‘Solo Economy’ โอกาสธุรกิจในยุค 'เศรษฐกิจแบบอยู่คนเดียว'

‘Solo Economy’  โอกาสธุรกิจในยุค 'เศรษฐกิจแบบอยู่คนเดียว'

“Solo Economy” เศรษฐกิจของครัวเรือนที่อาศัยอยู่คนเดียว (single person household) เป็นเศรษฐกิจ รูปแบบหนึ่งที่กำลังขยายตัวอย่างมากทั่วโลก จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างครัวเรือนที่มีคนอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางสังคมที่สำคัญ เรื่องSolo Economy : เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ในยุคอยู่คนเดียว ซึ่งกำลังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย 

นางสาววรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการ สศช.เปิดเผยว่าจากรายงานของ “Euromonitor” ระบุว่า ในปี 2564 ทั่วเลือกมีครัวเรือนคนเดียวจำนวนมากถึง 414 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น ถึง 30% ภายในปี 2573 ส่งผลให้ธุรกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่มปรับตัวเพื่อผลิตสินค้าและบริการให้ ตอบสนองต่อคนกลุ่มนี้มากขึ้น

โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายที่คิดเป็นมูลค่าสูงกว่าคนกลุ่มอื่น ในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ครัวเรือนคนเดียวถือเป็นกลุ่มสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จากข้อมูลสถาบันเศรษฐกิจและการค้าของเกาหลี (KIET) คาดว่าครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวจะมีการใช้จ่ายสูงถึง 194 ล้านล้านวอน ในปี 2573 โดยภาคธุรกิจของเกาหลีมีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมของครัวเรือนคนเดียว

 สำหรับประเทศไทย ครัวเรือนคนเดียวมีสัดส่วนมากขึ้นเช่นกัน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2565 มีครัวเรือนที่มีสมาชิกคนเดียวจำนวนกว่า 7 ล้านครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วน26.1% ของครัวเรือนทั้งหมด เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 16.4% ในปี 2555 ซึ่งครัวเรือนคนเดียวส่วนใหญ่เป็นคนโสด 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2563) คาดว่าครัวเรือนคนเดียวจะมีการใช้จ่ายกว่า 1.4 ล้านล้านบาทต่อปี สอดคล้องกับข้อมูลของ Euromonitor ที่ระบุว่าไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีค่าใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนคนเดียวสูงที่สุดในเอเชีย แปซิฟิก

‘Solo Economy’  โอกาสธุรกิจในยุค \'เศรษฐกิจแบบอยู่คนเดียว\'

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการปรับตัวของธุรกิจไทย พบว่า ยังมีไม่มากนัก เช่น การท่องเที่ยว (Solo Traveler) มีเพียงโครงการของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับ แอปพลิเคชัน Tinder และบริษัท ไดรฟ์ดิจิทัล จำกัด จัดทำ โครงการ “เส้นทางคนโสด Single Journey” ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้น ให้ครัวเรือนคนเดียวเดินทางท่องเที่ยวมากกว่า 70 ล้านครั้ง และคาดว่าจะสร้างรายได้หมุนเวียนในประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

ขณะที่ภาคเอกชนมีการปรับตัวที่ชัดเจน ในธุรกิจอาหารที่รองรับลูกค้าที่มาคนเดียว (Solo Diner) และธุรกิจบริการอาหารเดลิเวอรี่ที่ได้รับความนิยมสำหรับ ลูกค้าที่อยู่คนเดียวและไม่ค่อยมีเวลา ซึ่งรูปแบบดังกล่าวอำนวยความสะดวกให้สามารถสั่งสินค้าทีเดียวได้หลายร้าน

ขณะที่เมื่อพิจารณาพฤติกรรมของครัวเรือนคนเดียว จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม ของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระหว่างปี 2561 – 2565 พบว่า ครัวเรือนคนเดียวเป็นโอกาสทางธุรกิจ ได้อีกหลายด้าน ได้แก่

1. ที่อยู่อาศัยแนวดิ่งตอบโจทย์ความต้องการของครัวเรือนคนเดียวมากขึ้น โดยครัวเรือนคนเดียว มีแนวโน้มอยู่ห้องชุด (อะพาร์ตเมนต์ แฟลต หรือคอนโดมิเนียม) มากขึ้น โดยในปี 2565 ครัวเรือนคนเดียวอาศัย อยู่ในห้องชุดฯ คิดเป็นสัดส่วน 24%และมีจำนวนผู้อาศัยในห้องชุดฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 92.9% โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีที่มีสัดส่วนการอาศัยในห้องชุดฯ ที่ 61.8%

‘Solo Economy’  โอกาสธุรกิจในยุค \'เศรษฐกิจแบบอยู่คนเดียว\'

2. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่แก้ปัญหาความเหงา เมื่อต้องอยู่คนเดียวการคลายเหงาจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ใช่อาหารและ เครื่องดื่ม พบว่าครัวเรือนคนเดียวมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการสื่อสารคิดเป็นสัดส่วนมากถึง27.6% ในปี 2565 สูงกว่าค่าใช้จ่ายประเภทอื่น

ธุรกิจสัตว์เลี้ยงมีแนวโน้มเติบโตสูง

นอกจากนี้ครัวเรือนคนเดียวยังมีแนวโน้มเลี้ยงสัตว์และปลูกต้นไม้มากขึ้น โดยมี ครัวเรือนคนเดียวกว่า 2.7 แสนครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 32.9% จากปี 2562 ทั้งนี้ จากรายงาน ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2566 ยังพบอีกว่า คนโสด 80.7% นิยม เลี้ยงสัตว์เปรียบเสมือนลูก โดยในจำนวนนี้ 49% ระบุเหตุผลว่า เลี้ยงเพื่อคลายความเหงา เช่นเดียวกันกับ ครัวเรือนคนเดียวอีกกว่า 2.3 แสนคน ที่นิยมปลูกต้นไม้/ไม้ดอก/ไม้ประดับ ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเกือบ 6 เท่าตัว จากปี 2562

3.ครัวเรือนคนเดียวชอบท่องเที่ยวมากขึ้น โดยครัวเรือนคนเดียวมีแนวโน้มท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นกว่าครัวเรือน ขนาดอื่น โดยในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีครัวเรือน คนเดียวที่เดินทางท่องเที่ยวกว่า 4 แสนครัวเรือน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2561 ถึง 58%

 

 อย่างไรก็ตามจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ในปี 2565 มีครัวเรือนคนเดียวที่ออกเดินทาง ท่องเที่ยวลดลงอยู่ที่ 2.1 แสนคน แต่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก ปี 2564 ถึง 18.4% สอดคล้องกับรายงาน SCB EIC Consumer Survey 2022 ที่พบว่า มากกว่า 20% ของคนโสดจะท่องเที่ยวมากกว่า 5 ครั้ง/ปี

ครัวเรือนคนเดียวชอบกิจกรรมทางศาสนา

ทั้งนี้ นอกจากการท่องเที่ยว ครัวเรือนคนเดียวยังมีแนวโน้มชอบทำกิจกรรมทางด้านศาสนา โดยเกือบ 1 ใน 3 ของครัวเรือนคนเดียว มีการเดินทางไปทำบุญ และอีกกว่าร้อยละ 45.4 มีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น การไหว้เจ้า ถวายของพระ และเช่าพระ เป็นต้น

4. ครัวเรือนคนเดียวส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างหลักประกันในชีวิต ด้วยการทำประกัน มากขึ้น โดยในปี 2565 ครัวเรือนคนเดียวกว่า 4.9 ล้านคน มีการทำประกันชีวิตหรือประกันภัย หรือคิดเป็นสัดส่วน 68.8% ของครัวเรือนคนเดียวทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ปีที่ผ่านมาถึง 15.3% ซึ่งในจำนวนนี้ยังมีครัวเรือน อีกกว่า 3.4% ที่ทำประกันสุขภาพ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ปีที่ผ่านมาถึง 24.8% การทำประกันที่มีสัดส่วนสูง

