อุตฯฎสุขภาพ-เทคโนโลยี-ดิจิทัล"IMDเปิดคอร์ปอเรทท็อปขีดแข่งขันเด่นของโลก

อุตฯฎสุขภาพ-เทคโนโลยี-ดิจิทัล"IMDเปิดคอร์ปอเรทท็อปขีดแข่งขันเด่นของโลก

คาดการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีสัดส่วนรายได้จากภาคการส่งออกมากถึง 70% กำลังมีทิศทางที่ไม่สดใสนักจากปัญหารุมเร้าต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ ดอกเบี้ยทรงตัวสูง ท่ามกลางปัจจัยลบต่างๆยังมีโอกาสท่ามกลางวิกฤติอยู่บ้าง

รณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้เข้าพบหารือเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าในปีที่ผ่านมา และแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าอย่างเป็นรูปธรรม ในปี 2567 ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน โดยเฉพาะประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศคู่ค้าจะนำมาใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non - Tariff Barriers หรือ NTBs) ที่จะมีมากขึ้นในอนาคต ปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงปัญหาการปรับตัวทางด้านเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศและ สรท. จะกำหนดแนวทางจัดทำแผนงานร่วมกัน (Roadmap) โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า การฝึกอบรม ตลอดจนการให้ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเตรียมการรับมือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะสร้างโอกาสทางการค้า และรักษาความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงเป็นการยกระดับการค้าสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ซึ่งจะได้มีการหารือในรายละเอียดเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการขับเคลื่อนร่วมกันต่อไป

ข้อมูลจาก สรท. ระบุว่า คาดการณ์ส่งออกปี 2567 รายสินค้าพบว่า  5 รายการสินค้าที่จะเติบโตโดดเด่นในปีนี้ ได้แก่ 1.ยางพารา คาดว่าปี 2566 จะติดลบ 20% ทำให้ปี2567 เติบโตได้ 3%  จากปัจจัยอุปสงค์และอุปทานชะลอลง และประเด็นผลกระทบจากกฎหมาย สินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป(EU Deforestation Regulation : EUDR)     2.มันสำปะหลัง จะเติบโต0-5% จากปัจจัยอุปทานไม่เพียงพอ และต้นทุนสูงขึ้นดันราคาและมูลค่าการค้าให้สูงขึ้น,3.อาหาร ขยายตัว 2-5% ปัจจัยยังมีอุปสงค์ต่อเนื่อง ,4.ยานพาหนุ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 0-2%  ปัจจัยการเติบโตอย่างต่อเนื่องและภาวะเศรษฐกิจฟิ้นตัว,5.เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัว 0-3%  ปัจจัยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากใช้งานร่วมกับ AI 

อุตฯฎสุขภาพ-เทคโนโลยี-ดิจิทัล\"IMDเปิดคอร์ปอเรทท็อปขีดแข่งขันเด่นของโลก

ด้านตลาดส่งออกที่โดดเด่นในปี 2567 พบว่ามี 3 ตลาดที่มีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ได้แก่ ภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่ปี 2566 จีดีพีขยายตัว 2.0% ส่วนปี 2567 ก็ยังสูงต่อเนื่องที่ 3.4%  ภูมิภาคแอฟริกา ปี 2566 ขยายตัว 3.3% ส่วนปี 2567 ขยายตัว 4.0% และ ภูมิภาคอาเซียน ปี 2566 ขยายตัว 4.2% และ ปี 2567 ขยายตัว 4.5%

ส่วนตลาดหลักของการส่งออกไทยปี 2567 ไม่สดใสนักแม้จะมีการขยายตัวแต่ก็ต่ำกว่าปี 2566 โดยสหรัฐ ปีก่อนขยายตัวที่ 2.8% แต่ปีนี้ขยายตัวเพียง 1.9% ตลาดจีน ขยายตัว 5.4% ปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้ ขยายตัวเพียง 3.9% และอินเดียที่แม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะเติบโตร้อนแรงแต่ปี 2567 ก็มีอัตราเติบโตที่ต่ำกว่าที่ก่อน ที่ 6.2% ในปี 2567 จาก 6.4% ในปี 2566

สินค้าและตลาดส่งออกที่โดดเด่นในปี 2567 จะเป็นอีกปัจจัยที่ส่งให้การส่งออกไทยเติบโตได้ตามคาดการณ์ที่ขยายตัว 1-2% มูลค่า 286,500-289,300 ล้านดอลลาร์ (คาดการณ์สรท.)   ซึ่งดีขึ้นกว่าปี 2566 ที่คาดว่าจะติดลบ 1.5-1% มูลค่า 283,100-284,600 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรายได้ส่วนนี้จะส่งต่อไปที่จีดีพีประเทศไทยเติบโตท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่างๆได้

ทั้งนี้ หากพิจารณาสินค้าเติบโตเด่นของไทยเทียบกับข้อมูลจาก สถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development :IMD) เรื่องดัชนีความพร้อมปัจจัยแห่งอนาคตปี 2567   หรือ IMD Future Readiness Indicator 2024  ระบุว่าถึงคอร์ปอเรท3 ในกลุ่มธุรกิจที่มีขีดความสามารถการแข่งขันที่โดดเด่น ได้แก่  ด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรมยา และภาคแฟชั่น 

"การเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจยักษ์อย่าง  Nvidia และ  Microsoft  มีค่าดัชนีด้านการแข่งขันที่สูงและดึงให้กลุ่มเทคโนโลยีและดิจิทัลเป็นธุรกิจที่มีขีดความแข่งขันที่ดี โดยทิศทางการปรับตัวสำคัญของธุรกิจนี้คือการนำ AI มาเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ของธุรกิจ รวมถึงการนำซอฟท์แวร์มาใช้เพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ หรือsoftware solutions" รายงานระบุ  

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยา ผู้นำที่โดดเด่น ได้แก่ Pfizer และ Eli Lilly ที่มุ่งเน้นไปสู่ยุคแห่งการรักษาส่วนบุคคลและการบำบัดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล  หรือ สุขภาพมือถือ( digital therapies) ด้านอุตสาหกรรมแฟชั่นก็มีแบรนด์ยักษ์อย่าง  Nike และHermès ที่พัฒนาธุรกิจล้อไปกับความต้องการตามพฤติกรรมผู้บริโภค

สำหรับแนวทางการจัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันจะประเมินจากฐานะทางการเงิน แผนการลงทุน การให้ความสำคัญความเท่าเทียมทางเพศในโครงสร้างการทำงาน โดยนำข้อมูลซึ่งเป็นที่เปิดเผยและยอมรับมาประเมิน

หากประเมินศักยภาพการส่งออกของไทยจากกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะส่งออกได้โดเด่นในปี2567 จะพบว่ายังเป็นกลุ่มสินค้าพื้นฐานจากภาคการเกษตรเป็นหลัก ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมยังเป็นกลุ่มทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับกลุ่มที่มีขีดความสามารถการแข่งขันโดดเด่นโลกดังนั้นไทยยังต้องพัฒนากันต่อไป