ดึงการลงทุน

ผลสำรวจหอการค้าอียูในจีน เผย นักลงทุนเตรียมถอนลงทุนในจีน ด้านสรท.ชี้เหตุอียูถอนการลงทุน จากปัญหาความขัดแย้งสหรัฐกับจีน ด้านจีนเล็งลงทุนในประเทศแอฟริกามากขึ้นเพื่อซัพพอร์ตวัตถุดิบ ขณะที่ไทยโดนหางเลขส่งอออกสินค้าบางชนิดลดลง แนะเร่งทำเอฟทีเอชิงนักลงทุนมาไทย

หอการค้า อียู ในจีนเผยผลสำรวจสมาชิก 570 ราย 2 ใน 3 เห็นว่าทำธุรกิจในจีนยากขึ้นมากเพราะมีการเมืองมาเกี่ยวข้องมากกว่า 55% เห็นว่าทำธุรกิจในจีนไม่ดึงดูดใจเหมือนก่อน และบรรยากาศจะไม่ดีขึ้นในอีก 5 ปี เพราะจีนมีปัญหาภายในมาก ขณะที่ 10% ทยอยถอนธุรกิจ และอีก 20% เตรียมตัวถ้าออกจากจีน จะไปตั้งสำนักงานประจำเอเซียที่สิงคโปร์  หรือมาเลเซีย

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แสดงความเห็นว่า  IMF ประมาณการณ์การเติบโตเศรษฐกิจจีนในปีนี้ว่าสามารถเติบโตได้ถึง 5.2%  และ 4.5% ในปี 2024 แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจจีนที่คาดว่าจะเร่งตัวกลับมาเติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้ว่าช่วงโควิดที่ผ่านมาจีนจะเริ่มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หวือหวามากเท่าที่นักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ รวมถึงสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดีหลังจากเปิดประเทศ คือในช่วงไตรมาสแรก ปี 2566 เศรษฐกิจจีนขยายตัว4.5% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือน มี.ค.พุ่งขึ้น 10.6 %  สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดที่ 7.4 %  และสูงกว่าในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ที่ขยายตัวเพียง 3.5 % ด้านตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. ของจีนปรับตัวขึ้น3.9%

‘ธุรกิจจีน’ จ่อทิ้งยุโรปหาฐานผลิตใหม่ ‘สรท.’ แนะไทยเร่งทำ ‘FTA’ ดึงการลงทุน

 

จากการเปิดประเทศหลังโควิด ซึ่งจะหนุนให้เศรษฐกิจของประเทศจีน สามารถขยายตัวต่อไปได้ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัวลง ขณะเดียวกับในส่วนของรัฐบาลจีนได้มีการกำหนดนโยบายแผนการพัฒนาประเทศในระยะยาว เพื่อให้ประเทศจีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม และการลดคาร์บอน โดยเมื่อพิจารณาควบคู่กับการบริโภคในประเทศที่กำลังกลับมาเติบโตทำให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศจีนมีโอกาสเติบโตโดดเด่นในระยะยาว 

"สาเหตุสำคัญของการที่ EU ทยอยถอนธุรกิจจากจีน เริ่มจากความขัดแย้งด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน หลังจากสหรัฐฯ ต้องการลดปัญหาขาดดุลการค้ากับจีนลง และได้มีการเริ่มทบทวนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์และบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง แบตเตอรี่ความจุพลังงานสูง รวมถึงแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า แร่สำคัญ ยา และสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม"

ในปี 2562 ทั้งสองประเทศ ได้เริ่มมีนโยบายตอบโต้ทางการค้าที่เข้มข้นขึ้น คือ ในแง่ของมูลค่าสินค้าที่เรียกจัดเก็บ โดยทั้งสองฝ่ายต่างเรียกเก็บภาษีมูลค่าสินค้าที่นำเข้าระหว่างกันครบทั้งหมดแล้วตั้งแต่สิ้นปี 2562 รวมถึงในแง่ของระดับความรุนแรงของอัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บระหว่างกันมีการทยอยปรับขึ้นอย่างไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุด

จากสาเหตุดังกล่าว ส่งผลต่อเนื่องมายังธุรกิจจากสหภาพยุโรปที่มีฐานธุรกิจอยู่ในประเทศจีนและมีการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ทำให้ผู้ส่งออกของ EU มีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการเรียกเก็บภาษีนำเข้า และเป็นปกติของธุรกิจที่จำเป็นจะต้องบริหารจัดการต้นทุนให้ต่ำที่สุด เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ธุรกิจจาก EU จึงแสวงหาฐานที่ตั้งธุรกิจใหม่ ๆ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ทรัพยากร ที่จะทำให้สามารดำเนินธุรกิจและบริหารจัดการให้ต้นทุนอยู่ในระดับต่ำ

‘ธุรกิจจีน’ จ่อทิ้งยุโรปหาฐานผลิตใหม่ ‘สรท.’ แนะไทยเร่งทำ ‘FTA’ ดึงการลงทุน

อีกทั้งยังปราศจากข้อขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งจากอัตราภาษีที่ปรับขึ้นตั้งแต่ปี 2562 เริ่มต้นที่ 5 % ครอบคลุมทุกรายการสินค้าและยังไม่มีท่าทีว่าจะขึ้นไปสูงถึงเท่าใดนั้น เห็นได้ชัดว่า EU ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้ามาที่สุดในปัจจุบัน (จากสถิติในเดือนมีนาคมและเมษายน 2566 สหรัฐนำเข้าจาก EU เป็นมูลค่า 50,816.37 MUSD และ 46,656.85 MUSD ตามลำดับ) จำต้องรีบแสวงหาฐานที่ตั้งธุรกิจใหม่โดยเร็ว และการย้ายฐานที่ตั้งธุรกิจออกจากจีนนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2562 แล้ว แต่ธุรกิจจากประเทศต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ EU ยังคงมีแนวโน้มที่ต้องการจะถอนฐานที่ตั้งธุรกิจออกจากประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง

เมื่อธุรกิจ EU ทยอยถอนธุรกิจออกจากประเทศจีน จากการเมืองเข้ามาที่บทบาทมากขึ้น หากมองในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ก็อาจปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะการเลี่ยงประเด็นการแบ่งขั้วอำนาจทางการเมือง (Decoupling) หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น จีนอาจได้รับกระทบให้เกิดอัตราการว่างงานมากขึ้น เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงมากขึ้นจากภาค Consumption ที่ปรับตัวลดลง ซึ่งการย้ายฐานที่ตั้งธุรกิจออกจากจีน อาจส่งผลให้จีนองค์ประกอบใน GDP ภาคการลงทุนของเอกชนปรับตัวลดลงอย่างมาก ท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลต่อเนื่องไปยัง GDP Growth ของจีนเอง ที่เคยเติบโตได้ ณ ระดับ 5 - 10% และเคยขยายตัวได้สูงสุดเกือบ 20% ในไตรมาสที่ 1/2564 นั้นเกิดการปรับตัวลดลงอย่างกระทันหัน เห็นได้จากที่ปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2565 ที่ GDP Growth ของจีนมีอัตราการเติบโต ณ ระดับ 0 – 5%

นอกจากนี้ภาคการส่งออกที่ถูกกดดันจากอุปสงค์ที่ลดลงทั่วโลก และการลดสัดส่วนการนำเข้าของสหรัฐฯจากปัญหาความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัว ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างลดลงตามไป ซึ่งปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่รัฐบาลจีนเข้มงวดกับบริษัทภาคเอกชนมากขึ้นส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติถอนทุนกลับ ด้วยเหตุนี้ อาจเป็นการซ้ำเติมวิกฤตแรงงานของจีน ที่ปัจจุบัน ประชากรอายุระหว่าง 16-24 ปี ว่างงานในอัตรา 1 ต่อ 5 ซึ่งจะกระทบต่อผลิตภาพและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในระยะยาว ดังนั้นจีนจึงต้องพึ่งพาตลาดส่งออกอื่นๆ เช่น Africa, Latin America และ CIS ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ Belt Road Initiative เพราะมีการจัดทำระบบรางรองรับเรียบร้อย และใน Africa ก็ได้มีการสนับสนุนการสร้างท่าเรือรองรับไว้แล้วจำนวน 16  ท่าเรือ สร้างระบบสาธารณูปโภคใน Africa โดยจีนให้โอกาสนักลงทุนจีน ไปลงทุนใน Africa มากขึ้น ส่งวัตุดิบจาก Africaมาป้อนให้กับโรงงานในจีน แม้แต่ส่งสินค้าจากจีนไป Africa  นอกจากนี้นายสี จิ้น ผิง ประธานาธิบดีของจีนก็เริ่มไปพบปะกับผู้นำประเทศกลุ่ม Africa มากขึ้นและต่อเนื่อง

รวมทั้งจีนปรับตัวโดยการลดพึ่งพาการส่งออกแต่หันมาเน้นการบริโภคในประเทศควบคู่กันไปตามนโยบาย Dual Circulation Policy ที่จะสร้าง supply chain ของอุตสาหกรรมหลายๆอุตสาหกรรมให้ครบถ้วนตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เช่น Automotive, Textile, Electronic, Petrochemical & Plastic

นายชัยชาญ กล่าวว่า  สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 ของไทยที่มีการสัดส่วนการส่งออก 11-12% เมื่อเศรษฐกิจจีนปรับชะลอตัวลง จะส่งผลต่อหากธุรกิจที่ถอนตัวออกจากประเทศจีนเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมที่ไทยเป็นคู่ค้าอยู่ด้วย จะทำให้จำนวนคำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคที่ส่งออกไปจีนเป็นหลัก อาทิ ยางพารา เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ปรับตัวลดลงในช่วงแรก ที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านการย้ายฐานที่ตั้งธุรกิจ แม้จะสูญเสียสัดส่วนในการส่งออกไปยังประเทศจีน แต่ไทยอาจมีโอกาสส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ ที่ EU สนใจย้ายฐานธุรกิจไปมากขึ้น เช่นอินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น ดังนั้นประเทศไทยต้องเร่งทำการเจรจาเขตการค้าเสรี ไทย-EU เพื่อช่วงชิงนักลงทุนที่มีแนวโน้มจะย้ายฐานการลงทุน

สำหรับสินค้าที่จีนพึ่งพาการนำเข้าจากยุโรปหากเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และElectronicประเทศไทยจะมีโอกาสทดแทนได้ดังนั้นจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด