มติ ครม.ฉบับเต็ม เลิกผูกขาดน้ำใน’EEC’ ‘วงษ์สยาม’ได้สิทธิ์แทน’อีสวอเตอร์’

มติ ครม.ฉบับเต็ม เลิกผูกขาดน้ำใน’EEC’ ‘วงษ์สยาม’ได้สิทธิ์แทน’อีสวอเตอร์’

เปิดสาระสำคัญฉบับเต็ม ครม.แก้ไขถ้อยคำมติ ครม.4 ก.พ.2535 กำหนดให้เลิกการผูกขาดที่ให้ผู้บริหารจัดการน้ำEEC ซื้อน้ำจากกรมชลประทานมาขายในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพียงรายเดียว กรมชลฯเผยหารือธนารักษ์แล้ว ใช้ระเบียบพัสดุฯในการส่งมอบท่อให้กับวงษ์สยามแล้ว

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่าในการประชุม ครม.วันที่ 19 ธ.ค.66 ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลังเป็นปนะธาน เห็นชอบ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้ ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2535 (เรื่อง แนวทางการจัดระบบบริหารการพัฒนาแหล่งน้ำ) โดบให้ยกเลิกในส่วนที่กำหนดว่า

"ระบบท่อส่งน้ำต่าง ๆ ควรจะมีผู้รับผิดชอบรายเดียวในการพัฒนาระบบให้เป็นท่อส่งน้ำสายหลัก (Trunk Tansmission Main) และการดำเนินการบริหารจัดการ (Operate) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ค้าส่ง (Wholeseller)ในการซื้อน้ำจากอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทาน และขายน้ำดิบให้กับระบบจำหน่ายต่าง ๆ“ 

นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯยังได้เสนอ ครม.ด้วยว่าตามมติ ครม.เดิมเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2535 ได้เห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ขายฝั่งทะเลตะวันออก (สพอ.) ในการวางระบบบริหารที่มีความชัดเจนเกี่ยวกับความรับผิดชอบของหน่วยปฏิบัติต่างๆ

เลิกผูกขาดซื้อน้ำกรมชลขายได้แค่รายเดียว

โดยกำหนดความรับผิดชอบในการพัฒนาและดำเนินการดูแลระบบท่อส่งน้ำสายหลักพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก การพัฒนาแหล่งน้ำดิบให้กรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเป็นหลัก และระบบท่อส่งน้ำต่าง ๆ ควรจะมีผู้รับผิดชอบรายเดียวทั้งการพัฒนาระบบให้เป็นท่อส่งน้ำสายหลัก (Trunk Transmission Main) และการดำเนินการบริหาร/จัดการ (Operate) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ค้าส่ง(Wholeseller) ในการซื้อน้ำจากอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานและขายน้ำดิบให้กับระบบจำหน่ายต่าง ๆได้

ต่อมาสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ลงวันที่ 11 เมษายน 2566 นำเรียน เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเส้นห่อส่งน้ำสายหลักในพื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อป้องกันปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำอันเนื่องจากอุปสรรคในการส่งมอบทรัพย์สินโครงการท่อส่งน้ำ ความว่า ในการบูรณาการแผนการบริหารความเสี่ยงในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างบริษัท จัดการน้ำและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ "อีสวอเตอร์" กับเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกจากกรมธนารักษ์เพื่อบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำ สายหลักในภาคตะวันออก เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำผ่านเส้นท่อส่งน้ำไม่เกิดการสะดุด ขาดช่วง จนถึงขั้นไม่สามารถส่งน้ำผ่านเส้นท่อได้

โดยควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน กรมธนารักษ์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตรในการจัดให้มีแผนบริหารความเสี่ยงร่วมกันในลักษณะแผนเชิงป้องกันและแผนสำรองในการจัดสรรน้ำ เพื่อให้การจัดส่งน้ำผ่านเส้นท่อในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านมีความราบรื่นสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นปกติ ไม่เกิดการขาดแคลนน้ำที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน 


