เปิดค่าใช้จ่ายครัวเรือนไทยเดือนก.ย.66 ใช้เฉลี่ย 1.8 หมื่นบาทต่อเดือน
ครัวเรือนไทยมีค่าใช้จ่ายเดือน ก.ย. 18,163 บาทต่อเดือน ลดลงเล็กน้อย แม้เงินเฟ้อลดลง เผยยังจ่ายหนักไปที่ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อรถ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง มือถือ ขณะที่เฉลี่ย 8 เดือน ค่าใช้จ่ายครัวเรือนสูงขึ้น 1.82 %
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานเงินเฟ้อเดือนก.ย.66 อยู่ที่ 0.30% ชะลอตัวลงจากเดือน ส.ค.2566 ที่เพิ่มขึ้น 0.88% ตามที่คาดไว้ โดยได้รับผลดีจากมาตรการลดราคาดีเซล ค่าไฟฟ้า และสินค้ากลุ่มอาหารปรับลดลง 0.10% เป็นครั้งแรกในรอบ 23 เดือน ส่วนยอดรวม 9 เดือน เพิ่มขึ้น 1.82% เมื่อมาดูค่าใช้จ่ายครัวเรือนในเดือน ก.ย.ก็พบว่า ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเดือนก.ย.ลดตามลงไปด้วยเหลือเพียง 18,163 บาทต่อเดือน จากที่เดือนส.ค.อยู่ที่ 18,229 บาทต่อเดือน
โดยสัดส่วนของการใช้จ่ายยังคงเป็นสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีสัดส่วนที่ 58.58% ขณะที่อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์สัดส่วนอยู่ที่ 41.42% ขณะที่เดือนส.ค.66 ครัวเรือนใช้จ่ายซื้อสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 58.66% และสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 41.34%
แยกตามหมวดสินค้า 14 รายการ พบว่า ลดลงเกือบทุกรายการแต่เป็นการลดลงไม่มากเมื่อเทียบกับเดือนส.ค. โดยค่าใช้จ่ายประกอบไปด้วย ค่าใช้จ่ายค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ 4,285 บาท ซึ่งยังเป็นส่วนที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด ตามด้วยค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน 3,988 บาท, เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ สัตว์น้ำ 1,658 บาท ค่าอาหารบริโภคในบ้าน ดิลิเวอรี่ 1,640 บาท อาหารบริโภคนอกบ้าน ผักและผลไม้ 1,027 บาท ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริการส่วนบุคคล 986 บาท
ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียนและการกุศลต่างๆ 764 บาท ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 698 บาท เครื่องปรุงอาหาร 427 บาท ไข่และผลิตภัณฑ์นม 415 บาท ไข่และผลิตภัณฑ์นาม 415 บาทค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งหุ่มและรองเท้า 376 บาทและ ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 242 บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายครัวเรือนปี 66 ตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ย. โดยเดือนม.ค.มีค่าใช้จ่ายครัวเรือน 18,190 บาท, เดือนก.พ. 18,168 บาท, เดือนมี.ค. 1,120 บาท, เดือนเม.ย. 18,153 บาท, เดือนพ.ค. 18,023 บาท, เดือนมิ.ย. 18,132 บาท, เดือนก.ค. 18,130 บาท, เดือนส.ค. 18,229 บาทและเดือนก.ย. 18,163 บาท
ทั้งนี้การเผยแพร่ค่าจ่ายของครัวเรือนรายเดือนของ สนค. ใช้ค่าใช้จ่ายตั้งต้นจากผลการสำรวจฯ ในปี 2562 และคำนวณด้วยอัตราเงินเฟ้อแต่ละเดือน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายครัวเรือนจะเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเมื่อเทียบเฉลี่ย 8 เดือนนี้กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า สูงขึ้น 1.82 % เมื่อเทียบเฉลี่ย 8 เดือนนี้กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้การสูงขึ้นดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ 430 รายการ รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง
ส่วนค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า เมื่อเทียบเฉลี่ย 8 เดือนนี้กับช่วงนี้กับช่วงที่เดียวกันของปีที่แล้ว ลดลง 2.73 % เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง และภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงาน ซึ่งจากข้อมูลของ สนค. พบว่า ในช่วง 2 ปี หรือตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน แต่ละเดือน ครัวเรือนไทยทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยกว่า 18,000 บาท จากก่อนหน้าที่เฉลี่ยกว่า 17,000 บาท เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และราคาสินค้าที่สูงขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม เดือนต.ค.66 ค่าใช้จ่ายครัวเรือนจะเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย ทั้งความเรื่องของราคาพลังงาน เพราะราคาพลังงานเป็นต้นทุนของการผลิตสินค้าต่างๆรวมถึงต้นทุนการขนส่งด้วย เนอกจากนี้ยังต้องดูมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐที่ออกมาในช่วงนี้ด้วยที่อาจจะส่งผลมายังราคาสินค้าและบริการของไทย ซึ่งอาจทำให้ภาระค่าใช้จ่ายครัวเรือนของไทยลดลงหรือปรับสูงขึ้นได้ตามสถานการณ์