ชี้ให้เห็นว่า ครัวเรือนคนเดียวเล็งเห็นถึงความจำเป็น ของการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนมีทักษะและความรู้ ด้านการเงินพอสมควร เนื่องจากการทำประกันเป็นอีกหนึ่ง ช่องทางในการช่วยสร้างวินัยทางการออม ขณะเดียวกัน การทำประกัน ยังถือเป็นการลงทุนระยะยาวรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเสี่ยงต่ำอีกด้วย พฤติกรรมข้างต้นถือเป็นตัวอย่างสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า หากภาคธุรกิจมีการปรับตัวเพื่อพัฒนาสินค้า และบริการให้ตอบสนองต่อคนกลุ่มดังกล่าวนี้ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคธุรกิจได้เพิ่มขึ้น

 

ปัญหาของ Solo Economy

อย่างไรก็ตามการมีครัวเรือนคนเดียวเป็นจำนวนมากไม่เพียงส่งผลดีและเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่ยังอาจสร้างปัญหาอื่นให้กับ สังคมได้มากขึ้นเช่นกัน เนื่องจาก 1 ใน 3 ของครัวเรือนคนเดียวเป็นผู้สูงอายุ โดยครัวเรือนคนเดียวที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปมีสัดส่วนมากถึง 28.1% ซึ่งการอยู่คนเดียวของผู้สูงอายุอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

โดยเฉพาะด้านสุขภาพจิตจากการที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว รวมทั้งขาดผู้ดูแล และอาจน าไปสู่ปัญหาโรคซึมเศร้าได้ ขณะเดียวกัน ยังมีครัวเรือนคนเดียวจ านวนมากที่มีรายได้ไม่เพียงพอ โดย ปี 2564 ครัวเรือนคนเดียวที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายคิดเป็น สัดส่วนถึง16.6% เพิ่มขึ้นจาก 15.9% ในปี 2562 โดยเฉพาะครัวเรือนคนเดียวที่เป็นผู้สูงอายุมีสัดส่วนมากถึง 39.8% ซึ่งเกิดจากการขาดหลักประกันด้านรายได้ตั้งแต่ ก่อนวัยสูงอายุ รวมทั้งสภาพแวดล้อมในปัจจุบันยังไม่เอื้อ ต่อการใช้ชีวิตคนเดียวมากนัก เช่น ในด้านการท่องเที่ยว

ซึ่งจากผลสำรวจของ The Swiftest ในปี 2565 พบว่า ไทย ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 12 จากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก ที่ไม่ปลอดภัยที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยว

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครัวเรือนเป็นครัวเรือนคนเดียว และพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือน ดังกล่าวถือเป็นโอกาสของธุรกิจในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อมาตอบสนองต่อความต้องการของคนกลุ่มนี้ได้ แต่หากไทยจะยกระดับ Solo Economy ให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้อง คำนึงถึงปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเป็นครัวเรือนคนเดียวควบคู่ไปด้วย เช่น โรคซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นจาก พฤติกรรมการแยกตัวทางสังคม (Social Isolation) ของครัวเรือนคนเดียว ปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย การขาด หลักประกันทางด้านรายได้ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ 

  1. การเสริมสร้าง ทักษะทางการเงิน (Financial literacy) และการเข้าถึงหลักประกันรายได้หลังเกษียณตั้งแต่ในวัยแรงงาน เพื่อสร้างวินัยทางการเงินที่ถูกต้องให้แก่ ครัวเรือนคนเดียว รวมทั้งความมั่นคงทางเงินในอนาคตของครัวเรือน
  2. การช่วยเหลือกลุ่มครัวเรือนผู้สูงอายุที่อาศัย อยู่เพียงลำพัง โดยภาครัฐอาจร่วมกับวิสาหกิจเพื่อสังคมต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดระบบการดูแล
  3. การยกระดับด้าน ความปลอดภัยทางสังคมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตคนเดียว เช่น มาตรการรองรับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย จะช่วย ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความเชื่อมั่นในการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น
  4. การส่งเสริมให้ภาคเอกชนพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับพฤติกรรมของครัวเรือนคนเดียว ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ยังทำให้ครัวเรือนกลุ่มนี้มีทางเลือกในการใช้ชีวิตมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น