ยางพารา 30 ตันทะลักด่าน สังขละบุรี สั่งอายัดถกจุดเชื่อมโยง ดำเนินคดีทุกมิติ
“กรมวิชาการเกษตร” พบเข้มยางลักลอบยางพารา ด่านสังขละบุรี 30 ตัน สั่งอายัด ดำเนินคดีหาจุดเชื่อมโยงทุกมิติ กวาดล้างขบวนการำเข้าสินค้าเกษตรเถื่อน
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ด่านตรวจพืชสังขละบุรี ได้รายงานว่า ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้ร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานความมั่นคง ชุดปฏิบัติการพิเศษหน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า กองกำลังสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี ที่บริเวณจุดตรวจร่วมน้ำเกริก ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นด่านตรวจสุดท้ายก่อนถึงชายแดนไทย-เมียนมา ช่องทางจุดผ่อนปรนทางการค้าและท่องเที่ยวบ้านพระเจดีย์สามองค์
พบรถยนต์กระบะขนยางต้องสงสัยกระทำผิดกฎหมาย 3 คัน เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบพบว่า มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิด ลักลอบการนำเข้ายางพาราจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงยึดหรืออายัดยางก้อนถ้วยเพื่อตรวจสอบ พร้อมขยายผลเพิ่มเติมโดยได้อายัดรถยนต์กระบะขนยางต้องสงสัยกระทำผิดกฎหมายเพิ่มเติมอีก 3 คัน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 พบเป็นยางก้อนถ้วย เพื่อตรวจสอบ ผลตรวจสอบที่มาของยางก้อนถ้วยทั้งหมด และทำการสืบสวนทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง
“ จากการปฏิบัติการลงพื้นที่ตรวจสอบรถยนต์กระบะขนยางก้อนถ้วยต้องสงสัยกระทำผิดกฎหมายรวมทั้งสิ้น 6 คัน และได้ยึดหรืออายัดยางก้อนถ้วยเพื่อตรวจสอบมีน้ำหนักโดยประมาณคันละ 5,000 กิโลกรัม รวมน้ำหนัก โดยประมาณทั้งสิ้น 30,000 กิโลกรัม (30 ตัน) ซึ่งได้ดำเนินการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น พื้นที่ปลูก และ ปริมาณที่ผลิตในพื้นที่ ตลอดจนข้อมูลในทุกมิติเพื่อหาจุดเชื่อมโยงความผิดตามพระราชบัญญัติ กักพืช พ.ศ.2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542
ในขณะนี้ กรมวิชาการเกษตร ได้เตรียมความพร้อมในการควบคุมการป้องกัน การลักลอบการนำเข้ายางธรรมชาติ อยู่ระหว่างดำเนินการของ สำนักนิติการ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป”
ทั้งนี้การควบคุมการนำเข้า นำผ่านยางนำผ่าน (TRANSIT) กรมวิชาการเกษตรทำหน้าทีกำกับดูแลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมีประกาศประกาศกรมวิชาการเกษตร. เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่าน. ซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกํากัด และสิ่งไม่ต้องห้าม. พ.ศ 2551
ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทย และอุตสหกรรมยางพาราพายในประเทศ หากมีการลักลอบ หรือนำเข้ายางที่มีการปนเปื้อนมีความสกปรก มีความชื้นสูงและไม่มีคุณภาพ และมีความเสี่ยงของโรคแมลงศัตรูพืช มีความเสี่ยงต่อการระบาดในสวนยาง และแปลงเกษตรอื่นๆภายในประเทศไทย
กรมวิชาการเกษตรจำเป็นต้องควบคุมการนำผ่านสินค้ายางโดยจะต้องขออนุญาตให้นำผ่านจากกรมวิชาการเกษตร โดยจะเป็นกลไกในการตรวจสอบสินค้าร่วมกับศุลกากรในการนำผ่านจากด่านต้นทางไปยังด่านปลายทาง โดย ”กวก. จะสร้างความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติกับผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศุลกากร การยางแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการนำผ่าน หน่วยงานความมั่นคง เพื่อร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานป้องกันลักลอบนำเข้ายาง”