คลังเล็งชงครม.ต่ออายุ“ลดค่าธรรมเนียมโอน-จดจำนอง” จี้ธปท.ผ่อนเกณฑ์ LTV

คลังเล็งชงครม.ต่ออายุ“ลดค่าธรรมเนียมโอน-จดจำนอง” จี้ธปท.ผ่อนเกณฑ์ LTV

คลังเล็งชงครม.อนุมัติมาตรการกระตุ้นอสังหาฯต่ออายุ”ลดค่าธรรมเนียมโอน-จดจำนอง”อีก 1 ปี จี้ธปท.ผ่อนเกณฑ์ LTV ชี้สถานการณ์ไม่ได้อยู่ในภาวะฟองสบู่ ขณะที่ ดอกเบี้ยสูงทรงตัวไม่ก่อให้เกิดการเก็งกำไร ขณะที่ ภาคธุรกิจอสังหาฯมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้จริง

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังระบุ ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีส่วนอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังเล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงมีแนวคิดที่จะใช้ช่องทางดังกล่าวเป็นตัวช่วยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงต้นปีหน้าเป็นต้นไป โดยหนึ่งในแนวทางที่กระทรวงอยู่ระหว่างการพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี คือ การต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสิ้นสุดในปี 2566 นี้ ออกไปอีก 1 ปี

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะเหมือนกับมาตรการในปีที่ผ่านมา โดยลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2567 โดยจะขยายระยะเวลาไปจนถึง 31 ธันวาคม 2567 โดยจะลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01% (เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน) สำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และมีวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา 

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ผ่อนปรนเกณฑ์การดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย LTV โดยอยากให้ประชาชนสามารถกู้ได้ 100% ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังที่เท่าไหร่ หรือราคาเท่าไหร่ หลังจากที่ธปท.ได้เข้มงวดเกณฑ์ดังกล่าว โดยกลับมาใช้เกณฑ์ LTV แบบเดิม คือ การกู้หลังแรกวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท กู้ได้ 100% และตกแต่งเพิ่มได้อีก 10% , บ้านหลังที่ 2 วงเงินไม่เกิน10 ล้านบาท กู้ได้ 70-90% , วงเงิน 10 ล้านบาท ขึ้นไป กู้ได้ 70-90% 

แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อกระทรวงการคลังเตรียมทำนโยบายต่ออายุการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองแล้ว ในส่วนของมาตรการ LTV ก็ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับมาตรการดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า ขณะนี้ สถานการณ์ของอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้อยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง หรือ ไม่เห็นสัญญาณของฟองสบู่ในธุรกิจดังกล่าวแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูงขึ้น จึงไม่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดการเก็งกำไรในธุรกิจดังกล่าว ดังนั้น เราจึงอยากให้ธปท.พิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าว

“วันนี้ เราไม่เห็นสัญญาณว่า จะเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯและไม่เห็นสัญญาณว่า จะมีการเก็งกำไรเกิดขึ้น เพราะทิศทางดอกเบี้ยยังทรงตัวในระดับสูง ถ้าเราทำนโยบายนี้ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้จริง แถมไม่ต้องใช้งบประมาณ ซึ่งที่ผ่านมา เราได้เดินนโยบายการคลังไปมากแล้ว ก็อยากให้ธปท.มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากขึ้น 

222222222222