ทุเรียนแสนล้าน ชงกองทุนต้องเกิด คุมคุณภาพทั้งระบบ
กรมวิชาการเกษตร เล็งตั้งกองทุนทุเรียน ดูแลทั้งระบบ หลังแนวโน้มส่งออกพุ่งคาดปีหน้า 1,200 ตู้ต่อวัน แนะคุมคุณภาพ วางแผนน้ำ แรงงาน เพิ่มเจ้าหน้ารับมือตลาดจีน
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยในการ เสวนาเรื่อง "การส่งออกผักผลไม้ไทย "แสนล้าน" สู่ตลาดโลก : เงื่อนไข กฎระเบียบและแนวโน้มการส่งออก" ว่า ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นและยังมีแนวโน้มความต้องการมากขึ้นตลาดจีน โดยการส่งออกของไทยมีมูลค่า มากถึง 2 แสนล้านบาท 2 ปีซ้อน ทำให้จีนปรับเงื่อนไขระเบียบการส่งออกที่เข้มงวดมากขึ้น ในขณะเดียวกันได้เปิดด่านนำเข้าอำนวยความสะดวกให้กับไทยมากขึ้นเช่นกัน
ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรจึงเร่งส่งเสริมรวมทั้งรับรองสวนทุเรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสมหรือจีเอพี ให้มากขึ้น รวมทั้งโรงคัดบรรจุหรือล้ง ในขณะที่ต้องตรวจสอบการลักลอบส่งทุเรียนไม่ได้มาตรฐานเพื่อรักษาตลาดทุเรียนของไทยเอาไว้ ซึ่งปัจจุบันได้รับความร่วมมือกับเกษตรกรและภาคเอกชนมากขึ้น ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี แต่ในระยะยาว การควบคุมทุเรียนทั้งระบบ ควรมีการจัดตั้งกองทุนทุเรียนขึ้นมาดูแล เพื่อการจะให้สะดวกต่อการพัฒนาตั้งแต่การปลูกจนถึงการตลาด
นายสัญชัย ปุรณะชัยคีรี นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย กล่าวว่า การส่งออกทุเรียน แตะหลัก 1 แสนล้านบาทมา 2 ปี ซ้อนแล้ว และแนวโน้มตลาดจะเติบโตมากขึ้นกว่านี้ ทำให้ปัจจุบันไทยมีการขยายสวนทุเรียนกันมากขึ้น โดยเฉพาะฝั่งตะวันออก
แต่ทั้งนี้เมื่อความต้องการมีมากขึ้น กฎระเบียบทางการค้าจะมีมากขึ้นเช่นกัน ที่น่ากังวลคือข้อกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ทำให้ไทยต้องติดตามแล้วปรับตัวให้ทัน ในขณะที่เกษตรกรของไทยต้องควบคุมด้านคุณภาพให้ดี ทุเรียนด้อยคุณภาพต้องไม่มี
"วันนี้เราส่งทุเรียน 1.5 หมื่นตันต่อวันในตลาดจีน เขาก็ไม่ได้นิ่งเฉยได้ ออกกฎระเบียบมาให้ไทยปฏิบัติอยู่ต่อเนื่องซึ่งไทยต้องต้องปรับตัวให้ทันเพื่อรับมือปัญหานี้เพราะ การส่งออกทุเรียนยังมีอนาคตอีกไกล แต่คู่แข่งก็มากขึ้นด้วย การรักษาคุณภาพให้ได้เท่านั้นเราจึงจะอยู่ได้"
นายวุฒิชัย คุณเจตน์ นายกสมาคมทุเรียนไทย กล่าวว่า ตลาดทุเรีนยยังเติบโตได้อีก คนจีน ครึ่งประเทศยังไม่ได้ทานไทย แต่ที่กังวลคือคุณภาพ เพราะคุณภาพคือโอกาสและอนาคต หากสินค้าไม่มีคุณภาพราคาก็หายไป ความสามารถของไทยส่งออกทุเรียนได้ 2 แสนล้านบาทถึง 2 ปีดังนั้นโอกาสจะทำได้มากกว่านี้ยีงมีอีก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับการสนับสนุนที่ดีกว่านี้ จากที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าการส่งออกของไทยเป็นการเติบโตอย่างธรรมชาติ หมายถึงไม่มีระบบเข้ามารองรับ แต่หลังจากนี้การแข่งขันจะมีมากขึ้น จำเป็นต้องมีระบบที่ดีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจึงจะทำให้ทุเรียนไทยสามารถแข่งขันได้อย่างแข็งแกร่ง
ในส่วนของทุเรียนต้องมีคุณภาพ ที่ผ่านมาอาจคำนึงถึงทุเรียนอ่อน แต่ปัจจุบันคุณภาพของทุเรียนเริ่มมีปัญหาจากหนอนเจาะ ระบาดมากขึ้นในภาคใต้และยังไม่มีวิธีแก้ไข ส่วนการส่งออกที่มากถึง 900 ตู่ต่อวัน นั้นคาดว่าปีหน้จะเพิ่มเป็น 1,200 ตู้ต่อวัน กรมวิชาการเกษตรจึงต้องเตรียมพร้อมเจ้าหน้าเพื่ออำนวยความสะดวก บริเวณหน้าด่าน การขนส่ง นอกเหนือจากนี้ภาครัฐต้องวางแผนน้ำให้เพียงพอในช่วงแล้ง และมีมาตรการด้านแรงงานที่การทำสวนทุเรียนต้องการมากขึ้น
นายจรินทร์ บุตรธิเดซ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครพนม กล่าวว่า การขนส่งผ่านแดน ถือเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจไทยมากขึ้น จากเดิมการขนส่งจะนิยมทางเรือเป็นหลัก จากแหลมฉบังไปจีนตอนใต้ ซึ่งมีปัญหาตู้ไม่พอในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก กรมวิชาการเกษตรจึงผลักดันขนส่งทางบก ด่านมุกดาหาน ไปสปป.ลาว เวียดนามและจีน
ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ขยายส่งออกผ่านด่านเชียงแสน นครพนม หนองคาย และขนส่งผ่านรถไฟจีน-ลาว รวมกว่า 6 ด่าน ที่ใช้เวลาประมาณ 3-4 วันเท่านั้น ทำให้ทุเรียนมีคุณภาพมากขึ้นเมื่อถึงปลายทาง ซึ่งการเตรียมรับมือกับการส่งออกฝนปีหน้า 1,200 ตู้ต่อวันนั้นคาดว่าจะไม่มีปัญหา
นายชัยศักดิ์ รินเกลื่อน ผู้จำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กล่าวว่าการส่งออกสินค้าเกษตรแต่ละอย่างต้องใช้ระยะเวลา โดยเริ่มจากการเจรจาเปิดตลาดก่อน หลังจากนั้นจึงหารือถึงกฎระเบียบต่างๆปัจจุบันได้มีพิธีสารเกิดขึ้น ซึงทุกอย่างเป็นการสนับสนุนให้ส่งออกสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ การส่งออกทุเรียบเป็นต้นแบบของความสำเร็จ
และกรมวิชาการเกษตรจำเป็นต้องเข้มงวดในขั้นตอนการส่งออกทั้งหมด เพื่อรักษาตลาดและขยายตลาดเพิ่มมากขึ้น เพราะพิธีสารที่มีระเบียบมากขึ้น จะทำให้การการเกษตรของไทยเร่งปรับตัวได้เร็วขึ้น และเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
ซึ่งหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร นั้นต้องการเป็นผู้สนับสนุนมากกว่าการไล่จับผิด ดังนั้นทุกขั้นตอนจึงต้องขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากการผลิตทุเรียนที่ได้มาตรฐาน จีเอพี ล้งและโรงคัดบรรจุต้องมีมาตรฐาน HACCP ซึ่งปัจจุบันเป็นมาตรฐานสมัครใจ
นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้จำนวยการสำนักควบคุมพืซและวัสดุการเกษตร กล่าวว่า การบริการการส่งออกจะแยกเป็น 2 ประเด็น คือเรื่องเอกสาร ซึ่งปัจจุบันสามารถขออนุญาตการส่งออกผ่าน ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทั่วประเทศ ไม่ต้องมาทำที่ด่านส่งออก ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
และเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับ แยกเป็นระเบียบสากล และประเทศคู่ค้า ถ้าภาครัฐเอกชนรวมตัวเป็นทีม การค้าขายจะง่ายขึ้น ส่วนเจ้าหน้าที่บริการรับรองปิดตู้สินค้าหน้าด่านที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในปีหน้านั้น ในสิ้นปีนี้ กรมวิชาการเกษตรจะอบรมและอนุญาตให้พนักงานราชการมีอำนาจรับรองปิดตู้สินค้าได้ จึงคาดว่าจะมีจำนวนใหเบริการเพียงพอกับการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1,200 ตู้ต่อวัน