เกษตร ถก ญี่ปุ่นเลิกอบไอน้ำมังคุดส่งออก ใช้" กระบวนการจัดการศัตรูพืช" แทน

เกษตร ถก ญี่ปุ่นเลิกอบไอน้ำมังคุดส่งออก ใช้" กระบวนการจัดการศัตรูพืช" แทน

กรมส่งเสริมการเกษตร ชูกระบวนการจัดการศัตรูพืชกักกันรูปแบบใหม่ ใช้กับมังคุดส่งออกญี่ปุ่น แทนการอบไอน้ำได้ผลดี ลดต้นทุน ยืดอายุผลผลิต

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศญี่ปุ่น มีข้อกำหนด กระบวนการ และขั้นตอนการส่งออกให้มีการควบคุมเรื่องสารเคมีตกค้างและการจัดการกับศัตรูพืชกักกันก่อนการส่งออกอย่างเข้มงวด โดยกำหนดให้มังคุดผลสดจำเป็นต้องผ่านกระบวนการอบไอน้ำ (VHT)เพื่อกำจัดศัตรูพืชกักกันก่อนส่งออกไปยังประเทศปลายทาง ซึ่งวิธีการอบไอน้ำนี้ส่งผลให้ผลผลิตมังคุดเกิดความเสียหายไม่น้อยกว่า 10% นอกเหนือจากผลผลิตที่อาจจะเสียหายในระหว่างการขนส่งจากประเทศไทยไปยังประเทศปลายทาง

 เป็นเหตุให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดเพื่อการส่งออก และผู้ประกอบการขาดแรงจูงใจในการส่งผลผลิตมังคุดเพื่อการส่งออก เห็นได้จากปริมาณและมูลค่าการส่งออกมังคุดไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นอยู่ในลำดับที่ 7 ทั้งที่มีปริมาณความต้องการซื้อจากผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นสูง

เกษตร ถก ญี่ปุ่นเลิกอบไอน้ำมังคุดส่งออก ใช้\" กระบวนการจัดการศัตรูพืช\" แทน เกษตร ถก ญี่ปุ่นเลิกอบไอน้ำมังคุดส่งออก ใช้\" กระบวนการจัดการศัตรูพืช\" แทน เกษตร ถก ญี่ปุ่นเลิกอบไอน้ำมังคุดส่งออก ใช้\" กระบวนการจัดการศัตรูพืช\" แทน

 

กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้ส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพดีที่สูงขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเพิ่มช่องทางและขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศได้

 ปัจจุบันประเทศไทยได้นำ มาตรการConditional non-host statusซึ่งเป็นกระบวนการจัดการศัตรูพืชกักกันรูปแบบใหม่มาใช้สำหรับผลผลิตมังคุดที่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น โดยมีองค์ประกอบ 2 ส่วนหลัก

คือ 1. การจัดการแปลงปลูกมังคุดของเกษตรกรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ และ 2. การจัดการผลผลิตในโรงคัดบรรจุ 

ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ปรับปรุงโรงคัดบรรจุเพื่อดำเนินการตามมาตรการConditional non-host statusผ่านศูนย์พัฒนาการผลิตและควบคุมศัตรูผักและผลไม้เพื่อการส่งออก กรุงเทพมหานคร ที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2532 และมีบทบาทในการควบคุม กำกับ ดูแลในการดำเนินการจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ มาตรการConditional non-host statusได้ถูกหยิบยกในเวทีเมื่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดตลาดมังคุดไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นแบบใหม่โดยไม่ต้องอบไอน้ำ ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยลดต้นทุนการส่งออกของผู้ประกอบการ ยืดอายุshelf lifeของผลมังคุดสด สามารถขนส่งทางเรือได้อีกช่องทางหนึ่ง เอื้อประโยชน์ให้แก่เกษตรกร และผู้ประกอบการให้สามารถส่งออกมังคุดได้มากขึ้น

และจากการดำเนินการร่วมกันระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผลผลิตมังคุดชุดแรกที่ใช้มาตรการConditional non-host statusผ่านการตรวจประเมินโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของญี่ปุ่น ณ ศูนย์พัฒนาการผลิตและควบคุมศัตรูผักและผลไม้เพื่อการส่งออก กรุงเทพมหานคร และได้ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมีแผนจะส่งออกมังคุดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนส.ค. 2566 เป็นต้นไป

 " กรมส่งเสริมการเกษตรพร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงต้องเฝ้าติดตามมังคุดผลสด ณ ประเทศปลายทาง (ประเทศญี่ปุ่น) ถึงสภาพของผลผลิต ขั้นตอน กระบวนการ รวมทั้งปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อนำมาแก้ไข ปรับปรุง และนำไปสู่การขยายผลให้แก่กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการในภาพรวมต่อไป"