คดีฟ้องเรื่องการกำหนดราคาพลังงาน | สกล หาญสุทธิวารินทร์

คดีฟ้องเรื่องการกำหนดราคาพลังงาน | สกล หาญสุทธิวารินทร์

ผู้ฟ้องคดี ประกอบด้วย นายมงคลกิตต์ สุขสินธารานนท์ ที่1 นายอภิเดช เดชวัฒนะสกุล ที่ 2 นายเรืองศักดิ์ เจริญผล ที่ 3 พันโท แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวะพันธ์ศรี ที่ 4

 ผู้ถูกฟ้องคดี

กระทรวงพลังงาน ที่1 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 2  คณะกรรมการนโยบายพลังงานที่ 3 ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงานที่ 4   คณะกรรมการบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)ที่ 5 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานที่ 6  คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ 7 คณะกรรมการกลางว่าด้วยสินค้าและบริการที่  8

              ผู้ฟ้องคดีทั้งทั้งสี่ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดต่อศาลปกครองกลางกล่าวหาว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-7 ร่วมกันกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาก๊าซธรรมชาติ แพงเกินจริง เอื้อประโยชน์ต่อเอกชนและผู้ถูกฟ้องคดีที่ 6 มีมติให้ขึ้นค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 8 ไม่กำหนดเพดานราคาน้ำมันแบะก๊าซที่เป็นธรรม

ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้ว เห็นว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสี่นำคดีมาฟ้องโดยสรุปแยกได้เป็น 6 ข้อหาคือ

           ข้อหาที่หนึ่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่1-7ร่วมกันกำหนดราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แพงเกินจริงและเอื้อประโยชน์ต่อเอกชน
           ข้อหาที่สอง ผู้ถูกฟ้องคดีที่1-7 ร่วมกันกำหนดค่าไฟฟ้าโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ขอให้หยุดขึ้นค่าไฟฟ้า
           ข้อหาที่สาม   ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 8  มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยสินค้าและบริการ แต่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่กำหนดเพดานราคาน้ำมันและก๊าซที่เป็นธรรม
            ข้อหาที่สี่  ในการกำหนดราคาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และค่าไฟฟ้า ข้าราชการที่มีอำนาจหน้าที่เป็นกรรมการในบริษัทเอกชน ทำให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นความผิดต่อกฎหมายความรับผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
         ข้อหาที่ห้า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดปกปิดข้อมูลทีทแท้จริงเกี่ยวกับราคาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติขอให้เปิดเผยข้อมูลตามฟ้อง
           ข้อหาที่หก ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 8 ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ในเรื่องพลังงานที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติของแผ่นดิน

คดีฟ้องเรื่องการกำหนดราคาพลังงาน | สกล หาญสุทธิวารินทร์  

ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2556 ให้รับ เฉพาะข้อหาที่1 ที่2 ที่3 ไว้พิจารณา

              ต่อมาศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่24กันยายน2556 ให้แยกคดีเป็น3คดี และพิจารณาแยกกันไป โดยคู่กรณีของทั้งสามคดียังคงเช่นเดิม   คือคดีหมายเลขดำที่ 1143/2555 เป็นประเด็นเกี่ยวกับการขึ้นราคาค่าก๊าซ LPG และก๊าซ NGV  คดีหมายเลขดำที่ 1872/2555 ประเด็นเกี่ยวกับการขึ้นค่าไฟฟ้า และคดีนี้ประเด็นเกี่ยวกับการขึ้นราคาน้ำมัน

                   ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้ว
                    -  มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าว่ามติคณะรัฐมนตรีเรื่องการยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่     
                      ศาลเห็นว่าการยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมัน จะทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ทำให้การใช้น้ำมันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

                    -  การคำนวณราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมันมาตรฐานยูโร4 ให้ใช้หลักการเสมอภาคกับการนำเข้า  และใช้ตลาดสิงคโปร์เป็นราคาอ้างอิงกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป
                          ศาลเห็นว่าเป็นการเหมาะสมเนื่องจากธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันอยู่ในระบบการแข่งขันที่เสรีจะซื้อจากโรงกลั่นภายในประเทศหรือนำเข้าก็ได้  

การอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดกลางที่ประเทศสิงคโปร์ที่เป็นศูนย์กลางซื้อขายของภูมมิภาคงสะท้อนระดับราคาที่สมดุล จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย

                   กรณีผู้ฟ้องคดีทั้งสี่อ้างว่าราคาหน้าโรงกลั่นแพงกว่าราคาตลาดโลกโดยเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ศาลเห็นว่าน้ำมันดิบยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ต่องผ่านกระบวนการกลั่นก่อน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้

                    - ประเด็นการกำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  
                         ศาลเห็นว่าราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น เป็นราคาที่ส่งจากโรงกลั่นไปยังผู้ค้า บวกด้วยภาษีต่างฯ และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่รัฐใช้เป็นกลไกป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้เป็นกลไกในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ

การจ่ายเงินกองทุนให้ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงมีหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินจากกองทุนที่ชัดเจน ไม่ปรากฎเหตุที่ทำให้การกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

                  -  ประเด็นต่อไป คือการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
                        ศาลเห็นว่า ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ณ สถานีบริการ เป็นราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นบวกด้วยค่าการตลาดและภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าการตลาด  ทั้งนี้ค่าการตลาดหมายถึงค่าใช้จ่ายต่างฯซึ่งรวมถึงผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจซึ่งมีการดูแลค่าการตลาดให้เป็นไปตามกลไกราคาตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง การกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมัน เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

                    -  กรณีกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่5 มีตำแหน่งเป็นกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่2 และที่3 
                        ศาลเห็นว่ากรรมการดังกล่าวมีสิทธิออกเสียงลงมติเพียงหนึ่งเสียงเท่านั้น ไม่อาจกำหนดนโยบายเอื้อให้เอกชนรายใดได้

                     - ประเด็นที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่8 ละเลยต่อหน้าที่หรือไม่นั้น
                    ศาลเห็นว่าเนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐในการยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันจึงเป็นไปตามกลไกตลาดเสรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่8 ไม่มีหน้าที่กำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง

คดีฟ้องเรื่องการกำหนดราคาพลังงาน | สกล หาญสุทธิวารินทร์

                           ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
                      ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่อุทธรณ์   สรุปว่าศาลปกครองชั้นต้นหยิบยกพยานหลักฐานและข้อกฎหมายครบถ้วน และเป็นไปตามจริยธรรมของศาลปกครองหรือไม่ การยกฟ้องเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบและมีเจตนาบริสุทธิ์หรือไม่ ไม่รักษาผลประโยชน์ของประชาชนหรือไม่ โดยยกประเด็นที่ไม่เห็นด้วยกับศาลปกครองชั้นต้นหลายประเด็น

                           ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาที่ คดีหมายเลขดำที่อร.297/2561 คดีหมายเลขแดงที่อร.167/2566 วันที่3 กรกฎาคม 2566 โดยสรุปคือ 

                          -มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่3 กำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  โดยมีประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่อุทธรณ์ว่าประเทศไทยไม่ได้นำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์ จึงไม่มีค่าขนส่งและค่าประกันภัย การกำหนดโครงสร้างราคาหน้าโรงกลั่นบวกค่าขนส่ง ประกันภัยที่ไม่มี อยู่จริง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                        ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่3 กำหนดราคาขายส่งและราคาขายปลีก โดยใช้หลักการเสมอภาคกับการนำเข้าและใช้ราคาตลาดสิงคโปร์อ้างอิง  เป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
                       ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่อุทธรณ์ว่า ศาลปกครองชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการชดเชยกองทุนน้ำมัน มีที่มาอย่างไร นั้นไม่เกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันคดีนี้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
                    การที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน