‘คนไทย’ เจอปัญหา  ‘ยากจนข้ามรุ่น’ 6 แสนครอบครัว ขาดโอกาสเป็น ‘คนรวย’

‘คนไทย’ เจอปัญหา  ‘ยากจนข้ามรุ่น’  6 แสนครอบครัว ขาดโอกาสเป็น ‘คนรวย’

สศช. - ธนาคารโลก รายงานข้อมูลการแก้ปัญหาความยากจน - เหลื่อมล้ำไทยล่าสุด ชี้การแก้ปัญหายากจนในภาพรวมดีขึ้น แต่ปัญหายากจนข้ามรุ่นยังไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไข พบคนไทยกว่า 6 ล้านครัวเรือน เลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจ สังคมได้ พบปัจจัยการศึกษา - สุขภาพมีส่วนสำคัญ

การแก้ปัญหา “ความยากจน” เป็นนโยบายที่รัฐบาลทุกรัฐบาลให้ความสำคัญ ถึงแม้ว่าโดยภาพรวมปัญหาความยากจนของไทยนั้นดีขึ้น โดยในปี 2565 ประเทศไทยมีจำนวนคนจนทั้งสิ้น 3.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนคนจน 5.43% ลดลงจากปีก่อนที่สัดส่วนคนจน 6.32% ขณะที่เมื่อพิจารณาเป็นระดับครัวเรือน พบว่า มีครัวเรือนยากจนจำนวน 1.12 ล้านครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วน 4.14% ของครัวเรือนทั้งหมด ลดลงจาก 1.24 ล้านครัวเรือนในปี 2564

เป็นผลมาจากความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การดำรงชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่มีแนวโน้มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ การบริโภคภาคครัวเรือนกลับมาขยายตัว การจ้างงานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าส่งค้าปลีก

และภาคโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งมีส่วนช่วยให้รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ความต่อเนื่องของมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งผลให้สถานการณ์ความยากจนของไทยปรับตัวดีขึ้น

อย่างไรก็ตามหากดูในแง่ของการแก้ปัญหา “ความยากจนข้ามรุ่น” ที่เป็นปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในครอบครัวจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่งความยากจนข้ามรุ่น หรือเป็นการถ่ายโอนการขาดดุลทรัพยากรและสินทรัพย์จากรุ่นหนึ่งไปยัง

อีกรุ่นหนึ่งภายในครอบครัว ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่รุนแรง สะท้อนความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ที่มีคนจำนวนหนึ่งติดกับดักความยากจนข้ามรุ่น ไม่สามารถยกระดับรายได้ให้หลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่อยู่ในเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ฉบับที่ 13 ที่ต้องการลดปัญหาความยากจนข้ามรุ่นลดลง  และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมมากขึ้น

ในรายงานเรื่อง “การวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจน และเหลื่อมล้ำในประเทศ” ปี 2565 ที่จำทำโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารโลก (World Bank) ได้รายงานสถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยในหลายมิติ โดยหนึ่งในเรื่องที่มีการรายงานคือ “ปัญหาความยากจนข้ามรุ่นในประเทศไทย และโอกาสในการเปลี่ยนลำดับชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนยากจนข้ามรุ่นในประเทศไทย”

โดยข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) พบว่า จำนวนครัวเรือนไทยที่มีแนวโน้มจะตกอยู่ในความยากจนข้ามรุ่นมีประมาณ 597,428 ครัวเรือน หรือประมาณ 15% ของครัวเรือนที่มีเด็กและเยาวชนเป็นสมาชิก

โดยเมื่อพิจารณาลักษณะของครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น วัดจากครัวเรือนที่มีเด็กและเยาวชนอายุ 0 -18 ปี และมีความขัดสนอย่างน้อยอย่าใดอย่างหนึ่งจาก 4 มิติ ได้แก่

  1. ด้านสุขภาพเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ถึง 2,500 กรัม หรือเด็กอาย 0-12 ปีได้รับวัคซีนไม่ครบ
  2. ด้านสภาพแวดล้อมไม่มีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย หรือขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับบริโภค
  3. ด้านการศึกษา เด็กขาดการเตรียมพร้อมก่อนวัยเรียน ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับ หรือไม่ได้เรียนต่อชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า เด็กอายุ 6-14 ปี ไม่ได้รับการศึกษาภาคบังคับครบ 9 ปี
  4. คนในครัวเรือนที่ไม่มีงานทำ ไม่ได้รับการฝึกอาชีพ หรือขาดทักษะในการอ่าน เขียน และคิดเลขอย่างง่าย
  5. ครัวเรือนที่ขาดความมั่นคงทางการเงิน รายได้ครัวเรือนต่ำกว่า 38,000 บาทต่อคนต่อปี หรือไม่มีเงินออม

ลักษณะของครัวเรือนข้ามรุ่นที่น่าสนใจคือ

  •  70 % ของหัวหน้าครัวเรือนมีการศึกษาสูงสุดเพียงระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
  •  อัตราส่วนการพึ่งพิงของเด็กและผู้สูงอายุต่อวัยแรงงานสูงถึง 90% โดยสัดส่วนของสมาชิกวัยเรียนอายุ 6-14 ปีอยู่ที่ 23.7% หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ( 48.5%) รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป ( 28.8%)

มิติพื้นที่กับความยากจนข้ามรุ่น

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงสุด 30% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
  • ภาคใต้ 25% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
  •  ภาคเหนือ  19% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด

 

ทั้งนี้งานวิจัยยังระบุถึงโอกาสในการเปลี่ยนลำดับชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม สามารถ พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของผู้ปกครองกับบุตร รวมถึงจำนวนปีการศึกษาของบุตรกับผู้ปกครอง ซึ่งความสามารถในการเลื่อนลำดับชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมมีความสำคัญต่อการลดความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำ

อย่างไรก็ตามโอกาสในการเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมมีความแตกต่างกัน ในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น การกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนข้ามรุ่น ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับ บริบทพื้นที่ รวมถึงพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจนข้ามรุ่น ทั้งด้านรายได้ครัวเรือน การศึกษา อาชีพและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เพื่อให้ข้อเสนอเชิงนโยบายมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์เป้าหมายในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ

นโยบายรัฐยังไม่สร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่เท่าที่ควร หรือกล่าวไเ้ว่านโยบายของรัฐยังไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนลำดับชั้นทางเศรษฐกิจของคนจน การสำรวจปัจจัยในการยกระดับสถานะทางเศรษฐกิจ พบว่าฐานะทางเศรษฐกิจของพ่อแม่มีอิทธิพลต่อรายได้ของรุ่นลูก ซึ่งนโยบายการ

นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการเน้นที่การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต เป็นประเด็นที่ช่วยให้สามารถตัดวงจรปัญหาความยากจนและเป็นบันไดสู่การเลื่อนลำดับชั้นในสังคมได้