“สปก.”สกัดนายทุนฮุบโฉนดที่ดิน วางกฎเข้มถือครองได้ไม่เกิน50ไร่

“สปก.”สกัดนายทุนฮุบโฉนดที่ดิน  วางกฎเข้มถือครองได้ไม่เกิน50ไร่

สปก. เล็งเสนอ คปก. เคาะกรอบเปลี่ยนส.ป.ก.4-01 เป็นโฉนดวันที่ 12 ต.ค.นี้ “ธรรมนัส” เร่งเป็นของขวัญปีใหม่ ลั่นนายกฯรับทราบในหลักการแล้ว นำร่องในจังหวัดที่ระบบแผนที่พร้อม ภายใต้เงื่อนไข ถือครองไม่เกิน50 ไร่ ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรเท่านั้น

ที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญโดยเฉพาะในภาคการเกษตรที่ต้องใช้พื้นที่จำนวนมากในการผลิตสินค้า แต่ที่ดินก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุนด้านอื่นไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม ภาคบริการอย่างการท่องเที่ยว ทำให้การจัดสรรที่ดินเป็นสิ่งจำเป็น แนวทางหนึ่งคือ“การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” ข้อมูลจากสำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้หมายความไว้ว่า การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 

“สปก.”สกัดนายทุนฮุบโฉนดที่ดิน  วางกฎเข้มถือครองได้ไม่เกิน50ไร่ “สปก.”สกัดนายทุนฮุบโฉนดที่ดิน  วางกฎเข้มถือครองได้ไม่เกิน50ไร่

โดยมีการให้“หนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน” (ส.ป.ก.4-01)เป็นหลักฐานแสดงการได้รับอนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ในที่ดินตามกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน เป้าหมายสําคัญของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากมุ่งหมายให้เกษตรกรมีความเท่าเทียมกันด้านสิทธิและการถือครองที่ดินแล้วยังให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพและรายได้ของเกษตรกรเพื่อให่สามารถดํารงชีพในที่ดินที่ได้รับจากการปฏิรูปที่ดินได้

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การเปลี่ยนเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.4-01 ให้เป็นโฉนด เป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาล ดังนั้นจะต้องเร่งดำเนินการให้เป็นผลทางปฏิบัติก่อนปีใหม่ 2567 เบื้องต้นได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบในหลักการแล้ว โดยจะนำร่องดำเนินการในจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน จากนั้นจะขยายให้ครบในพื้นที่ ส.ป.ก. 4-01ทั้งหมด ซึ่งหมายถึงผู้ที่ถือครองอย่างถูกต้องจะไดรับการเปลี่ยนเป็นโฉนดอย่างแน่นอน โดยปัจจุบันมีประมาณ 36 ล้านไร่ 3 ล้านราย

ภายใต้เงื่อนไข เช่น ถือครองไม่เกิน 50 ล้านไร่ กำหนดระยะเวลาการถือครองเอกสารสิทธิ์ก่อนเปลี่ยนเป็นโฉนด หลังเป็นโฉนดแล้วต้องประกอบอาชีพภาคการเกษตรเท่านั้น เป็นต้น โดยโฉนดที่ได้รับไปจะมีศักดิ์และศรีเท่ากับโฉนดในพื้นที่ของกระทรวงมหาดไทย สามารถจำหน่าย จ่ายโอนได้ จะส่งผลให้เกษตรกรมีเงินลงทุน และมีรายได้มากขึ้นในช่วง 4 ปีหลังจากนี้ 

 

อยู่ระหว่างกำหนดกรอบเปลี่ยนเป็นโฉนด

“สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรรม(ส.ป.ก.) อยู่ระหว่างกำหนดกรอบการเปลี่ยนเป็นโฉนด ซึ่งสามารถทำได้ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ แต่ต้องมีความรอบคอบและมีรายละเอียดที่เอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นหลัก ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากกลุ่มนายทุน ซึ่งผมมั่นใจว่าโครงการนี้จะสร้างมูลค่าให้กับที่ดินในเขต ส.ป.ก. มากขึ้น “

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก. ) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) วันที่ 12 ต.ค.นี้ จะเสนอให้พิจารณาระเบียบการเปลี่ยนเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.4-01 ให้เป็นโฉนด ซึ่งเป็นการยกระดับระเบียบปี2564 ภายใต้กฎหมาย ส.ป.ก. ปี 2518ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอน ตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ... ที่อนุญาตให้เกษตรกรคืนพื้นที่ได้กรณีที่ไม่อยากทำกินในพื้นที่แล้ว หรือสามารถโอนให้ผู้ถือครองรายอื่น เนื่องจากเป็นผู้ชรา พิการ ทุพพลภาพหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบจนไม่สามารถประกอบการเกษตรได้

ถือครองได้ไม่เกิน 50ไร่ป้องนายทุน

ดังนั้นการเปลี่ยนเป็นโฉนดจะสามารถขยายความได้จากระเบียบดังกล่าว ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญคือ แม้จะเป็นฉโนดไปแล้วแต่ที่ดินยังเป็นของส.ป.ก. ผู้ถือครองต้องประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่อไป และถือครองได้ไม่เกิน 50 ไร่ เท่านั้น วิธีการนี้จะแก้ปัญหานายทุนการถือครองที่ดินจำนวนมาก ในขณะที่ส.ป.ก. ยังมีสิทธิที่การเข้าไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆร่วมบูรณการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับผู้ถือครองโฉนดที่ดินของกระทรวงมหาดไทย

“การขยายระเบียบเพื่อให้ครอบคลุมการเปลี่ยนส.ป.ก.4-01 ให้เป็นโฉนดนั้นไม่ได้ยุ่งยาก เพราะมีอนุกรรมการ หากคปก. เห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา โดยส.ป.ก. จะเริ่มดำเนินการในพื้นที่ในจังหวัดที่มีระบบแผนที่ ที่สมบูรณ์ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังกรณีเกิดพื้นที่ทับซ้อน หรือื่นๆ ที่เป็นไปได้ “

เล็งแก้ม.39เปิดช่องให้คืนที่ดิน

สำหรับการคืนพื้นที่ให้กับส.ป.ก. นั้นปัจจุบันยังมีปัญหากรณี มาตร39 ว่าด้วยที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

“สปก.”สกัดนายทุนฮุบโฉนดที่ดิน  วางกฎเข้มถือครองได้ไม่เกิน50ไร่

ทั้งนี้จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงมาตรา ดังกล่าว เพื่อให้ผู้ที่ไม่อยากทำกินแล้วคืนพื้นที่ได้ โดยที่คณะอนุกรรมการประเมินมูลค่าที่ดินและทรัพย์สิน ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมทั้งกรมธนารักษ์ จะประเมินมูลค่าที่ดินที่เกษตรกรพัฒนาไปแล้ว เพื่อที่ส.ป.ก.จะชดเชยได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรที่ซื้อหรือเช่าซื้อที่ดินที่ส.ป.ก.ได้มาจากการซื้อที่ดินของเอกชน ซึ่งที่ดินเหล่านี้เป็นโฉนดอยู่แล้วแต่ยังโอนให้เป็นกรรมสิทธิของเกษตรกรไม่ได้เพราะติดมาตร39 ดังกล่าว