ธนารักษ์ใช้ระเบียบราชพัสดุส่งมอบทรัพย์สินท่อน้ำในอีอีซีให้วงษ์สยาม

ต่อมากรมธนารักษ์ ได้มีหนังสือ ที่ กค.310 /8892 ลงวันที่ 27กรกฎาคม 2566 แจ้งว่า ในการบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก กรมธนารักษ์ได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ ซึ่งปัจจุบันกรมธนารักษ์ได้ส่งมอบทรัพย์สินในโครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล - หนองค้อ และโครงการท่อส่งน้ำหนองค้อ - แหลมฉบัง (ระยะที่ 2 ให้กับเอกชนรายใหม่แล้ว ประกอบกับสถานะของ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน ได้แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน) และสัญญาการบริหารและการดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก (โครงการท่อส่งน้ำดอกกราย) จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 จึงเป็นผลให้บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ไม่ได้รับสิทธิในการบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำดังกล่าวอีกต่อไป 

ชี้ไม่ให้รัฐเสียหายในฐานะคู่สัญญา

ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการในฐานะคู่สัญญาฝ่ายรัฐ ตลอดจนเพื่อให้การดำเนินโครงการ ฯ เป็นไปด้วยความถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งสัญญาและข้อกฎหมายโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐและผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำ

ทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ กรมธนารักษ์ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายรัฐ และผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกระทรวงการคลัง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุและมีหน้าที่ในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษาที่ราชพัสดุ อาศัยอำนาจตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ขอความอนุคราะห์กรมชลประทานพิจารณาสนับสนุน

การอนุญาตใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานให้กับบริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ตามที่กรมธนารักษ์ได้มีหนังสือ ที่ กค.310 /13671 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566  แจ้งว่าตามเงื่อนไขสัญญาโครงการบริหาร ๆ ข้อ 9 กำหนดหน้าที่ของคู่สัญญาฝ้ายรัฐว่า "คู่สัญญาฝ่ายรัฐจะสนับสนุนการประสานงานของบริษัท กับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริษัท ได้มาซึ่งความยินยอม ใบอนุญาต แบบแปลน ข้อมูลเอกสาร และใบรับรองการจดทะเบียนต่าง ๆ ที่จำเป็น จากส่วนราชการดังกล่าวข้างต้นตามความจำเป็นรวมทั้ง สนับสนุนในการดำเนินการขออนุญาตจัดสรรน้ำจากกรมชลประทานให้ได้รับหนังสืออนุญาตใช้น้ำจากแหล่งน้ำของกรมชลประทานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้ภายใต้กฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการที่เกี่ยวข้อง"

เพื่อเป็นการสนับสนุนในการดำเนินการขออนุญาตจัดสรรน้ำ และเพื่อให้การบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ประกอบด้วย โครงการท่อส่งน้ำดอกกรายโครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล - หนองค้อ และโครงการท่อส่งน้ำหนองค้อ - แหลมฉบัง (ระยะที่ 2 ที่บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ส่งมอบให้แก่ทางราชการ และทางราชการได้ส่งมอบโครงการท่อส่งน้ำหนองปลาไหล - หนองค้อ และโครงการ

ท่อส่งน้ำหนองค้อ - แหลมฉบัง (ระยะที่ 2 ) ให้บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ผู้บริหารรายใหม่บริหารและดำเนินการโครงการดังกล่าวแล้ว ประกอบกับสัญญาการบริหารและการดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลัก ในภาคตะวันออก (โครงการท่อส่งน้ำดอกกราย) จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 

ชี้อีสวอเตอร์ ไม่ได้สิทธิ์ในท่อส่งน้ำในโครงการอีกต่อไป

จึงเป็นผลให้บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ไม่ได้รับสิทธิ์ในการบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำดังกล่าวอีกต่อไป กรมธนารักษ์ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายรัฐ และผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกระทรวงการคลัง

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ อาศัยอำนาจตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562  และขอความอนุเคราะห์กรมชลประทานพิจารณาสนับสนุนการอนุญาตใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานให้กับบริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ต่อไป